ให้อย่างอารยะ เพื่อเป็นผู้ให้ที่ยิ่งใหญ่

ผมได้อ่านบทความหนึ่งในนิตยสาร Forbes – The 400 Richest People in America ฉบับวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ.2017 เกี่ยวกับ “เศรษฐีใจบุญที่สุด” ในสหรัฐอเมริกา กล่าวคือ มีการจัดอับดับเศรษฐีที่ “ให้” มากที่สุด โดยพิจารณาจากปริมาณเงินที่ให้หรือบริจาคเป็นหลัก Read More

จุดแข็งและจุดอ่อน’ดัชนี GNH’ ของภูฏาน

เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญไปกล่าวปาฐกถาในการประชุมเรื่อง “Ideas at the confluence of Energy, Economy and Environment”ซึ่งเป็นการประชุมเกี่ยวกับการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศภูฏานในอนาคต จัดโดย QED Group, Friedrich Naumann Foundation และ Bhutan Ecological Society ณ เมืองทิมพู ประเทศภูฏาน

ประเด็นหนึ่งที่ผมให้ความสนใจมาก เกี่ยวกับประเทศนี้เรื่อยมา คือ การที่ภูฏาน เป็นเพียงประเทศเดียวในโลกที่ใช้ “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” หรือ Gross National Happiness (GNH) เป็นดัชนีวัดความเจริญของประเทศมาเป็นเวลานาน จนกลายเป็นที่นิยมชมชอบไปทั่วโลก

ในประเทศไทย มีนักวิชาการบางส่วนเคยเสนอว่า ประเทศไทยไม่ควรวัดความเจริญของประเทศด้วยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP แต่ควรวัดด้วย GNH แทนที่ ซึ่งผมเห็นมีความเห็นมานานหลายๆ ปีแล้วว่าการนำ GNH มาเสริม GPD น่าจะมีประโยชน์มากกว่าและจะไม่ใช่มาแทนเป็นแนวคิดน่าสนใจ ในบทความนี้ ผมจะขอวิเคราะห์อีกครั้งถึงจุดเด่นและจุดด้อยของดัชนี GNH ของประเทศภูฏาน ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงดัชนีวัดการพัฒนาของประเทศไทยต่อไป Read More

แนวโน้มโลก 2050 (ตอนที่ 9) : มหาเศรษฐีของโลกในอนาคต

กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ 😕ดร.แดน มองต่างแดน

มีการคาดการณ์ว่าจำนวนมหาเศรษฐีในจีน จะเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 80 ซึ่งเติบโตเป็นไปในทิศทางเดียวกับอินเดียผมได้นำเสนอเกี่ยวกับแนวโน้มของโลกไปแล้วหลายด้านในช่วงที่ผ่านมา บทความนี้เป็นอีกตอนหนึ่งที่ผมอยากนำเสนอแนวโน้มของโลกในอนาคตเพิ่มเติมในประเด็นเกี่ยวกับมหาเศรษฐีบนโลกทั้งในบริบทปัจจุบัน และในทศวรรษข้างหน้าว่ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้นหรือน้อยลงอย่างไร และประเทศไทยสามารถเรียนรู้สิ่งใดบ้างจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

Read More

แนวโน้มโลก 2050 (ตอนที่ 8) : ‘อิทธิพลชนชั้นกลาง’

กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ 😕ดร.แดน มองต่างแดน

 

ในปี 2050 จะมีชนชั้นกลางกว่า 6 พันล้านคนทั่วโลกและคนกลุ่มนี้จะกลายเป็นกลุ่มตลาดใหม่ของโลกอนาคตในปี 2010 OECD และ Wolfensohn Center for Development ของสถาบัน Brookings รายงานว่า ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา กำลังซื้อของคนอเมริกาถือได้ว่าเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจโลก แต่ความผันผวนทางเศรษฐกิจในประเทศช่วงหลายปีที่ผ่านมาทำให้บทบาทของสหรัฐอเมริกาในเศรษฐกิจโลกลดลง ในทางตรงกันข้าม การเติบโตของชนชั้นกลางในเอเชียตลอดช่วงที่ผ่านมาได้ส่งผลให้ชนชั้นกลางกลายเป็นพลังเศรษฐกิจใหม่ของโลก จนมีการคาดการณ์ว่าในอีก 30 ปีข้างหน้า ชนชั้นกลางเหล่านี้จะกลายเป็นกลไกหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกในอนาคตแทนสหรัฐอเมริกา คำถามที่น่าสนใจคือ ผลกระทบและอิทธิพลทางเศรษฐกิจอันเนื่องจากการขยายตัวของกลุ่มชนชั้นกลางนี้จะเป็นอย่างไร? นัยต่อประเทศไทยมีอะไรบ้าง? และไทยควรเตรียมความพร้อมในเรื่องนี้อย่างไร?

