ชุมชนยั่งยืนด้วยตนเอง SSC (Self – Sustained Community)

ในบทความนี้ขอเสนอ แนวคิดเศรษฐกิจพึ่งตนเองในลักษณะพร้อมที่จะดำเนินนโยบายสับเปลี่ยน (switching policy) จากเศรษฐกิจเสรียามปกติเป็นพึ่งตนเองได้ทันทีเมื่อเกิดวิกฤต เป็นแนวคิดระดับจุลภาค ด้วยแนวคิด ชุมชนยั่งยืนด้วยตนเอง (Self – Sustained Community: SSC)
.
ปัจจุบันจำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากโรคระบาดกลับเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก และด้วยวิกฤตโรคระบาดที่ยาวนาน ทำให้คนจำนวนมากมาถึงจุดที่ไม่มีอะไรกิน บางชุมชนในต่างประเทศถึงกับต้องมีแคมเปญ “ยกธงขาว” กล่าวคือ หากครัวเรือนใดสู้ต่อไม่ไหว ให้นำผ้าขาวมาผูกเป็นธงแขวนหน้าบ้าน เพื่อให้คนที่พบเห็นให้ความช่วยเหลือ
.

Read More

การบริหารภาครัฐภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

เมื่อไม่นานมานี้ผมได้รับเชิญโดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีให้บรรยายในหัวข้อ “การบริหารภาครัฐภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลงในอนาคต” จึงใช้โอกาสนี้ชี้ให้ข้าราชการที่เข้าร่วมฟังบรรยายเห็นว่าหากต้องการจะบริหารงานภาครัฐอย่างมีประสิทธิสภาพภายใต้สภาวะโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างไร

ผมเชื่อว่าประเทศชาติที่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองสูง และเป็นประเทศพัฒนาแล้วและมีรายได้สูง ล้วนไม่ได้พัฒนาโดยภาคส่วนใดภาคส่วนหนึ่งเพียงเท่านั้น แต่เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างตรีกิจ หรือ 3 ภาคกิจ คือ รัฐกิจ ธุรกิจ และประชากิจ โดยภาครัฐเป็นภาคส่วนสำคัญในการขับเคลื่อน เนื่องจาก มีอำนาจรัฐ มีงบประมาณ และ มีบุคลากรจำนวนมาก และภายใต้สภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ภาครัฐจำเป็นต้องมียุทธศาสตร์ที่บูรณาการมิติต่างๆ อย่างเหมาะสม ซึ่งผมมีข้อเสนอดังนี้ Read More

ภูเก็ต: ศูนย์กลางซุปเปอร์ยอชต์แห่งเอเชีย

ภูเก็ต: ศูนย์กลางซุปเปอร์ยอชต์แห่งเอเชีย

เนื่องจากข้อจำกัดในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ คุณภาพทรัพยากรมนุษย์ของไทย เมื่อกว่า 30 ปีก่อนผมจึงเสนอเป็นครั้งแรกและย้ำมาตลอดถึงความจำเป็นที่ไทยต้องใช้ประโยชน์จากจุดแกร่งของประเทศ (Thailand’s Niches) เพื่อก้าวกระโดดเป็นประเทศรายได้สูงให้ได้ ซึ่งประกอบด้วย 4 ด้าน คือ การเป็นเมืองหลวงอาหารโลก (Food Capital) เมืองหลวงอภิบาลคนชราโลก (Elderly Healthcare Capital) เมืองหลวงสุขสภาพโลก (Wellness Capital) และเมืองหลวงการท่องเที่ยวโลก (Tourism Capital)

Read More

นวัตกรรมยุทธศาสตร์การ กระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อฟื้นชาติ ผ่านวิกฤต

เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2564 ติดลบร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และในไตรมาส 2 คาดว่าเศรษฐกิจจะทรุดตัวลงจากการระบาดระลอกที่ 3 สถานการณ์เช่นนี้ การกระตุ้นเศรษฐกิจมีความจำเป็นอย่างยิ่ง และต้องกระตุ้นอย่างมียุทธศาสตร์เพื่อฟื้นชาติผ่านวิกฤตไปได้
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยที่ผ่านมา ยังมีปัญหาบางประการ ได้แก่
 

Read More

ควรฉีดวัคซีนโควิดหรือไม่

ปัจจุบันเกิดกระแสความกลัวหรือไม่อยากฉีดวัคซีนโควิด เนื่องจากมีข้อมูลในแง่มุมต่างๆ ไหลบ่าเข้ามา ทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง เช่น มีข่าวผู้เสียชีวิตหรือเกิดผลข้างเคียงจากการฉีด ทำให้รู้สึกว่าวัคซีนโควิดไม่ปลอดภัย ประสิทธิภาพของวัคซีนต่ำ แม้ฉีดแล้วยังมีโอกาสป่วยเป็นโรคได้อีกมีการกลายพันธุ์ของเชื้อโรคทำให้วัคซีนไม่สามารถป้องกันได้ แม้ประเทศที่ฉีดวัคซีนให้แก่ประชากรจำนวนมากแล้วก็ยังมีการติดเชื้อในระดับสูง การได้รับวัคซีนจะส่งผลเสียในระยะยาวหรือไม่ รวมทั้งโรคโควิดมีอัตราการตายหรือความรุนแรงของโรคต่ำ หากป่วยเป็นโรคก็คงไม่เป็นไร สิ่งเหล่านี้จึงทำให้เกิดความไม่แน่ใจว่าควรรับการฉีดวัคซีนหรือไม่

