กัญชงสร้างชาติ

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง โดยมีพืชพันธุ์ที่หลากหลายรวมไปถึงกัญชง และกัญชา พืชทั้งสองเริ่มต้นกระจายอยู่บริเวณตอนกลางของทวีปเอเชีย และได้แพร่กระจายในทวีปยุโรปและทั่วโลก
.
กัญชงเป็นพืชหมุนเวียนที่ดี ใช้น้ำน้อย ทนทาน ให้ผลผลิตจำนวนมากและรวดเร็ว เมื่อเทียบกับพืชที่ให้ผลผลิตคล้ายกัน เช่น ฝ้าย สน ปอ เป็นต้น กัญชงสามารถปลูกได้ในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ และให้ราคาต่อน้ำหนักผลผลิตที่สูงกว่าพืชหลายชนิด จากสถิติในปี พ.ศ. 2560 พบว่ากัญชงให้ราคาผลผลิตมากกว่ายางแผ่น (57 บาท/กิโลกรัม) สูงถึง 5 เท่า นอกจากนี้ทุกส่วนของกัญชงยังแปรรูปได้หลายผลิตภัณฑ์ อาทิ กระดาษ แผ่นไฟเบอร์ เชื้อเพลิง น้ำมันปรุงอาหาร ยา ปุ๋ย เป็นต้น
 

Read More

ยุทธศาสตร์ของไทยต่อการพัฒนาเส้นทางสายไหม BRI ในศตวรรษที่ 21

ขอเสนอไอเดีย ยุทธศาสตร์ของไทยต่อการพัฒนาเส้นทางสายไหม BRI ในศตวรรษที่ 21 ของจีน ที่จะเป็นโอกาสของรัฐบาลไทยสามารถใช้โปรเจ็คระดับโลกนี้ เป็นเครื่องมือหนึ่งสำหรับการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยให้ไปข้างหน้าได้อย่างก้าวกระโดด
.
ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศพันธมิตรพยายามดำเนินยุทธศาสตร์ปิดล้อมจีน โดยเฉพาะการปิดล้อมทางทะเล เป็นเหตุให้จีนต้องพยายามฝ่าวงล้อมโดยการรื้อฟื้นและพัฒนา เส้นทางสายไหมในศตวรรษที่ 21 (Belt and Road Initiative หรือ BRI) ซึ่งเป็นความพยายามในการเอาชนะสงครามภูมิรัฐศาสตร์นี้
.

Read More

10 องค์ประกอบของความเป็นผู้ประกอบการ Entrepreneurship

“ขอเสนอ 10 องค์ประกอบของความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) ที่ผู้ประกอบการตัวจริงจะต้องมี ซึ่งครอบคลุมในทุกมิติของพันธกิจการสร้างธุรกิจ ทั้งการบริหาร การตัดสินใจ ความรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆ
.
เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2564 ผู้เขียนมีโอกาสบรรยายเรื่อง ภาวะการประกอบการ ในหลักสูตรสร้างศักยภาพผู้นำเยาวชนเพื่อการสร้างชาติ รุ่นที่ 3 (NBI Youth-Leadership Empowerment Summer Programme)
.
ผมนิยามการประกอบการ หมายถึง การสถาปนาองค์กรพันธกิจที่มุ่งหวังให้มีความยั่งยืน โดยเริ่มต้นจากคนเดียวที่มีความคิดอยากทำพันธกิจบางอย่างและสามารถรวบรวมสรรพกำลัง ทั้งคนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อสถาปนาองค์กรพันธกิจนั้นให้สำเร็จได้อย่างยั่งยืน
 

Read More

มหานครแห่งโลจิสติกส์ Logistopolis ของอาเซียน: การพัฒนาโลจิสติกส์ใน EEC เพื่อนำไทยฝ่าวิกฤต

