องค์กรแห่งยุคเศรษฐกิจดิจิทัล

จากทฤษฎีการเปลี่ยนผ่านทางสังคม: คลื่นอารยะ 7 ลูก ในหนังสือสยามอารยะ แมนนิเฟสโต ที่ผมเขียนนั้น กล่าวได้ว่า ปัจจุบัน โลกกำลังอยู่ในคลื่นลูกที่ 3 ยุคข้อมูลข่าวสาร และกำลังเคลื่อนไปสู่คลื่นลูกที่ 4 ยุคสังคมแห่งความรู้

การเปลี่ยนแปลงแต่ละยุคเกิดจากการที่มนุษย์รู้จักใช้ความคิดปฏิวัติสังคม และประเทศใดที่สามารถขี่ยอดคลื่นการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ก่อนจะเป็น “ผู้ชนะ” คือ สามารถก้าวกระโดดสู่การเป็นประเทศชั้นแนวหน้าที่ทรงอิทธิพลของโลก

ในมิติทางเศรษฐกิจ ผมมีแนวคิดมโนทัศน์ “เศรษฐกิจหลากสี” อันเป็นแนวคิดที่ระบุถึง เศรษฐกิจหลากหลายมิติที่เราควรให้ความสำคัญ เพื่อสร้างชาติให้เป็นผู้ชนะในโลกคลื่นลูกที่ 3 ถึง 6 โดยเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) หรือเศรษฐกิจ “สี” ใสเป็นมิติหนึ่งในแนวคิดดังกล่าว

Read More

ยุทธศาสตร์การพัฒนาสำหรับโลกที่มีความซับซ้อน

ในอดีต โลกมีความซับซ้อนน้อย กล่าวคือ มีความหลากหลายและการพึ่งพาอาศัยกันน้อย เพราะประชากรยังมีไม่มาก ความตื่นตัวทางการเมืองต่ำ โลกยังไม่เชื่อมโยงกันมากนัก เทคโนโลยีสารสนเทศยังไม่พัฒนาทำให้ข้อมูลเดินทางช้า นวัตกรรมที่สร้างการเปลี่ยนแปลงยังเกิดขึ้นน้อย การเคลื่อนย้ายทุนต่างๆ ยังไม่เสรี และการแข่งขันทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศไม่รุนแรง Read More

ทำอย่างไรจึงจะเป็นอารยะผู้ประกอบการที่ดีเลิศได้

จำนวนผู้ประกอบการทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จาก 400 ล้านคน (1 คนต่อประชากรโลก 19 คน) ในปี 2012 เป็น 1 พันล้านคน (2.3 คนต่อประชากรโลก 19 คน) ในปี 2020 เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัล ที่ส่งผลให้ต้นทุนในการทำธุรกิจและต้นทุนในการผลิตสินค้าต้นแบบลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จึงไม่เป็นการยากที่จะเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการในปัจจุบัน

Read More

ภาพรวมของประสิทธิผลระหว่างประเทศ (International Country Effectiveness Index: ICE Index)

หลังจากสภาปัญญาสมาพันธ์ที่ผมเป็นประธาน ได้ริเริ่มจัดทำดัชนีประสิทธิผลประเทศไทย (Thailand Effectiveness Index) ตลอดช่วงปี 2559 ที่ผ่านมา ดัชนีดังกล่าวได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้โครงสร้างดัชนีฯ สะท้อนถึงภาพรวมของสถานการณ์การพัฒนาและความสำคัญขององค์ประกอบต่างๆ ที่มีต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งยังได้ทดลองนำดัชนีที่พัฒนามาประเมินประสิทธิผลในการพัฒนาประเทศไทย

Read More

ภาพรวมประสิทธิผลประเทศสมาชิกอาเซียน: ด้านสุขภาพ ความปลอดภัย ความมั่นคง และการดำเนินงานของภาคส่วนต่างๆ

บทความที่ผ่านมา ผมได้นำเสนอคะแนนประสิทธิผลระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน 3 ด้านแรกไปแล้ว ได้แก่ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการศึกษา โดยด้านการศึกษาของไทยน่าเป็นห่วงมากที่สุด เพราะได้คะแนนในลำดับที่ 9 มาตรฐานการศึกษาของประเทศอยู่ในเกณฑ์ไม่ดี ไม่เป็นที่น่าพึงพอใจทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ทุกภาคส่วนควรเร่งรัดแก้ปัญหาด้านการศึกษา ตามข้อเสนอต่างๆ ที่ผมเคยเสนอไว้แล้ว

ในบทความนี้ ผมจะนำเสนอคะแนนประสิทธิผลภาพรวมของประเทศสมาชิกอาเซียนอีก 4 ด้านที่เหลือ ดังต่อไปนี้