Read More

อารยาธิปไตยเป็นประชาธิปไตยที่ดีที่สุด

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ประธานสถาบันการสร้างชาติ (NBI)
ประธานสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (IFD)
kriengsak@kriengsak.com, www.drdancando.com
www.facebook.com/drdancando

 

ปัจจุบันเราอยู่ในช่วงเวลาที่การประท้วงทางการเมืองแพร่กระจายไปทั่วโลก และ เกิดขึ้นบ่อยครั้งมากขึ้น โดยรายงานของ The Center of Strategic and International Studies (CSIS) หน่วยงานคลังสมองที่ตั้งอยู่วอชิงตัน สหรัฐ พบว่า จำนวนการประท้วงทางการเมืองต่อรัฐบาลโดยฝูงชนทั่วโลกมีปริมาณเพิ่มขึ้น ร้อยละ 11.5 ต่อปีโดยตั้งแต่ปีค.ศ.2009

Read More

ประท้วงอย่างอารยะ

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ประธานสถาบันการสร้างชาติ (NBI)
ประธานสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (IFD)
kriengsak@kriengsak.com, www.drdancando.com
www.facebook.com/drdancando

เป็นที่ทราบกันดีถึงเหตุการณ์การประท้วงเรื่องการเหยียดสีผิวที่เกิดขึ้นหลายเมืองในสหรัฐอเมริกา อันเนื่องมาจากการใช้ความรุนแรงระหว่างเข้าจับกุมของตำรวจผิวขาว จนทำให้ชายชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน – อเมริกันเสียชีวิต จนขณะนี้การประท้วงได้ทวีความรุนแรงขึ้น จนกลายเป็นเหตุการณ์การจลาจล ทั้งการปล้นสะดมร้านค้า การเผาทำลายสถานที่และสิ่งของต่าง ๆ

Read More

ยึดมั่นสาระพื้นฐานของประชาธิปไตย: แนวทางสร้างสันติภาพในโลกแห่งความขัดแย้ง

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ประธานสถาบันการสร้างชาติ (NBI)
ประธานสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (IFD)
kriengsak@kriengsak.com, www.drdancando.com
www.facebook.com/drdancando

สหรัฐซึ่งหลายคนในโลกถือว่าเป็นต้นแบบของประชาธิปไตย ในปัจจุบันกำลังเผชิญปัญหาเรื่อง “ความรุนแรงและการเหยียดสีผิว” จากการที่ตำรวจผิวขาวเข้าจับกุมชายชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกัน-อเมริกัน โดยใช้ความรุนแรงจนเสียชีวิต จนนำไปสู่การประท้วงใหญ่ที่เมืองมินนิแอโพลิส รัฐมินนิโซตา และบานปลายเป็นการประท้วงในหลายเมืองทั่วสหรัฐ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีทีท่าว่าจะยุติ

Read More

อย่าให้เชื้อ อคติ ร้ายกว่าเชื้อ โควิด

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ประธานสถาบันการสร้างชาติ (NBI)
ประธานสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (IFD)
kriengsak@kriengsak.com, www.drdancando.com
www.facebook.com/drdancando


สหรัฐอเมริกาในขณะนี้ นอกจากต้องรับมือกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่มีผู้ติดเชื้อสูงเป็นอันดับหนึ่งของโลกแล้ว  ยังต้องรับมือกับการประท้วงที่กำลังบานปลาย กลายเป็นความรุนแรงในหลายพื้นที่ จากชนวนเหตุตำรวจผิวขาวจับกุมชายผิวสีด้วยการเอาเข่ากดคอไว้ จนเสียชีวิต แม้เขาจะร้องขอชีวิตแล้วก็ตาม สร้างความโกรธแค้น จุดไฟความเกลียดชังจากอคติสีผิวที่ฝังลึกให้ลุกโชนขึ้นมาอีกครั้ง

Read More

COVID New Normal: ธุรกิจ

โดย ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ฮาร์วาร์ด
ประธาน สถาบันการสร้างชาติ

การวิจัยทางการแพทย์พบว่า ถ้าคนเราทำสิ่งใดซ้ำ ๆ กัน ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 45 วัน สิ่งนั้นจะกลายเป็นนิสัยใหม่ได้ ในทำนองเดียวกัน การอยู่ในสภาพแวดล้อมของการระบาดของ COVID-19 ซึ่งผมคาดการณ์ว่า สถานการณ์อาจอยู่ยาวนานถึง 2 ปี

Read More