เมื่อมองไปข้างหน้าถึง การฟื้นเศรษฐกิจในยุคหลัง COVID-19 ไทย และอีอีซีจะฟื้นจากวิกฤตเศรษฐกิจ และส่งผลกระทบได้มีองค์ประกอบหลายประการ หากดูจากงานศึกษาเชิงประจักษ์จำนวนมากในหลายพื้นที่ทั่วโลกที่มีการศึกษา เช่น ในเมืองใหญ่ของจีนหลายสิบเมือง ในตุรกี และบ้านใกล้เรือนเคียงอย่างในอินโดนีเซีย จะพบว่าประสิทธิภาพของ โลจิสติกส์ มีศักยภาพทำให้เศรษฐกิจขยายตัว และเป็นปัจจัยที่มีนัยสำคัญ
.
ธุรกิจโลจิสติกส์เป็นธุรกิจที่มีมูลค่าเพิ่มสูงและช่วยจ้างงานจำนวนมากธุรกิจบริการในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้ประเทศเฉลี่ย 2.7 – 3.1 แสนล้านบาทต่อปีคิดเป็นประมาณร้อยละ 3 ของจีดีพี และก่อให้เกิดการจ้างงานประมาณ 3.5 ล้านตำแหน่ง
.

Read More

โอกาสของไทยเมื่อโลกคลายล็อคดาวน์

ตั้งแต่ปลายปี 2019 โลกได้ผลกระทบจากการแพร่กระจายของโรคระบาดอย่างหนัก โดยเฉพาะในทางเศรษฐกิจ ปัจจุบันเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว เป็นผลมาจากรัฐบาลทั่วโลกพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยจำนวนเงินกระตุ้นเศรษฐกิจทั่วโลกต่อเนื่องจากปี 2020 สูงถึง 7.9 ล้านล้านดอลล่าสหรัฐฯ และมีโอกาสจะเพิ่มสูงขึ้นอีก รวมทั้งการเกิดขึ้นของอุตสาหกรรมใหม่หลังโรคระบาดและการค้นพบวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส ซึ่งทำให้ความกังวลในติดโรคระบาดลดลงไปอย่างมาก
.
เช่นเดียวกันกับโลก เศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วและกำลังฟื้นตัวอย่างช้า ๆ เป็นผลมาจากการคลายล็อคดาวน์และการเพิ่มค่าใช้จ่ายและการลงทุนของรัฐ
ในอนาคตที่จะมาถึง เศรษฐกิจไทยมีโอกาสฟื้นตัวรวดเร็วขึ้นอีก หากภาครัฐกิจ ธุรกิจ ประชากิจของไทยมองเห็นและสามารถคว้าโอกาสจากปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งได้แก่
 

Read More

การสร้างทายาท คือ ตัวชี้วัดผู้นำที่แท้จริง

การรักษาองค์กรให้ประสบความสำเร็จ มั่นคง ยืนยาว เป็นความท้าทายประการสำคัญที่สุดสำหรับผู้นำ เพราะการที่องค์กรจะสามารถก้าวข้ามวิกฤตขององค์กร กระแสการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองโลก รวมถึงการปฏิวัติทางเทคโนโลยี และภัยพิบัติ เช่น โรคระบาด จนสามารถดำรงอยู่ข้ามกาลเวลา จะเป็นไปไม่ได้เลย หากปราศจากทายาทผู้ที่จะทำหน้าที่นำองค์กรในรุ่นต่อไป
.
ทายาท (heir, successor) หมายถึง ผู้ที่จะสืบทอดอุดมการณ์และเจตนารมณ์ คอยผลักดันให้องค์กรเติบโต และรักษาระดับมาตรฐานขององค์กรไว้ได้ ไม่ว่าจะเผชิญสภาวการณ์ใดๆ ซึ่งการที่ผู้นำมีความรับผิดชอบที่ค่อนข้างสูง ทายาทจึงไม่ใช่สิ่งที่สามารถปล่อยให้เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่ทายาทจะเกิดขึ้นได้ด้วยผลลัพธ์ของความสัมพันธ์เชิงพลานุภาพระหว่างผู้นำและผู้ตาม

Read More

ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคตะวันออกรายจังหวัดตามแนวคิด BITA Economy

ในฉบับที่แล้ว ผมได้กล่าวถึง BITA Economy ในฐานะเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจสำหรับภาคตะวันออก 8 จังหวัดในภาพรวม ซึ่งผมสังเคราะห์จากฐานจุดแกร่งของแต่ละจังหวัด และนำมาเชื่อมโยงให้สนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยครั้งนี้ผมจะเจาะรายละเอียดยุทธศาสตร์เป็นรายจังหวัด ดังนี้
. Read More

ชุมชนยั่งยืนด้วยตนเอง SSC (Self – Sustained Community)

ในบทความนี้ขอเสนอ แนวคิดเศรษฐกิจพึ่งตนเองในลักษณะพร้อมที่จะดำเนินนโยบายสับเปลี่ยน (switching policy) จากเศรษฐกิจเสรียามปกติเป็นพึ่งตนเองได้ทันทีเมื่อเกิดวิกฤต เป็นแนวคิดระดับจุลภาค ด้วยแนวคิด ชุมชนยั่งยืนด้วยตนเอง (Self – Sustained Community: SSC)
.
ปัจจุบันจำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากโรคระบาดกลับเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก และด้วยวิกฤตโรคระบาดที่ยาวนาน ทำให้คนจำนวนมากมาถึงจุดที่ไม่มีอะไรกิน บางชุมชนในต่างประเทศถึงกับต้องมีแคมเปญ “ยกธงขาว” กล่าวคือ หากครัวเรือนใดสู้ต่อไม่ไหว ให้นำผ้าขาวมาผูกเป็นธงแขวนหน้าบ้าน เพื่อให้คนที่พบเห็นให้ความช่วยเหลือ
.

Read More

การบริหารภาครัฐภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

เมื่อไม่นานมานี้ผมได้รับเชิญโดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีให้บรรยายในหัวข้อ “การบริหารภาครัฐภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลงในอนาคต” จึงใช้โอกาสนี้ชี้ให้ข้าราชการที่เข้าร่วมฟังบรรยายเห็นว่าหากต้องการจะบริหารงานภาครัฐอย่างมีประสิทธิสภาพภายใต้สภาวะโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างไร

ผมเชื่อว่าประเทศชาติที่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองสูง และเป็นประเทศพัฒนาแล้วและมีรายได้สูง ล้วนไม่ได้พัฒนาโดยภาคส่วนใดภาคส่วนหนึ่งเพียงเท่านั้น แต่เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างตรีกิจ หรือ 3 ภาคกิจ คือ รัฐกิจ ธุรกิจ และประชากิจ โดยภาครัฐเป็นภาคส่วนสำคัญในการขับเคลื่อน เนื่องจาก มีอำนาจรัฐ มีงบประมาณ และ มีบุคลากรจำนวนมาก และภายใต้สภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ภาครัฐจำเป็นต้องมียุทธศาสตร์ที่บูรณาการมิติต่างๆ อย่างเหมาะสม ซึ่งผมมีข้อเสนอดังนี้ Read More

นวัตกรรมยุทธศาสตร์การ กระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อฟื้นชาติ ผ่านวิกฤต

เศรษฐกิจไทยไตรมาสแรกของปี 2564 ติดลบร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และในไตรมาส 2 คาดว่าเศรษฐกิจจะทรุดตัวลงจากการระบาดระลอกที่ 3 สถานการณ์เช่นนี้ การกระตุ้นเศรษฐกิจมีความจำเป็นอย่างยิ่ง และต้องกระตุ้นอย่างมียุทธศาสตร์เพื่อฟื้นชาติผ่านวิกฤตไปได้
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยที่ผ่านมา ยังมีปัญหาบางประการ ได้แก่
 

Read More