นวัตกรรมยุทธศาสตร์การพัฒนาชนบทเพื่อการสร้างชาติ (Innovative Rural Development Strategies for Nation-Building)

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2018 ผมในฐานะประธานสถาบันการสร้างชาติ ได้กล่าวปาฐกถาในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติว่าด้วยการสร้างชาติ ครั้งที่ 2 (ICNB 2018) ในหัวข้อเรื่อง “นวัตกรรมยุทธศาสตร์การพัฒนาชนบทเพื่อการสร้างชาติ” Read More

อนาคตของอสังหาริมทรัพย์

เมื่อเดือนที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญจากสมาคมการค้าอสังหาริมทรัพย์และพันธมิตร ให้เป็นประธานเปิดงาน Real Tech # 2 By REP  Smart City for Life ซึ่งเป็นงานจัดแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผมได้กล่าวปาฐกถา เรื่อง “The future of real estate” หรืออนาคตของอสังหาริมทรัพย์ Read More

การพัฒนานวัตกรรมที่สร้างผลกระทบ (Impact Innovation)

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2560 ผมได้รับเชิญไปบรรยายในการประชุมวิชาการด้านการบริหารธุรกิจระดับชาติและนานาชาติ ปี 2560 (Business Administration National and International Conferences 2017) ซึ่งจัดโดยคณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัย  ราชภัฏอุบลราชธานี ภายใต้หัวข้อ ‘ผลกระทบของนวัตกรรมต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก’ ผมจึงขอแบ่งปันถึงสิ่งที่ได้นำเสนอในงานประชุมครั้งนี้

เป็นที่ทราบกันดีว่า ความจำเป็นของนวัตกรรมต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกในอนาคตมีมากมายหลายประการ โดยเฉพาะการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการสร้างความแตกต่างหรืออัตลักษณ์ของสินค้าและบริการ เพราะยุคนี้เป็นยุคแห่งนวัตกรรม Read More

ความจำเป็นของนวัตกรรมต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก

ผมได้นำทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชั่นการผลิต (Production Function) มาจับประวัติศาสตร์อารยธรรมโลก ตั้งแต่ยุคบรรพกาล จนถึงปัจจุบัน และคาดการณ์ไปยังอนาคต สร้างเป็นทฤษฎี “การเปลี่ยนผ่านทางสังคม: คลื่นอารยะ 7 ลูก” ซึ่งอยู่ในหนังสือสยามอารยะ แมนนิเฟสโต ได้แก่ Read More

ฮาร์วาร์ดส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ระดับโลกให้แก่นักศึกษา

ด้วยภารกิจการเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกหรือมหาวิทยาลัยชั้นนำทางวิชาการที่มีผลกระทบระดับโลกของฮาร์วาร์ด ทำให้ฮาร์วาร์ดต้องคิดพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะมีส่วนช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสบการณ์การเรียนรู้ที่เชื่อมต่อกับบริบทการเรียนรู้ระดับโลก ซึ่งนอกจากจะช่วยพัฒนานักศึกษาให้มีปรัชญาการมองโลก1 และทัศนคติที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในขอบเขตปริมณฑลที่กว้างที่สุดคือระดับโลกแล้ว ยังมีส่วนเสริมสร้างทักษะและลักษณะชีวิตที่ทำให้เป็นผู้มีความสามารถในการแข่งขันระดับโลก อาทิ ทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะภาษาต่างประเทศ ทักษะการสร้างเครือข่าย การเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้แก่นักศึกษา อันมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างนักศึกษาให้มีสมรรถนะสามารถแข่งขันได้ในเวทีระดับโลกด้วยอีกทางหนึ่ง 

Read More

เปิดประตูสู่อาเซียน?ด้วยการคิดเชิงนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์

ในการเปิดประชาคมอาเซียนที่จะเริ่มต้นขึ้นในปี พ.ศ. 2558 นั้น ประเทศไทยต้องการกำลังคนรุ่นใหม่ที่มิใช่เป็นเพียงแต่เป็นผู้ที่จบการศึกษาระดับสูง (ซึ่งคุณภาพการศึกษานั้นอาจได้มาตรฐานหรือตกหล่นจากมาตรฐานที่นานาชาติยอมรับ) หรือเป็นผู้เชี่ยวชาญชำนาญด้านภาษาเท่านั้น แต่คุณลักษณะสำคัญประการหนึ่งที่จะนำมาสู่การเป็นผู้นำอย่างได้เปรียบในการเปิดเสรีเวทีการค้าระดับภูมิภาคที่จะมาถึงในอนาคตอันใกล้นี้ ได้แก่ คุณลักษณะแห่งการเป็น ?นักคิดริเริ่มสร้างสรรค์?
อนาคตเป็นของผู้ที่มีความพร้อมมากกว่าเสมอ ผู้ที่มี ?ความคิดริเริ่ม? และมีความสามารถในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ย่อมมีโอกาสก้าวไปก่อน ก้าวไปไกล ก้าวไปสู่อนาคต ที่ประสบความสำเร็จได้มากกว่า
ในทางตรงกันข้ามหากผู้นำหรือประชาชนในชาติ มีอุปนิสัยที่เรื่อย ๆ เฉื่อยชา พึงพอใจในสิ่งที่เป็นอยู่ รักษาระบบแบบอนุรักษ์นิยม ไม่คิดจะริเริ่มเปลี่ยนแปลงหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่ดีกว่าด้วยตนเอง หากไม่มีใครสั่งหรือไม่มีสถานการณ์บีบบังคับ ย่อมเป็นการยากที่จะปรับตัวเข้ากับอนาคตที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและยากที่จะไปสู่เป้าหมายวิสัยทัศน์ที่วางไว้เป็นแน่

Read More