คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เยาวชนเป็นรากฐานสำคัญของประเทศ เป็นกำลังสำคัญที่จะขับเคลื่อนประเทศไปสู่ความเจริญในอนาคต หากเราอยากเห็นประเทศไทยก้าวไปสู่ประเทศที่พัฒนาทัดเทียมประเทศเพื่อนบ้านและอารยประเทศ จำเป็นอย่างยิ่งยวดที่เราต้องให้ความสำคัญต่อเยาวชนและกำหนดทิศทางที่เหมาะสมในการสร้างเยาวชนของประเทศให้สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างเต็มภาคภูมิ
Category: แม่และเด็ก
ลงทุนเวลา…สร้างชีวิตลูก
เมื่อสมัยลูกยังเล็กผมได้ไปร่วมงานโรงเรียนในโอกาสวันพ่อ ผมสังเกตเห็นว่ามีเด็กหลายคนคุณพ่อไม่ได้มาร่วมงานด้วย บางคนก็เป็นคุณแม่ หรือญาติผู้ใหญ่มาทำหน้าที่เป็นคุณพ่อ เป็นไปได้ว่าคุณพ่อของเด็กอาจมีภาระหน้าที่การงานมากจนไม่สามารถปลีกตัวมาร่วมงานได้ หรือคุณพ่อบางคนอาจไม่ได้อยู่ด้วยกับเด็ก แต่จะด้วยสาเหตุใด ๆ ก็ตาม อีกเรื่องหนึ่งที่ผมสังเกตเห็นเด็ก ๆ ที่คุณพ่อไม่ได้มาร่วมงานส่วนใหญ่จะดูเงียบ ๆ ไม่สดใสร่าเริงเหมือนเด็กที่คุณพ่อมาอยู่ในงานด้วย
สอนลูกเรื่องการตัดสินใจเลือกสิ่งต่างๆในชีวิต
การตัดสินใจในเรื่องใด ๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะมาจากผู้อื่น หรือมาจากตนเอง ย่อมส่งผลกระทบต่อชีวิตของเราทั้งในระยะสั้นและระยะยาว บางเรื่องหากตัดสินใจผิดอาจสามารถแก้ไขได้ หรือ ผ่อนหนักเป็นเบาได้ หรืออาจทำให้เกิดความเสียหายในระดับที่ไม่สามารถแก้ไขได้เลยก็เป็นได้ ในทางตรงกันข้าม หากการตัดสินใจนั้นถูกต้องสามารถส่งผลดีอย่างมหาศาลแก่ชีวิตของเราและผู้อื่นด้วยเช่นกัน
ขุดรากถอนโคนนิสัยโกหก เพื่ออนาคตลูก
เด็ก ๆ กับนิสัยช่างโกหก มักเป็นสิ่งที่มาควบคู่กันเสมอ คงเป็นเรื่องแปลกและหายากในการที่จะเสาะหาเด็กสักคนหนึ่งหรือคน ๆ หนึ่งซึ่งไม่เคยพูดโกหกเลยมาตลอดทั้งชีวิต อย่างไรก็ตาม การโกหกของลูกนั้นหาใช่อุปนิสัยที่พ่อแม่ควรเพิกเฉยแต่อย่างใด ตรงกันข้าม ควรหาทางจัดการอย่างเด็ดขาดในทางที่ถูกต้องเหมาะสม
สร้าง “นิสัยเศรษฐี” ให้ลูกรัก
ปรากฏการณ์ “เถ้าแก่น้อยร้อยล้าน” “รวยได้แต่เด็ก” ประสบความสำเร็จ (เป็นเศรษฐี) ตั้งแต่อายุยังน้อย ฯลฯ ที่กำลังเป็นกระแสมาแรงในสังคมไทย ในโลกเสรีทางการค้าและข้อมูลข่าวสารที่เปิดกว้างในปัจจุบันก่อให้เกิดช่องทางในการเป็นเศรษฐีใหม่ หรือ ผู้ที่ประสบความสำเร็จทางธุรกิจ ได้อย่างไม่ยากเย็นนักเมื่อเทียบกับยุคสมัยก่อนหน้า เศรษฐีใหม่วัยหนุ่มสาว ต่างตบเท้าเรียงหน้ากระดานเข้าสู่แวดวงทางธุรกิจ จำนวนมาก มีการเผยแพร่ผลงานความสำเร็จดังกล่าวออกไปอย่างกว้างขวางในทุกทาง ทั้งงานเขียน สื่อทีวี และการกล่าวถึงในสังคมออนไลน์ ก่อเกิดกระแสแรงผลักดันจากต้นแบบหรือไอดอลผู้ประสบความสำเร็จนั้นส่งต่อไปสู่ หนุ่มสาววัยเรียน พ่อแม่ผู้ปกครอง ฯลฯ ต่างปรารถนาอยากประสบความสำเร็จเช่นเดียวกันแบบนี้บ้าง
สอนลูกให้มีค่านิยมทำดีที่สุดเสมอ
