หนี้กองทุนฟื้นฟู: แก้อย่างไร และใครควรรับผิดชอบ

เดลินิวส์

การแก้ปัญหาหนี้ของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินมีความชัดเจนมากขึ้น นับตั้งแต่รัฐบาลออกพระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เพื่อโอนหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ 1.14 ล้านล้านบาทให้ ธปท.รับผิดชอบทั้งหมด โดยกฎหมายเปิดช่องให้ ธปท.เรียกเก็บเงินจากธนาคารพาณิชย์ เพื่อนำมาชำระหนี้กองทุนฟื้นฟูฯได้

พรก.ฉบับนี้ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ทั้งประเด็นความสมเหตุสมผลที่ธนาคารพาณิชย์ต้องรับภาระหนี้

Read More

รัฐบาลจำเป็นต้องค้ำประกันหนี้รัฐวิสาหกิจหรือไม่

เดลินิวส์

ดร.วีระพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) เสนอแนวคิดการขายหุ้นที่รัฐบาลถืออยู่ในรัฐวิสาหกิจบางแห่ง (บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)) ให้กับกองทุนวายุภักษ์ เพื่อที่รัฐบาลจะไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และทำให้หน่วยงานดังกล่าวไม่ได้มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจอีกต่อไป ซึ่งหมายความว่ารัฐบาลไม่จำเป็นต้องค้ำประกันหนี้ของทั้งสององค์กรนี้และทำให้ยอดหนี้สาธารณะลดลง

Read More

นโยบายของรัฐบาลในการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติ (2)

เดลินิวส์

บทความในสัปดาห์ที่แล้วผมได้วิเคราะห์ถึงปัญหาในการรับมือกับภัยพิบัติของไทย ครั้งนี้ผมอยากเสนอความคิดเห็นของผมในการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นในประเทศไทยในอนาคต

ผมได้นำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ไว้หลายประการ เช่น

กำหนดเป้าหมายในการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติ

การไม่กำหนดเป้าหมายมีส่วนทำให้การปฏิบัติงานขาดความกระตือรือร้น เป็นไปอย่างเชื่องช้า ภาครัฐจึงควรกำหนดเป้า

Read More

นโยบายของรัฐบาลในการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติ (1)

เดลินิวส์

เมื่อช่วงต้นเดือนม.ค.ที่ผ่านมาผมได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรในเวทีสัมมนาเพื่อการรักษาสิ่งแวดล้อม หัวข้อ Save Our Planet อากาศ น้ำ ดิน: ช่วยประเทศไทย จากการเปลี่ยนแปลงของ สภาพอากาศ ในหัวข้อ ?นโยบายของรัฐบาล ในการจัดการภัยพิบัติทางธรรมชาติ” ที่งาน ?บีโอไอแฟร์ 2011? ซึ่งมีตัวแทนทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชนและนักวิชาการมาแสดงความคิดเห็นในเวทีนี้อย่างมากมาย

ผมคิดว่าสิ่งที่เราต้องการไม่ใช่ไม่ให้มีผลกระทบจากภัยพิบัติเกิดขึ้นเลย แต่หากจะต้องยอมให้มีผลกระทบจากภัยพิบัติเกิดขึ้นต้องเป็นเรื่องที่เกินจะคาดการณ์ได้ และต้องตั้งรับให้ฉลาดที่สุด สิ้นเปลืองงบประมาณน้อยที่สุด ด้วยเหตุนี้เราต้องเข้าใจว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไรและแก้ไขให้ตรงจุด

Read More

จีนจะเผชิญภาวะตกต่ำรุนแรงในปี 2555 หรือไม่

เดลินิวส์

?

ปี 2554 เป็นปีที่ไม่สดใสนักสำหรับเศรษฐกิจโลก เนื่องจากผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาและวิกฤตหนี้ในกลุ่มยูโรโซน ประกอบกับภัยพิบัติทางธรรมชาติทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผ่นดินไหว สึนามิและวิกฤตโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในประเทศญี่ปุ่น และอุทกภัยครั้งใหญ่ทั้งในประเทศไทยและหลายประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในสถานการณ์ปัจจุบัน เศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วล้วนอยู่ในภาวะถดถอยหรือชะลอตัว จึงไม่สามารถเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกได้ ขณะที่เศรษฐกิจเกิดใหม่ โดยเฉพาะเอเชีย ยังมีอัตราการขยายตัวอยู่ในระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากจึงคาดหมายว่า เอเชียน่าจะช่วยสร้างสมดุลให้

