รวมบัญชีธนาคารแห่งประเทศไทย : ตัดสินใจอย่างไรดี?

คอลัมภ์ : การเมือง : ทัศนะวิจารณ์

เมื่อไม่นานมานี้ มีแนวคิดที่จะรวม 3 บัญชีของแบงก์ชาติ (บัญชีทุนสำรองเงินตรา บัญชีสำรองพิเศษ และบัญชีผลประโยชน์ประจำปี) เพื่อนำเงินบางส่วนมาใช้ลดภาระหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินซึ่งมีภาระหนี้กว่า 1.1 ล้านล้านบาท และรัฐบาลต้องรับภาระในการนำเงินงบประมาณมาชำระดอกเบี้ยจากหนี้กองทุนฟื้นฟูฯ ถึงปีละ 65,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม แนวคิดดังกล่าวได้รับการคัดค้านอย่างมากจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะศิษย์ของหลวงตามหาบัว ซึ่งได้บริจาคเงินส่วนหนึ่งเข้าสู่เงินทุนสำรองนี้ด้วย ทำให้รัฐบาลต้องหยุดแนวคิดนี้ไว้

ประเด็นที่เกี่ยวกับเรื่องเงินทุนสำรองระหว่างประเทศนั้น ในอดีตที่ผ่านมาเคยมีข้อเสนอที่สำคัญในเรื่องนี้อยู่ 2 ประการ Read More

ความสลับซับซ้อนของระบบเศรษฐกิจและความมั่งคั่งของชาติ

คอลัมภ์ : การเมือง : ทัศนะวิจารณ์

เราคงเคยได้ยินมาว่าประเทศที่จะได้ประโยชน์และมั่งคั่ง จากการทำการค้าระหว่างประเทศคือประเทศที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษในการผลิตสินค้าใดสินค้าหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่นานมานี้ มีงานศึกษาล่าสุดเกี่ยวกับความสลับซับซ้อน (Complexity) ทางเศรษฐกิจได้ให้มุมมองที่แตกต่างออกไป

ผมมีโอกาสได้อ่านงานศึกษาของศาสตราจารย์ริคาร์โด เฮ้าส์แมนน์ ซึ่งอยู่ที่ Kennedy School of Government มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และซีซาร์ ฮิดัลโก ซึ่งได้ทำการศึกษาเรื่องความสลับซับซ้อนทางเศรษฐกิจกับความมั่งคั่งของประเทศ Read More

ไทยต้องเป็นเศรษฐกิจฐานความรู้ ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

คอลัมภ์ : การเมือง : ทัศนะวิจารณ์

เมื่อไม่นานมานี้ผมได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นของผมในงานสัมมนาที่จัดโดยมหาวิทยาลัยเกริก
เรื่อง ?ยุคสังคมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ : ความฝันหรือความจริงแห่งอนาคต? ซึ่งนอกจากผมแล้วยังมีวิทยากรหลายท่านได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ซึ่งปัจจุบันเป็นนโยบายที่รัฐบาลพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นไว้อย่างน่าสนใจ

โดยส่วนตัวแล้วผมคิดว่าการจะเข้าใจทิศทางของประเทศว่าควรจะเป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์หรือไม่นั้นต้องเข้าใจพัฒนาการทางสังคมโดยรวมเสียก่อน ซึ่งผมได้อธิบายเรื่องนี้ไว้ในหลายโอกาสว่าการเปลี่ยนแปลงทางสังคมของโลกนั้นมีลักษณะเป็น ?คลื่น 7 ลูก? เริ่มต้นจากคลื่นลูกที่ 0 คือ สังคมเร่ร่อน ทักษะสำคัญในยุคนี้ คือ การล่าสัตว์ ดังนั้นผู้ที่ล่าสัตว์เก่งจึงได้

