สาเหตุของการจลาจลในประเทศพัฒนาแล้ว : ความไม่เท่าเทียม หรือ ความไม่เป็นธรรม

ปี 2562 นับเป็นปีที่มีการประท้วงในหลายประเทศทั่วโลก เช่น เลบานอน เอกวาดอร์ สเปน ชิลี ฮ่องกง ฝรั่งเศส โบลิเวีย แอลจีเรีย ซูดาน เฮติ นิคารากัว เป็นต้น เหตุการณ์ประท้วงในหลายประเทศสามารถอธิบายสาเหตุได้ไม่ยากนัก โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา ที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองหมักหมมมาเป็นเวลายาวนาน ไม่ว่าจะเป็นความยากจน ความเหลื่อมล้ำ บริการสาธารณะด้อยคุณภาพ การคอร์รัปชั่น การขาดธรรมาภิบาล Read More

กรอบแนวคิดการพัฒนาเมืองและชนบท: “RUUR Models: Dr. Dan Rural and Urban Development Models”

ความเป็นเมือง (urbanization) เป็นผลจากความเติบโตทางเศรษฐกิจ และความเจริญที่กระจุกตัวที่เขตเมือง ทำให้เกิดการย้ายถิ่นฐานจากชนบทเข้ามาอาศัยอยู่ในเมืองมากขึ้น เพื่อแสวงหาโอกาสที่ดีกว่า และรายได้ที่สูงกว่า ยิ่งเศรษฐกิจเติบโตก็ยิ่งมีการย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในเมืองมากขึ้น ความเป็นเมืองจึงขยายตัวมากขึ้น

อัตราความเป็นเมือง (urbanization rate) ทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจากธนาคารโลก (World bank) ที่ระบุว่า ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกมีแนวโน้มที่อัตราความเป็นเมืองเพิ่มมากขึ้น จากสัดส่วนประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองประมาณร้อยละ 50 ของประชากรโลกในปัจจุบัน เพิ่มเป็นร้อยละ 70 ในอนาคต

ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาเมือง (urban development) จึงกลายเป็นยุทธศาสตร์สำคัญประการหนึ่งของการก้าวสู่ประเทศพัฒนาแล้ว เพราะมีส่วนช่วยขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เพิ่มผลิตภาพและเร่งการสร้างนวัตกรรม ขจัดความยากจน สนับสนุนการบริโภคและการพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมถึงดึงดูดการลงทุน และในอนาคต อัตราความเป็นเมืองจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในทวีปเอเชียที่จะมีประชากรอาศัยอยู่เมืองประมาณครึ่งนึงของประชากรโลกที่อาศัยในเมืองทั้งหมด

อย่างไรก็ดี การพัฒนาเมืองย่อมมีอุปสรรคและข้อจำกัด และนำมาซึ่งผลกระทบเชิงลบอื่น ๆ อาทิ ปัญหาประชากรหนาแน่นมากเกินไป การจราจรติดขัด ปัญหามลภาวะ ปัญหาขยะ การขยายตัวออกของเมืองในแนวราบอย่างไม่เป็นระเบียบ การใช้ที่ดินไม่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อันทำให้เกิดความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจ ภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนตามมา  

ผมมองว่าการพัฒนาประเทศ จำเป็นต้องพัฒนาชนบท (rural development) ควบคู่กันไปด้วย กล่าวคือ ควรกระจายความเจริญไปยังท้องถิ่นในชนบทด้วย และทำให้เกิดการพัฒนาความเป็นเมืองที่มีคุณภาพ ทั้งจากการพัฒนาเมืองเดิมที่ด้อยพัฒนาให้เป็นเมืองที่พัฒนาแล้ว และพัฒนาจากชนบทจนกลายเป็นเมือง รวมทั้งการพัฒนาชนบทที่ด้อยพัฒนาให้เป็นชนบทที่มีระดับการพัฒนาสูงขึ้นด้วย