Read More

จะพัฒนาธุรกิจครอบครัวให้เป็นธุรกิจระดับโลกได้อย่างไร

บทความครั้งที่แล้ว ผมได้นำเสนอนวัตกรรมยุทธศาสตร์การสร้างความเจริญเติบโตของธุรกิจครอบครัวเพื่อการสร้างชาติไปส่วนหนึ่งว่า ควรมีการจัดตั้งองค์กรเครือข่ายสำหรับธุรกิจครอบครัว การวิจัยและจัดหลักสูตรเฉพาะสำหรับการบริหารธุรกิจครอบครัว และการพัฒนาระบบสถิติและฐานข้อมูลธุรกิจครอบครัว เพื่อสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจไทยให้เติบโตเป็นธุรกิจระดับโลกได้มากขึ้น

ในบทความนี้ ผมจะขอนำเสนอนวัตกรรมยุทธศาสตร์เพิ่มเติมสำหรับธุรกิจครอบครัวเพื่อการสร้างชาติ

Read More

นวัตกรรมยุทธศาสตร์การสร้างความเจริญเติบโตของธุรกิจครอบครัวเพื่อการสร้างชาติ

ธุรกิจขนาดใหญ่จำนวนมากในโลกเป็นธุรกิจครอบครัว ธุรกิจในกลุ่มประเทศอเมริกาเหนือ ร้อยละ 90 เป็นธุรกิจครอบครัว ธุรกิจในเอเชียร้อยละ 80 เติบโตจากธุรกิจครอบครัว และกว่าร้อยละ 40 ของธุรกิจขนาดใหญ่ Top 500 ในสหรัฐอเมริกา คือ ธุรกิจครอบครัว ตัวอย่างของธุรกิจครอบครัว เช่น วอล์มาร์ท ซัมซุง อีเกีย โตโยต้า ล็อตเต้ เลโก้ เป็นต้น

ธุรกิจครอบครัวมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของแทบทุกประเทศ โดยมีจำนวนร้อยละ 70 – 95 ขององค์กรธุรกิจในประเทศต่างๆ ในโลก มีการจ้างงานร้อยละ 50 – 80 ของการจ้างงานภาคเอกชนในประเทศส่วนใหญ่ และสร้างผลผลิตกว่าร้อยละ 60 – 90 ของ GDP ภาคเอกชน ของประเทศต่างๆ ในโลก รวมทั้ง Start-Ups ทั่วโลกถึงร้อยละ 85 เริ่มต้นด้วยเงินของครอบครัว

Read More

ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเพื่อการสร้างชาติ: ตั้งเป้าดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ถึง 100 ล้านคน เที่ยวไทยภายในปี 2020 และ 200 ล้านคน ภายในปี 2030

ข้อมูลด้านการท่องเที่ยวจากหลายแหล่ง เช่น ใน World atlas ระบุว่า จำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังประเทศไทยมากเป็นอันดับ 10 ของโลก คิดเป็นรายได้กว่าร้อยละ 20 ของจีดีพีของประเทศ อีกทั้งยังคาดการณ์ว่า ในปี 2032 ประเทศไทยจะมีจำนวนนักท่องเที่ยวถึง 100 ล้านคน ซึ่งใกล้เคียงกับเป้าหมาย 100 ล้านคน ในปี 2020 ที่ผมเคยเสนอไว้เมื่อปี 2000

United Nation World Tourism Organization รายงานว่า ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวกว่า 29.9 ล้านคนในปี 2015 คิดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก และเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย รองจากประเทศจีน

Read More

นวัตกรรมยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเพื่อการสร้างชาติ: ภาคบริการนำหน้า

ความเข้มแข็งของภาคบริการจะช่วยสร้างโอกาสมากขึ้น สร้างงานเพิ่มขึ้น และยกระดับรายได้คนไทยให้สูงขึ้น

ผมได้ศึกษาประวัติศาสตร์และแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด ของประเทศรายได้สูงเกิดใหม่ พบว่า หนึ่งในบทเรียนจากต่างประเทศในการก้าวข้ามผ่านกับดักรายได้ปานกลาง คือ การผลักดันให้ภาคบริการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ

Read More

ข้อเสนอ เคลื่อนเศรษฐกิจโดย จัดทำเมกะโปรเจ็กต์ด้านการวิจัย

เมื่อมองการพัฒนาเศรษฐกิจไทย ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ผมคิดว่า เราไม่ได้ออกแบบอนาคตอย่างมีวิสัยทัศน์คนในชาติมองไม่เห็นอนาคตว่า ประเทศชาติจะลงเอยอย่างไรในระยะยาว เพราะมุ่งเน้นแก้ปัญหาเฉพาะหน้า พรรคการเมืองเน้นทำนโยบายระยะสั้นเอาใจประชาชน และเปลี่ยนนโยบายทุกครั้งที่เปลี่ยนรัฐบาล

Read More