Read More

หวยออนไลน์…ล้มได้ ก็ลุกได้

คอลัมภ์ : การเมือง : ทัศนะวิจารณ์

การประกาศของนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้ยกเลิกโครงการสลากกินแบ่งแบบเลขท้าย 2 ตัว 3 ตัว ด้วยเครื่องจำหน่ายอัตโนมัติ หรือหวยออนไลน์
แม้ว่าจะสร้างกระแสความไม่พอใจให้เกิดขึ้น แม้จะมีแนวโน้มว่า รัฐอาจต้องเสียค่าปรับให้กับบริษัทคู่สัญญา และต้องจ่ายเงินช่วยเหลือชดเชยสิทธิประโยชน์แก่ประชาชนผู้ค้าที่ได้ลงทุนไปแล้ว หรือแม้จะถูกมองว่าเป็นความไม่จริงใจ เพราะปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมาถึงหนึ่งปี แต่ถึงกระนั้น นายกฯ ยังคงยืนกรานล้มเลิกหวยออนไลน์อย่างหนักแน่น เพื่อแสดงจุดยืนทางการเมืองของตน

ดังคำกล่าวของนายกรัฐมนตรีในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” กรณีหวยออนไลน์ ว่า มีจุดยืนที่ชัดเจน Read More

ทิศทางเศรษฐกิจไทย ปี 2553

คอลัมภ์ : การเมือง : ทัศนะวิจารณ์

เวลาอีกไม่กี่วันก็จะก้าวเข้าสู่ปี 2553 แล้ว แนวโน้มเศรษฐกิจปีหน้ามีแนวโน้มอย่างไรนั้น มีหลายหน่วยงานได้ประเมินและเสนอรายงานการวิเคราะห์ออกมา
ในบทความนี้ ผมจะแสดงความคิดเห็นของผมเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2553 ซึ่งมุมมองของผมต่อเศรษฐกิจไทยปีหน้ามีดังนี้

1. ปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจปี 2553

หากพิจารณาปัจจัยบวกและปัจจัยลบ ที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในปี 2553 เราจะพบว่า ปัจจัยบวกที่จะช่วยผลักดันเศรษฐกิจในปี 2553 ได้แก่? Read More

เร่งผูกสัมพันธ์บราซิล กู้เศรษฐกิจไทย

คอลัมภ์ : การเมือง : ทัศนะวิจารณ์

บราซิลเป็นประเทศที่ผมได้คาดการณ์นานกว่าสิบปีแล้ว ว่า จะเป็นประเทศที่เติบโตทางเศรษฐกิจ
และได้แนะนำให้ประเทศไทยทำความรู้จักและสร้างความร่วมมือในด้านต่างๆ กับประเทศนี้ให้มาก แต่จนถึงขณะนี้ บราซิลยังคงเป็นประเทศที่เราไม่รู้จักเท่าที่ควร…น่าเสียดายยิ่ง หากเราทิ้งโอกาสนี้ไปอีกครั้ง

บราซิลเป็นหนึ่งในสี่ของกลุ่มประเทศ “BRIC” ประกอบด้วย ประเทศบราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน ซึ่งได้รับการคาดหมายว่า 4 ชาตินี้ จะกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจใหม่ของโลก บราซิลมีประชากรเกือบ 300 ล้านคน เป็นประเทศที่ใหญ่มาก มีความเชี่ยวชาญหลายด้าน และมีความก้าวหน้าในด้านต่างๆ เป็นประเทศที่เรียกได้ว่า พร้อมสำหรับอนาคต? Read More

เครดิตบูโรแห่งชาติ : ป้องกันและแก้หนี้นอกระบบระยะยาว

คอลัมภ์ : การเมือง : ทัศนะวิจารณ์

ปัญหาประการหนึ่งที่สำคัญในการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจของประเทศไทย คือ การที่ภาครัฐมักจะใช้นโยบายแบบ “เหมารวม”
หรือการใช้นโยบายแบบเหมือนกันหมดกับคนทุกกลุ่ม ขาดการกลั่นกรองคนที่ควรได้รับความช่วยเหลือออกจากคนที่ไม่จำเป็นที่รัฐจะต้องเข้าไปช่วยเหลือ เนื่องจากมีกำลังที่จะช่วยตัวเองได้ในระดับหนึ่ง