ผมขอเสนอกรอบแนวคิดการพัฒนาเมืองและชนบท เรียกว่า “RUUR Models: Dr. Dan Rural and Urban Development Modelsที่จำแนกเมืองและชนบทตามระดับการพัฒนา จำนวนประชากรและความหนาแน่นของประชากร ได้เป็น 4 พื้นที่ ได้แก่  

(1) ชนบทที่ด้อยพัฒนา (Underdeveloped rural area) คือ พื้นที่ที่มีจำนวนและความหนาแน่นประชากรต่ำ และยังไม่ได้รับการพัฒนาหรือเรียกว่า เป็นพื้นที่ปฏิบัติการของการพัฒนาชนบท

(2) ชนบทที่พัฒนาแล้ว (Developed rural area) คือ พื้นที่ที่มีจำนวนและความหนาแน่นประชากรต่ำ และได้รับการพัฒนาแล้วหรือเรียกว่า เป็นเป้าหมายหนึ่งของการพัฒนาชนบท

(3) เมืองที่ด้อยพัฒนา (Underdeveloped urban area) คือ พื้นที่ที่มีจำนวนและความหนาแน่นประชากรสูง และยังไม่ได้รับการพัฒนา เช่น สลัม หรือเรียกว่าเป็นพื้นที่ปฏิบัติการของการพัฒนาเมือง

(4) เมืองที่พัฒนาแล้ว (Developed urban area) คือ พื้นที่ที่มีจำนวนและความหนาแน่นประชากรสูง และได้รับการพัฒนาแล้วหรือเรียกว่า เป็นเป้าหมายของการพัฒนาเมืองและชนบท

          โดยมีทางเลือกยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองและชนบท เป็นดังต่อไปนี้

ทางเลือกที่ 1 การพัฒนาชนบทที่ด้อยพัฒนาเป็นชนบทที่พัฒนาแล้ว หรือ RuDev (Rural Development) เป็นยุทธศาสตร์แห่งการเปลี่ยนแปลงให้ชนบทมีความน่าอยู่ทันสมัย โดยการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้ทันสมัย มีประสิทธิภาพ มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ทางเลือกที่ 2 การพัฒนาชนบทที่ด้อยพัฒนาให้เป็นเมืองใหม่ที่พัฒนาแล้ว หรือ RuBan (Rural to Urban) เป็นยุทธศาสตร์การสร้างความเติบโต โดยการเพิ่มขั้วความเติบโต (growth pole) หรือ จุดที่เป็นเสาหลักการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ และลดพื้นที่ที่ด้อยพัฒนาลง ดังตัวอย่าง รัฐบาลจีนประกาศสร้างคลัสเตอร์ (cluster) อภิมหาเมือง 11 เมือง ที่เชื่อมเมืองย่อยต่าง ๆ ด้วยรถไฟฟ้าความเร็วสูง มุ่งพัฒนาชนบทที่อยู่กลางคลัสเตอร์ให้กลายเป็นเมืองใหม่ พร้อมทั้งกระจายความเจริญและลดความหนาแน่นของเมืองใหญ่ เป็นต้น

ทางเลือกที่ 3 การพัฒนาชนบทที่ด้อยพัฒนาให้เป็นเมืองเดิมที่พัฒนาแล้ว หรือ RuLink (Rural Link Urban) เป็นการเชื่อมโยงและหลอมรวมชนบทเข้ากับเมืองที่มีอยู่แล้ว โดยการพัฒนาชนบทอาจมีบทบาทในการพัฒนาเมือง อาทิ เป็นแหล่งผลิตสินค้าและบริการตอบสนองความต้องการในเมือง เป็นฐานทรัพยากรและพลังงานเพื่อการพัฒนาเมืองและภาคเศรษฐกิจอื่น เป็นแหล่งจัดหาแรงงานให้กับภาคเศรษฐกิจอื่น ๆ เป็นตลาดรองรับผลผลิตของเมือง เป็นต้น

