AEC ทำให้การพัฒนาประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร? (4)

หลังจากที่ผมได้นำเสนอการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาประเทศไทยซึ่งเป็นผลจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มาแล้ว 5 ประเด็น พบว่า ประเทศไทยจะต้องเตรียมความพร้อมและพัฒนาประเทศด้วยมุมมองและในทิศทางที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง พัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถให้โดดเด่นท่ามกลางนานาประเทศ ร่วมขับเคลื่อนให้เกิดการสร้างความไว้วางใจระหว่างประเทศอาเซียนด้วยกัน รวมถึงมียุทธศาสตร์ในการวางตัวอย่างเหมาะสมกับประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ เพื่อมีช่องทางและโอกาสในการพัฒนาและสร้างประโยชน์ให้กับประเทศอย่างสอดคล้องกับทิศทางของโลก

Read More

AEC ทำให้การพัฒนาประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร? (3)

การเปิด AEC หนึ่งในสามเสาหลักประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการใกล้เข้ามาแล้ว เหลือระยะเวลาเพียงไม่ถึง 1 เดือนเท่านั้น ผมเป็นคนหนึ่งที่ตั้งตารอคอย เพราะต้องการเห็นจุดเริ่มต้นสิ่งใหม่เกิดขึ้นกับประเทศไทย บทความตอนนี้ ยังคงเป็นเรื่องราวเกี่ยวข้องกับประเด็นการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาประเทศไทย โดยผมได้วิเคราะห์ไว้ว่า AEC จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาประเทศไทยในหลายด้าน และในครั้งนี้ ผมจะนำเสนออีก 2 ประเด็น ดังนี้ 
 

Read More

AEC ทำให้การพัฒนาประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร? (2)

บทความตอนที่ผ่านมา ผมได้วิเคราะห์เกี่ยวกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ว่า จะทำให้การพัฒนาประเทศของไทยเปลี่ยนแปลงไปใน 2 ประเด็น คือ (1) การเปลี่ยนแปลงขอบเขตของการพัฒนา ภาคส่วนต่าง ๆ จึงควรปรับมุมมองในการดำเนินงานให้มีขอบเขตกว้างมากขึ้น จากมุมมองภายในขอบเขตประเทศสู่มุมมองระหว่างประเทศ และ (2) การเปลี่ยนแปลงทิศทางการพึ่งพาต่างประเทศ จากการพึ่งพาตะวันตกสู่การพึ่งพาตะวันออกมากขึ้น (from West to East) และจากการพึ่งพาประเทศพัฒนาแล้ว สู่การพึ่งพาเศรษฐกิจเกิดใหม่มากขึ้น (from North to South) 

Read More

อนาคตเศรษฐกิจโลก (3): เศรษฐกิจบนฐานฝูงชน

    ปัจจุบันสัดส่วนของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยคาดว่าในปี ค.ศ. 2020 อุปกรณ์ 5 หมื่นล้านเครื่องจะถูกเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต และคนๆ หนึ่งจะมีอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเฉลี่ย 6.85 ชิ้นต่อคนในปี ค.ศ.2020 เพิ่มขึ้นจาก 1.84 ชิ้นต่อคนในปี ค.ศ.2010 อุปกรณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่อุปกรณ์ในบ้าน สำนักงาน ของใช้ส่วนตัว ยานพาหนะ ไปจนถึงอุปกรณ์ในพื้นที่สาธารณะ จะเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า อินเตอร์เน็ตของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว (The Internet of things) 

Read More

อนาคตเศรษฐกิจโลก (2): เศรษฐกิจบนฐานโลกาเทศาภิวัตน์

    ในบทความครั้งที่แล้วผมได้อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงสำคัญทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในโลกไปประการหนึ่ง คือ การเปลี่ยนแปลงจากโลกที่มีขั้วอำนาจเดียวไปเป็นโลกที่มีหลายขั้วอำนาจ นอกจากนี้แล้วยังมีการเปลี่ยนแปลงอีกประการหนึ่งที่เกิดขึ้นในโลก ซึ่งผมขอเสนอชื่อใหม่ว่า “เศรษฐกิจบนฐานถิ่นโลกภิวัตน์” (Glocalization)