การกำหนดนโยบายในลักษณะนี้ เป็นผลมาจากการขาดข้อมูลของกลุ่มเป้าหมาย (คนจน) ที่รัฐต้องการช่วยเหลือ หรือการหวังผลทางการเมือง เนื่องจากทำได้ง่าย รวดเร็ว และมีต้นทุนในการบริหารจัดการต่ำ แต่ผลที่เกิดขึ้นจากการกำหนด Read More

นำแรงงานนอกระบบเข้าในระบบ คานงัดเอาชนะความยากจน

คอลัมภ์ : การเมือง : ทัศนะวิจารณ์

ประเทศไทยมีเศรษฐกิจนอกระบบขนาดใหญ่ แรงงาน 22.5 ล้านคน หรือเกือบร้อยละ 70 เป็นแรงงานนอกระบบ
อาทิเช่น หาบเร่แผงลอย ร้านค้าปลีก ขายอาหาร คนขับรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง แท็กซี่ และรถสามล้อ เกษตรกร คนเก็บขยะ คนรับใช้ แม่บ้าน คนขับรถ คนทำสวน ลูกจ้าง กรรมกร เป็นต้น

คนกลุ่มนี้นับว่ามีความเสี่ยงในการเผชิญความผันผวนของเศรษฐกิจ การว่างงาน การขาดรายได้ และขาดหลักประกัน การที่คนยากจนส่วนใหญ่เป็นแรงงานนอกระบบ ทำให้รัฐบาลไม่ทราบข้อมูลว่าใครบ้างที่เป็นคนยากจน ทำให้รัฐบาลไม่

Read More

เงินทุนจากจีนกำลังไหลมา

คอลัมภ์ : การเมือง : ทัศนะวิจารณ์

เมื่อวันที่ 25-27 กรกฎาคมที่ผ่านมา มีการประชุมที่ใหญ่มากระหว่างนักธุรกิจจีนและไทย ที่พัทยา โดยเป็นการร่วมมือระหว่างสมาคมนักธุรกิจของไทย คือ สมาคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจไทย-จีน และสมาคมนักธุรกิจของจีน ชื่อ สมาคมนักธุรกิจยอดเยี่ยมเชื้อสายจีนทั่วโลก

จุดที่ทำให้การประชุมครั้งนี้เป็นที่สนใจมาก เพราะมีผู้ร่วมประชุมระดับนายหลิว หยง ห่าว (Liu Yonghao) ซึ่งประธานกลุ่มธุรกิจ New Hope Group ที่มีฐานอยู่ที่เมืองเฉิงตู่ มณฑลเสฉวน และเติบโตขึ้นมาจากธุรกิจอาหารสัตว์ ตัวนายหลิว หยงห่าว เองเป็นหนึ่งในพี่น้องตระกูลหลิว ที่นิตยสาร Forbes จัดให้เป็นคนที่รวยที่สุดของจีนในปี 2001 Read More

ทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะเป็นอย่างไร?

คอลัมภ์ : การเมือง : ทัศนะวิจารณ์

เมื่อไม่นานมานี้ รัฐบาลจีนและญี่ปุ่นได้ประชุมร่วมกัน เพื่อหามาตรการแก้ปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัวการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของจีนและญี่ปุ่น

มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก และเป็นที่สนใจของคนในโลกไม่น้อยไปกว่าในสหรัฐ เนื่องจากจีนและญี่ปุ่นถือเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจเช่นเดียวกัน เป็นประเด็นที่น่าสนใจว่าความร่วมมือระหว่างจีนและญี่ปุ่นนั้น จะทำเศรษฐกิจของจีนและญี่ปุ่นนั้นฟื้นตัวได้แค่ไหน และมีผลทำให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวได้เร็วขึ้นหรือไม่
Read More