Read More

แนวโน้มโลก 2050 (ตอนที่ 7) : NITE แรงงานของโลกอนาคต

กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ 😕ดร.แดน มองต่างแดน

กลุ่มกำลังแรงงานที่ผมคิดว่าน่าสนใจมากที่สุด คือกำลังแรงงานจากประเทศไนจีเรีย อินเดีย ตุรกี และอียิปต์ในบทความก่อนนี้ผมได้วิเคราะห์ไว้ว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจและเมืองขนาดใหญ่ จะเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียและแอฟริกา ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรในหลายประเทศที่จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้หลายประเทศจะประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานวันทำงาน ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจได้ จึงก่อให้เกิดคำถามสำคัญต่อเนื่อง คือ กำลังแรงงานกลุ่มใหม่ในอนาคตจะอยู่แถบภูมิภาคใด? ประเทศอะไร? และประเทศไทยจะขาดแคลนกำลังแรงงานในปี 2050 หรือไม่? กำลังแรงงานกลุ่มใหม่จะเกี่ยวข้องหรือส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร? บทความนี้จะนำเสนอเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้

คำว่า กำลังแรงงาน (Labor Force) ในที่นี้หมายถึง ประชากรวัยทำงานทั้งหมด ทั้งที่มีงานทำและไม่มีงานทำแต่พร้อมที่จะทำงาน โดยประเทศไทยกำหนดให้กำลังแรงงานคือประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ บางประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น กำหนดให้วัยทำงาน อยู่ในช่วงอายุ 15 – 65 ปี ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้กำหนดการสิ้นสุดวัยทำงาน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุทำงานได้

Read More

ความมั่นคงทางอาหารของอินโดนีเซีย : บทเรียนจากนโยบายพึ่งพิงตนเอง

กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ 😕ดร.แดน มองต่างแดน

ในปัจจุบัน ประเทศต่างๆ ทั่วโลกล้วนให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องความมั่นคงทางอาหารภายในประเทศมากยิ่งขึ้น

อันเนื่องมาจากแรงกดดันจากปัจจัยหลายๆ ประการ อาทิ การเพิ่มขึ้นของประชากร การเติบโตของเมืองและภาคอุตสาหกรรม และการลดลงของพื้นที่และแรงงานภาคเกษตรกรรม เป็นต้น ปัจจัยดังกล่าวส่งผลทำให้ความต้องการอาหารมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ผลผลิตอาหารเพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้ากว่า หลายๆ ประเทศจึงให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นคงทางอาหารในประเทศของตนมากขึ้น

Read More

โอกาสของประเทศไทยผ่านการร่วมมือระหว่างไทยและจีน

กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ 😕ดร.แดน มองต่างแดน

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ในยุคโลกาภิวัตน์ เศรษฐกิจไทยมีความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนนโยบายทางเศรษฐกิจไปตามกระแสเศรษฐกิจอยู่ตลอดเวลาโดย

ถึงแม้เศรษฐกิจของสหรัฐฯ และยุโรปยังจะต้องประสบปัญหาในหลายๆ ด้าน ประเทศไทยจึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาโอกาสในการพัฒนาความร่วมมือกับภูมิภาคอื่นๆ ของโลก ทั้งนี้ โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าประเทศไทยควรหันไปสร้างความร่วมมือกับประเทศจีนมากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากปัจจุบันเศรษฐกิจของจีน จะมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยและจีนยังคงมีลักษณะของความเป็นประเทศญาติมิตร เพราะคนไทยประมาณ 7 – 8 ล้านคน มีเชื้อสายจีน ตลอดจนวัฒนธรรมและประเพณีของจีนได้เข้ามาในประเทศไทยอย่างแพร่หลายและสอดคล้องกับการที่รัฐบาลจีนให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจกับคนจีนโพ้นทะเลที่อยู่ทั่วโลก ดังนั้น ไทยควรใช้โอกาสนี้พัฒนาเศรษฐกิจให้ก้าวหน้าไปพร้อมกับประเทศจีนที่กำลังก้าวเข้าสู่ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก ผมจึงขอเสนอช่องทางที่จะเป็นโอกาสในการพัฒนาประเทศผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศไทย – จีน ดังนี้

Read More