Read More

อนาคตเศรษฐกิจโลก (1) : เศรษฐกิจที่มีหลายขั้วอำนาจ

    เมื่อไม่นานนี้ ผมได้รับเกียรติให้เป็นวิทยากรกล่าวปาฐกถาเปิดการประชุมระหว่างประเทศเกี่ยวกับศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ ในหัวข้อเรื่อง “เศรษฐกิจโลกและผลกระทบต่อศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ” ณ ประเทศสเปน ซึ่งจัดโดยสถาบันเพื่อการสร้างและพัฒนาธุรกิจ หอการค้าสเปน ภายใต้การมอบหมายของสหภาพยุโรป ผมเห็นว่ามีหลายประเด็นที่จะเป็นประโยชน์จึงอยากจะนำมาแบ่งปันแก่ท่านผู้อ่านทุกท่านครับ 

Read More

ฮาร์วาร์ดจับมือศูนย์วิจัยในฝรั่งเศสส่งเสริมนักศึกษาทำโครงการพัฒนาเมือง

    ฮาร์วาร์ดเป็นมหาวิทยาลัยที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้เกิดการสร้างความร่วมมือทั้งระหว่างสถาบันการศึกษาและหน่วยงานหรือองค์กรผู้เชี่ยวชาญภายนอก โดยคาดหวังว่าความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นบริบทช่วยพัฒนานักศึกษาให้มีความเจริญงอกงามทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา และสังคม ส่งผลทำให้ที่ผ่านมาฮาร์วาร์ดจึงมีการริเริ่มสร้างความร่วมมือใหม่ ๆ และพัฒนาให้มีความหลากหลายอยู่เสมอ อาทิ การพัฒนาหลักสูตรออนไลน์ที่รู้จักกันในชื่อ edX ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology: MIT) ปัจจุบันหลักสูตรออนไลน์ดังกล่าวนี้ได้ขยายเครือข่ายความร่วมมือไปยังสถาบันการศึกษาชั้นนำที่มีชื่อ

Read More

สอนลูกเรื่องการตัดสินใจเลือกสิ่งต่างๆในชีวิต

    การตัดสินใจในเรื่องใด ๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะมาจากผู้อื่น หรือมาจากตนเอง ย่อมส่งผลกระทบต่อชีวิตของเราทั้งในระยะสั้นและระยะยาว บางเรื่องหากตัดสินใจผิดอาจสามารถแก้ไขได้ หรือ ผ่อนหนักเป็นเบาได้ หรืออาจทำให้เกิดความเสียหายในระดับที่ไม่สามารถแก้ไขได้เลยก็เป็นได้ ในทางตรงกันข้าม หากการตัดสินใจนั้นถูกต้องสามารถส่งผลดีอย่างมหาศาลแก่ชีวิตของเราและผู้อื่นด้วยเช่นกัน

Read More

ฮาร์วาร์ดสร้างสรรค์นวัตกรรมคลังความรู้แบบออนไลน์

    ด้วยว่าความเจริญรุดหน้าทางด้านเทคโนโลยีและโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทำให้มหาวิทยาลัยทั่วโลกต้องเรียนรู้ปรับตัวเกาะเกี่ยวกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นดังกล่าวนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแสวงหาแนวทางการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อสนองตอบภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยทางด้านการสอน การวิจัย และการบริการสังคม เราสามารถศึกษาและเรียนรู้ตัวอย่างดังกล่าวที่ว่านี้จากกรณีศึกษาของฮาร์วาร์ด หนึ่งในผู้นำทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาที่สำคัญของโลก

Read More

Can Bangkok be the capital city of the ASEAN region? (1)

Once the war of election between Bangkok governor candidates ended, the winner has the responsibility of following the policy according to his campaigns promoted to the people. However, the main responsibility which Bangkok governor cannot ignore is to develop Bangkok to be prepared with the opening of AEC. One important point to focus on is how to turn Bangkok into the capital city of ASEAN.

Read More