จากนิทานเรื่องเต่ากับกระต่าย เมื่อเต่ากับกระต่ายต้องมาวิ่งแข่งกัน หากมองด้วยสายตาธรรมชาติแล้ว กระต่ายย่อมชนะอย่างแน่นอน แต่เพราะเต่าทำอย่างเต็มที่หรือทำอย่างดีที่สุด จึงทำให้ในที่สุดเต่าเข้าเส้นชัยได้ก่อน ในเหตุการณ์นี้ ถ้ามีใครไปสัมภาษณ์กระต่ายก่อนการแข่งขัน กระต่ายคงไม่รู้ว่าตัวเองจะแพ้ หรือถ้าได้ถามเต่าก่อนการแข่งขัน เต่าก็คงไม่รู้อีกเช่นกันว่าตัวเองจะชนะ เราคงเคยได้เห็นการแข่งขันฟุตบอลหลายครั้งที่ฝ่ายเสียเปรียบถูกยิงประตูนำไปก่อน และเหลือเวลาอีกไม่กี่นาทีจะหมดเวลาการแข่งขัน แต่เพราะนักกีฬาเล่นอย่างเต็มที่จนนาทีสุดท้าย จึงสามารถพลิกเกมให้กลายมาเป็นฝ่ายชนะได้ นักศึกษาบางคนมีเวลาเหลือน้อยแล้วที่จะอ่านหนังสือให้จบก่อนสอบ แต่หากคิดหาวิธีอ่านหนังสือให้ได้มากที่สุด ก็สามารถเข้าสอบทำคะแนนที่ดีได้เช่นกัน ในทางตรงกันข้าม บางคนเมื่อมีอาการเจ็บป่วยกลับไม่พยายามดูแลตัวเองอย่างดี แต่ปล่อยปละละเลยเพราะคิดว่าการดูแลตัวเอง ณ ขณะนั้นคงไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น แต่ในความเป็นจริง หากเราดูแลพยายามตัวเองอย่างดีตามที่แพทย์สั่งอย่างดีที่สุด ย่อมทำให้อาการเจ็บป่วยบรรเทาเบาบางลงได้อย่างแน่นอน
เสริมมารยาทเพื่อสร้างเสน่ห์ให้ลูก
วันสำคัญวันหนึ่งในเดือนเมษายนของทุกปี คือ วันครอบครัว ซึ่งตรงกับวันที่ 14 เมษายน เป็นวันที่หลายครอบครัวถือโอกาสวันหยุดสงกรานต์กลับไปเยี่ยมคุณพ่อ คุณแม่ บ้างก็พาลูกหลานไปเยี่ยมคุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย เป็นช่วงเวลาของการพักผ่อนและเชื่อมความสัมพันธ์ในวงศ์ญาติไปพร้อมกันในโอกาสเดียว เป็นช่วงเวลาที่สมาชิกครอบครัวญาติพี่น้องพาลูกหลานมาทำความรู้จักกันและกัน ได้รู้ว่าลูกของคนโน้นหลานของคนนี้เป็นอย่างไร หน้าตา นิสัย เป็นอย่างไร ขณะเดียวกันสิ่งที่จะได้ยินตามมามักหนีไม่พ้นคำชมหรือคำตำหนิของผู้ใหญ่ ที่พูดกันในวงญาติทั้งต่อหน้าและหลับหลัง ในทำนองเปรียบเทียบลูกคนนั้นกับลูกคนนี้ หลานคนนั้นกับหลานคนโน้น
พ่อแม่มักจะดีใจหากลูกได้รับคำชมในทางบวก เช่น สวย น่ารัก หล่อ พูดเก่ง เรียนดี ฯลฯ ซึ่งนับเป็นสิ่งดีและพ่อแม่ควรภูมิใจ แต่ขณะเดียวกัน สิ่งที่ควรมองอีกมุมหนึ่งคือ คำชมลักษณะนี้เป็นคำชมบนพื้นฐานของรูปร่างลักษณะภายนอก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่ติดตัวเด็กมา อาจเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ง่ายนัก และอาจทำให้เด็กเข้าใจว่า ผู้ใหญ่มองคุณค่าของเขาเพียงสิ่งภายนอกเท่านั้น
สร้างการปรองดองของพี่กับน้อง
ในอดีตเมื่อสังคมเป็นสังคมเกษตรกรรม เราคงเคยได้ยินว่าหลายครอบครัวนิยมมีลูกหลาย ๆ คนด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ คือเพื่อมาช่วยทำงาน แม้ว่าค่านิยมนี้จะเปลี่ยนแปลงไปในยุคปัจจุบันคือ แต่ละครอบครัวมีลูกจำนวนน้อยลง แต่ก็ยังมีหลายครอบครัวที่มีลูกมากกว่าหนึ่งคน อันทำให้เกิดปัญหาที่มักพบบ่อย ๆ คือ ปัญหาพี่น้องทะเลาะกัน อิจฉากัน แย่งของกัน รู้สึกไม่รักกัน ชิงดีชิงเด่นกัน ซึ่งจะพบมากในเด็กวัย 1-5 ปี และในหลายกรณี ปัญหานี้ไม่ได้หายไปเมื่อเด็กโตขึ้น กลับยังคงเป็นปัญหาในความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องที่ทอดยาวไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งคงเป็นสิ่งที่ไม่มีพ่อแม่คนใดปรารถนาให้เกิดขึ้น พ่อแม่จึงจำเป็นต้องเข้าใจถึงที่มาของปัญหานี้และแก้ไขด้วยวิธีการที่เหมาะสมตั้งแต่วัยเด็ก Read More