Read More

การพัฒนาดัชนีวัดความเหลื่อมล้ำในกระบวนการยุติธรรม

เดลินิวส์

ในช่วงที่ผ่านมาปีกว่ามาแล้ว ผมได้ไปสอนในหลักสูตรการบริหารงานยุติธรรมระดับสูง รุ่นที่ 2 (ยธส.2) ซึ่งจัดโดยกระทรวงยุติธรรม เพื่อสร้างบุคลากรและข้าราชการให้สามารถปฏิบัติงานด้านการยุติธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลและเพื่อสร้างความเป็นธรรมและสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคม

นอกจากนี้ผมยังมีโอกาสปฏิสัมพันธ์ทางความคิดกับนักวิชาการ ข้าราชการที่เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมและผู้พิพากษาจำนวนมากตลอดมา ทำให้ผมได้เห็นปัญหาหลายประการในกระบวนการ

Read More

ทิศทางของระเบียบเศรษฐกิจโลกใหม่

เดลินิวส์

?

ผมได้รับเชิญไปบรรยายเรื่อง ?ระเบียบเศรษฐกิจโลกใหม่กับประเทศไทยยุคใหม่? ในการเสวนาวิชาการเรื่องวิสัยทัศน์ใหม่ประเทศไทย พ.ศ.2555 ซึ่งจัดโดยมูลนิธิประเมินมูลค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2554 ผมเห็นว่าประเด็นนี้มีความสำคัญต่อการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคต จึงอยากนำมาแบ่งปันในบทความนี้

คำว่า ?New World Order? ปรากฏในคำประกาศของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 1991 หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ประกอบด้วย ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน สภาพแวดล้อม การค้าเสรี และทรัพย์สินทางปัญญา ที่ผ่านมาระเบียบเศรษฐกิจโลกได้ถูกกำหนดโดย 2 ขั้วมหาอำนาจคือสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป และได้มีการผลักดันวาระที่ระบุใน

Read More

ทำอย่างไรให้เหมาะสม? (2)

เดลินิวส์

?

สัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้เล่าให้ฟังเกี่ยวกับประเด็นที่ผมบรรยายเรื่อง ?State Aid and Distortion in Competition Law and Policy?ในงาน?International conference on Competition Enforcement Challenges & Consumer Welfare in Developing Countries? ที่เมืองอิสลามาบัดประเทศปากีสถาน

ในบทความครั้งนี้ผมจะอธิบายในประเด็นสำคัญประเด็นที่สองที่ติดค้างไว้คือภาครัฐควรให้การช่วยเหลืออย่างไรซึ่งการให้ความช่วยเหลือโดยรัฐที่ดีนั้นอาจมีได้หลายแนวทางเช่นการให้ความช่วยเหลือโดยรัฐในปริมาณเท่าที่จำเป็น (Less aid)

Read More

การให้ความช่วยเหลือโดยรัฐ (State Aid): ทำอย่างไรให้เหมาะสม? (1)

เดลินิวส์

เมื่อช่วงต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรในงาน ?International Conference on Competition Enforcement Challenges & Consumer Welfare in Developing Countries? ที่เมืองอิสลามาบัด ประเทศปากีสถาน ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนาเป็นจำนวนมากจากกว่า 50 ประเทศ โดยมีนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของปากีสถานเข้าร่วมเป็นวิทยากรและเจ้าภาพในเวทีนี้ด้วย

ผมได้มีส่วนพูดในหัวข้อ ?State Aid and Distortion in Competition Law and Policy? ซึ่งเป็นประเด็นที่มีความสำคัญที่สหภาพยุโรป (EU) ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก เห็นได้จากโครงสร้างเฉพาะที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อพิจารณาเรื่อง ?การให้

Read More

น้ำท่วมกับความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ

เดลินิวส์

วิกฤตอุทกภัยสร้างความเสียหายมูลค่ามหาศาล นักวิชาการจากหลายสำนักได้พยายามประเมินผลกระทบที่เกิดจากวิกฤตต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญทางเศรษฐกิจมหภาค

แต่อีกเป้าหมายหนึ่งในทางเศรษฐกิจที่ยังไม่มีผู้กล่าวถึงมากนัก คือ ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีแนวโน้มว่าอุทกภัยจะทำให้ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะความเหลื่อมล้ำระหว่างกรุงเทพฯ กับต่างจังหวัดหรือชานเมือง

แน่นอนว่า ปัจจัยที่สร้างความแตกต่างทางเศรษฐกิจมากขึ้น คือประชาชนในพื้นที่ที่ประสบภัยน้ำท่วมต้องสูญเสียงาน สูญ

Read More