ทางเลือกที่ 4 การพัฒนาเมืองที่ด้อยพัฒนาให้เป็นเมืองเดิมที่พัฒนาแล้ว UrDev (Urban Development) เป็นการทำให้เมืองมีความน่าอยู่ น่าท่องเที่ยว เน้นความยั่งยืน ดังยุทธศาสตร์เมือง 10 ส. ที่ผมเคยเสนอไว้ อันได้แก่ สะดวก สงบสุข สะอาด สุขสบาย สุขอนามัย สำราญ สวยงาม สมองสร้างสรรค์ สีขาว สืบสานวัฒนธรรม โดยอาจทำได้ด้วยวางผังเมืองอย่างดี มีมาตรการควบคุมมลพิษที่มีประสิทธิภาพ มีการจัดการอาชญากรรมที่เข้มงวด และมีการจัดการระบบจราจรที่ดี เป็นต้น

ทั้งนี้ การพัฒนาชนบทไม่ควรถูกจำกัดว่า ต้องเป็นการพัฒนาชนบทให้เป็นเมืองเท่านั้น แต่ผลสุดท้ายของการพัฒนาชนบท คือ ระดับการพัฒนาของพื้นที่จะต้องถูกยกระดับขึ้น และประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ไม่ว่าพื้นที่ชนบทจะยังคงเป็นชนบทอยู่หรือไม่ก็ตาม

นอกจากนี้ แม้พื้นที่ชนบททั่วโลกยังพัฒนาไปอย่างเชื่องช้า เมื่อเทียบกับการพัฒนาเมือง แต่ความพยายามในการพัฒนาชนบทจะต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและไม่ยอมแพ้ ในทำนองเดียวกัน แม้การพัฒนาเมืองจะเกิดขึ้นและขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ต้องเป็นการเติบโตอย่างมีคุณภาพ ไม่ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมทางทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตของประชากรในเมือง

การพัฒนาเมืองและชนบทควรดำเนินการอย่างชาญฉลาด ทลายข้อจำกัดและเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ของการพัฒนาให้ได้ พร้อมทั้งสร้างประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน สังคม และประเทศ เพื่อมุ่งสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้วอย่างยั่งยืน

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ : ดร.แดน มองต่างแดน

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ประธานสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (IFD)
kriengsak@kriengsak.comhttp://www.kriengsak.com

10 สงครามอภิมหาอำนาจ (1)

ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา ประเทศจีนมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงมาก ทำให้จีนก้าวขึ้นมาท้าทายสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นอภิมหาอำนาจเดิม โดยมีการคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจีนจะแซงหน้าสหรัฐฯ ภายในปี 2030 Read More

นวัตกรรมยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเพื่อการสร้างชาติ: ภาคบริการนำหน้า

ความเข้มแข็งของภาคบริการจะช่วยสร้างโอกาสมากขึ้น สร้างงานเพิ่มขึ้น และยกระดับรายได้คนไทยให้สูงขึ้น

ผมได้ศึกษาประวัติศาสตร์และแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด ของประเทศรายได้สูงเกิดใหม่ พบว่า หนึ่งในบทเรียนจากต่างประเทศในการก้าวข้ามผ่านกับดักรายได้ปานกลาง คือ การผลักดันให้ภาคบริการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ

Read More

แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในเอเชีย (Emerging Trends in Asia)

ศตวรรษที่ 21 เป็นศตวรรษที่จุดศูนย์กลางของโลกจะเคลื่อนย้ายจากตะวันตกสู่ตะวันออกอย่างทวีปเอเชีย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และซับซ้อนกว่าศตวรรษที่ผ่านมา ทำให้การพัฒนาประเทศในศตวรรษที่ 21 จำเป็นต้องมีความเข้าใจแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น เพื่อจะทำให้สามารถกำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาได้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง

Read More

ความสัมพันธ์กับมหาอำนาจของ ASEAN

แนวโน้มโลกในอนาคตจะเกิดเศรษฐกิจหลายขั้วอำนาจมากขึ้น เพราะขั้วมหาอำนาจเดิมกำลังถดถอย ขณะที่เศรษฐกิจเกิดใหม่ ที่มีขนาดใหญ่มีศักยภาพในการขึ้นมาเป็นมหาอำนาจใหม่ ส่งผลให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น

Read More

อนาคตเศรษฐกิจโลก (3): เศรษฐกิจบนฐานฝูงชน

    ปัจจุบันสัดส่วนของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยคาดว่าในปี ค.ศ. 2020 อุปกรณ์ 5 หมื่นล้านเครื่องจะถูกเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต และคนๆ หนึ่งจะมีอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเฉลี่ย 6.85 ชิ้นต่อคนในปี ค.ศ.2020 เพิ่มขึ้นจาก 1.84 ชิ้นต่อคนในปี ค.ศ.2010 อุปกรณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่อุปกรณ์ในบ้าน สำนักงาน ของใช้ส่วนตัว ยานพาหนะ ไปจนถึงอุปกรณ์ในพื้นที่สาธารณะ จะเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า อินเตอร์เน็ตของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว (The Internet of things) 

Read More

อนาคตเศรษฐกิจโลก (1) : เศรษฐกิจที่มีหลายขั้วอำนาจ

    เมื่อไม่นานนี้ ผมได้รับเกียรติให้เป็นวิทยากรกล่าวปาฐกถาเปิดการประชุมระหว่างประเทศเกี่ยวกับศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ในหัวข้อเรื่อง “เศรษฐกิจโลกและผลกระทบต่อศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ” ณ ประเทศสเปน ซึ่งจัดโดยสถาบันเพื่อการสร้างและพัฒนาธุรกิจ หอการค้าสเปน ภายใต้การมอบหมายของสหภาพยุโรป ผมเห็นว่ามีหลายประเด็นที่จะเป็นประโยชน์จึงอยากจะนำมาแบ่งปันแก่ท่านผู้อ่านทุกท่านครับ 

Read More

อินเดีย…ยักษ์ตื่นแห่งเอเชีย

ข้อมูลใน Wealth Report ปี 2012 จัดทำโดย ไนท์ แฟรงค์ (Knight Frank) และ ซิตี้ ไพรเวท แบงค์ (Citi Private Bank) รายงานว่าเศรษฐกิจจีนจะแซงเศรษฐกิจสหรัฐและกลายเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดของโลกในปี 2020 แต่อันดับจะถูกเปลี่ยนเป็นประเทศอินเดีย ที่จะกลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดของโลกในปี 2050 ประกอบกับเมื่อไม่นานมานี้ กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมอินเดียได้เปิดตัวนโยบายการค้าต่างประเทศ (Foreign Trade Policy – FTP) ฉบับปี ค.ศ. 2015 – 2020 อย่างเป็นทางการ หลังจากรัฐบาลใหม่ของอินเดียภายใต้การนำของนายนเรนทรา โมดี ซึ่งมีเนื้อหาที่น่าสนใจและเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจของไทยด้วย คำถามที่น่าสนใจตามมาคือ ทิศทางนโยบายในด้านต่างๆ ในอีก 5 ปีข้างหน้าของประเทศอินเดียนั้นเป็นอย่างไร และจะมีนัยทางเศรษฐกิจต่อประเทศไทยอย่างไร 

Read More

บทเรียนจากเกาหลีใต้ : การเปลี่ยนผ่านสู่ประเทศที่มีรายได้สูง

ประเทศยากจนที่สามารถพัฒนาตัวเองจนเป็นประเทศรายได้สูงในโลกนี้มีอยู่หลายประเทศ เกาหลีใต้เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีความน่าสนใจและถือว่าเป็นบทเรียนที่ดีให้กับประเทศไทย Read More