สร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกรู้จักเผชิญปัญหา…ฝ่าวิกฤตชีวิต
ผู้เขียนได้เห็นสรุปสถิติการฆ่าตัวตายปี 2557 ผ่านทางรายการข่าวเมื่อช่วงเดือนธ.ค.ปี 2557 ที่ผ่านมา ในข่าวบอกว่ามีสถิติเด็ก อายุ 13 ปี ฆ่าตัวตายด้วยทำให้รู้สึกสะเทือนใจ ว่าทำไมเด็กอายุน้อยขนาดนี้จึงคิดฆ่าตัวตาย หรือเด็กขนาดนี้มีปัญหาชีวิตมากจนไม่สามารถแก้ไขได้ จึงได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องการฆ่าตัวตายและทราบว่า ?เรื่องการฆ่าตัวตาย? กำลังเป็นประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกให้ความสนใจและ *WHO ได้กำหนดให้ทุกวันที่ 10 กันยายนของทุกปีเป็น “วันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก” (World Suicide Prevention Day) โดยประกาศเป็นครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) มี ?ดอกสะมาเรีย? เป็นสัญลักษณ์การป้องกันการฆ่าตัวตายของประเทศไทย ในปีนี้ รณรงค์ภายใต้แนวคิด ?ทั่วโลกประสานใจ ป้องกันการฆ่าตัวตาย? ซึ่งองค์การอนามัยโลกประมาณการว่า ในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายมากกว่า 800,000 ราย หรือ เฉลี่ย 1 คน ในทุกๆ 40 วินาที คาดการณ์ว่า ในปี 2563 จะมีคนเสียชีวิตถึง 1.53 ล้านคน จึงกำหนดให้ประเทศสมาชิกร่วมแก้ไขปัญหาและลดอัตราการฆ่าตัวตายลงให้ได้ถึงร้อยละ 10 โดยประเทศไทยในปี 2556 พบผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายมากกว่า 3,900 รายต่อปี คิดเป็นอัตรา 6.08 คนต่อประชากรแสนคน หรือเฉลี่ยเดือนละ 328 คน หรือวันละ 10-12 คน คิดเป็นทุก 2 ชั่วโมงมีคนไทยฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 คน* Read More
กระเป๋า(นักเรียน)เอย?ทำไมจึงหนัก
จำเป็นต้องหนัก??.เพราะหนังสือมันเยอะ !
น่าเห็นใจจริงๆครับสำหรับเด็กนักเรียนไทยสมัยนี้? ที่ต้องหิ้วกระเป๋าหนังสือหนัก (มาก) ทั้งๆที่ขนาดตัวเด็กบางคนก็เล็กนิดเดียวเมื่อเทียบกับระดับชั้นที่นักเรียนอยู่? จำได้ว่าสมัยก่อนเราก็เคยเห็นภาพเด็กนักเรียนใช้กระเป๋านักเรียนแบบหิ้ว?? และเด็กก็จะหิ้วกระเป๋าเดินตัวเอียงกันเป็นแถว? ส่งผลให้บางคนเดินไหล่เอียงจนโตเป็นผู้ใหญ่ก็มี
จากพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จย่าที่ได้ทรงนำเป้หนังสือจากต่างประเทศมามอบให้กระทรวงศึกษาธิการในสมัยนายชวน หลีกภัยนำมาปรับใช้กับเด็กนักเรียนไทย เราจึงได้เห็นเด็กสมัยนี้ใช้เป้แทนกระเป๋านักเรียนในอดีต แต่ก็ไม่วายยังมีปัญหากระเป๋านักเรียนก็ยังคง?หนักถึงหนักมากอยู่เหมือนเดิม Read More