กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ 😕ดร.แดน มองต่างแดน
มีการคาดการณ์ว่าจำนวนมหาเศรษฐีในจีน จะเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 80 ซึ่งเติบโตเป็นไปในทิศทางเดียวกับอินเดียผมได้นำเสนอเกี่ยวกับแนวโน้มของโลกไปแล้วหลายด้านในช่วงที่ผ่านมา บทความนี้เป็นอีกตอนหนึ่งที่ผมอยากนำเสนอแนวโน้มของโลกในอนาคตเพิ่มเติมในประเด็นเกี่ยวกับมหาเศรษฐีบนโลกทั้งในบริบทปัจจุบัน และในทศวรรษข้างหน้าว่ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้นหรือน้อยลงอย่างไร และประเทศไทยสามารถเรียนรู้สิ่งใดบ้างจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
Tag: แนวโน้มโลก
แนวโน้มโลก 2050 (ตอนที่ 8) : ‘อิทธิพลชนชั้นกลาง’
กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ 😕ดร.แดน มองต่างแดน
ในปี 2050 จะมีชนชั้นกลางกว่า 6 พันล้านคนทั่วโลกและคนกลุ่มนี้จะกลายเป็นกลุ่มตลาดใหม่ของโลกอนาคตในปี 2010 OECD และ Wolfensohn Center for Development ของสถาบัน Brookings รายงานว่า ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา กำลังซื้อของคนอเมริกาถือได้ว่าเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจโลก แต่ความผันผวนทางเศรษฐกิจในประเทศช่วงหลายปีที่ผ่านมาทำให้บทบาทของสหรัฐอเมริกาในเศรษฐกิจโลกลดลง ในทางตรงกันข้าม การเติบโตของชนชั้นกลางในเอเชียตลอดช่วงที่ผ่านมาได้ส่งผลให้ชนชั้นกลางกลายเป็นพลังเศรษฐกิจใหม่ของโลก จนมีการคาดการณ์ว่าในอีก 30 ปีข้างหน้า ชนชั้นกลางเหล่านี้จะกลายเป็นกลไกหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกในอนาคตแทนสหรัฐอเมริกา คำถามที่น่าสนใจคือ ผลกระทบและอิทธิพลทางเศรษฐกิจอันเนื่องจากการขยายตัวของกลุ่มชนชั้นกลางนี้จะเป็นอย่างไร? นัยต่อประเทศไทยมีอะไรบ้าง? และไทยควรเตรียมความพร้อมในเรื่องนี้อย่างไร?
แนวโน้มโลก 2050 (ตอนที่ 7) : NITE แรงงานของโลกอนาคต
กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ 😕ดร.แดน มองต่างแดน
กลุ่มกำลังแรงงานที่ผมคิดว่าน่าสนใจมากที่สุด คือกำลังแรงงานจากประเทศไนจีเรีย อินเดีย ตุรกี และอียิปต์ในบทความก่อนนี้ผมได้วิเคราะห์ไว้ว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจและเมืองขนาดใหญ่ จะเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียและแอฟริกา ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรในหลายประเทศที่จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้หลายประเทศจะประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานวันทำงาน ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจได้ จึงก่อให้เกิดคำถามสำคัญต่อเนื่อง คือ กำลังแรงงานกลุ่มใหม่ในอนาคตจะอยู่แถบภูมิภาคใด? ประเทศอะไร? และประเทศไทยจะขาดแคลนกำลังแรงงานในปี 2050 หรือไม่? กำลังแรงงานกลุ่มใหม่จะเกี่ยวข้องหรือส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร? บทความนี้จะนำเสนอเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้
คำว่า กำลังแรงงาน (Labor Force) ในที่นี้หมายถึง ประชากรวัยทำงานทั้งหมด ทั้งที่มีงานทำและไม่มีงานทำแต่พร้อมที่จะทำงาน โดยประเทศไทยกำหนดให้กำลังแรงงานคือประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ บางประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น กำหนดให้วัยทำงาน อยู่ในช่วงอายุ 15 – 65 ปี ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้กำหนดการสิ้นสุดวัยทำงาน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุทำงานได้