ฮาร์วาร์ดสร้าง ?ความรู้สด? พบมลพิษทางอากาศฆ่าคนตาย 3.3 ล้านคนต่อปี

ฮาร์วาร์ดเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย (Research university) ที่ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนภารกิจหลักด้านการวิจัยอย่างจริงจังในรูปแบบและแนวทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนทำวิจัยผลิตองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง โดยฮาร์วาร์ดสนับสนุนเงินทุนทำวิจัยมากกว่า 800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในแต่ละปี มีศูนย์วิจัยมากกว่า 100 ศูนย์ กระจายอยู่ตามที่ต่าง ๆ ทั้งภายในรั้วฮาร์วาร์ดเองและทั่วโลก2  รวมถึงการใช้ผลงานวิจัยและวิธีวิจัยเข้าไปอยู่ในกระบวนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ โดยบูรณาการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาทุกระดับตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก อาทิ การสร้างบริบทการเรียนรู้นอกห้องเรียนให้นักศึกษาได้ฝึกฝนทักษะการทำวิจัย การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงรูปแบบวิธีการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าและแสวงหาองค์ความรู้ด้วยตนเอง และการใช้การวิจัยแบบกรณีศึกษาเป็นตัวแบบในการสอน เป็นต้น

Read More

ฮาร์วาร์ดสอนวิทยาศาสตร์นักเรียนท้องถิ่นด้วยกิจกรรมอาหาร

ฮาร์วาร์ดเป็นมหาวิทยาลัยที่ส่งเสริมการพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และการสร้างสรรค์นวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้อย่างเป็นพลวัตอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนให้มีกลไกผลักดันในทุกระดับทั้งระดับคณาจารย์ผู้สอน นักศึกษา และหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัย อาทิ การสนับสนุนเงินทุนคิดค้นสร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนการสอนให้แก่คณาจารย์ นักศึกษา ผู้บริหาร และนักวิจัยหลังปริญญาเอก การจัดให้มีสหภาคีความร่วมมือทางด้านการสอนและการเรียนรู้ อันประกอบด้วยตัวแทนจากแต่ละวิทยาลัยและหน่วยปฏิบัติของฮาร์วาร์ดที่มีโอกาสเข้ามาร่วมพูดคุยสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ จึงไม่น่าแปลกใจที่จะมีนวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้รูปแบบใหม่ ๆ ออกมาจากรั้วฮาร์วาร์ดเสมอ

Read More

วิทยาลัยศึกษาศาสตร์แห่งฮาร์วาร์ดให้บริการชุดการบรรยายสู่สาธารณะ

ฮาร์วาร์ดเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้ประชาคมมหาวิทยาลัยมีวัฒนธรรมการแบ่งปันความรู้ ทั้งการแบ่งปันความรู้ภายในมหาวิทยาลัยด้วยกันเองและการแบ่งปันความรู้สู่สาธารณะในรูปแบบที่หลากหลาย อันเป็นการส่งเสริมให้เกิดความเจริญงอกงามด้านสติปัญญา และพัฒนาต่อยอดก่ายกันขึ้นทางด้านวิทยาการความรู้ สิ่งที่สำคัญคือ เป็นการสนับสนุนให้   ฮาร์วาร์ดเป็นแหล่งวิทยาการความรู้และแหล่งอารยธรรมที่ทำหน้าที่พัฒนาและกระจายองค์ความรู้ที่ทรงอิทธิพลของโลก

Read More

วางแผนกลยุทธ์ยั่งยืน ด้วย ?8E Model?

การวางแผนทำสิ่งใด ๆ ให้สำเร็จตามเป้าหมาย ต้องไม่เพียงคิดว่า จะวางกลยุทธ์ไปให้ถึงเป้าหมายนั้นได้อย่างไร แต่ต้องไปให้ถึงอย่างคุ้มค่า ทรงคุณค่า และเลอค่าอย่างยั่งยืน…

Read More

โมเดล KSL 31220 เทียบกับ คุณภาพการสอนการเรียนรู้ของฮาร์วาร์ด

แม้ว่าฮาร์วาร์ดจะเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย (research university) ที่มีภารกิจหลักทางด้านการวิจัยสร้างสรรค์นวัตกรรมองค์ความรู้ แต่ขณะเดียวกันฮาร์วาร์ดยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมให้คณาจารย์คิดค้นพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนที่มีส่วนเสริมสร้างสติปัญญาและการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน ทำให้การเรียนการสอนของฮาร์วาร์ดมีคุณภาพระดับสูง ทันยุคทันสมัย และเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัต 

Read More

การพัฒนาดัชนีประสิทธิผลประเทศไทย (1) : ดัชนีประสิทธิผลภาครัฐ (Public Sector Effectiveness Index ? PBE Index)

         เนื่องด้วยความจำกัดเรื่องทรัพยากร บุคลากร ความรู้ความสามารถ ทำให้การขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวไปข้างหน้า ไม่อาจเป็นเพียงบทบาทหน้าที่ของรัฐ แต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น ผมเชื่อว่าภาคเอกชน (private sector) และ ภาคประชาชนหรือภาคประชาสังคม (people sector หรือ civic sector) จำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทและมีส่วนในการขับเคลื่อนประเทศด้วย หากทั้ง 3 ภาคส่วนร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งจะช่วยขับเคลื่อนประเทศให้เดินไปสู่จุดหมายของประเทศร่วมกันได้รวดเร็วขึ้น ประสบความสำเร็จมากขึ้น เพราะภาคส่วนต่าง ๆ ล้วนมีจุดแข็งที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถสนับสนุนกันและกันได้ 

Read More

คิดอย่างไร..ไม่เสียใจภายหลัง

โฟล์คสวาเกนบริษัทรถยนต์ที่มี “ชื่อเสียง” ระดับโลกมานานเกือบร้อยปี กลับกลายเป็นบริษัทที่มี “ชื่อเสีย” ระดับโลก เพียงชั่วพริบตา เมื่อถูกจับได้ว่า ‘ทุจริต’ ใช้ซอฟต์แวร์โกงค่าการทดสอบปล่อยไอเสียจากรถเครื่องยนต์ดีเซล

กรณีทุจริตดังกล่าว ส่งผลให้ประธานผู้บริหารบริษัทโฟล์คสวาเกน ต้องลาออกจากตำแหน่ง และส่งกระทบต่อรถโฟล์คสวาเกน 11 ล้านคันทั่วโลก ต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย ซึ่งอาจสูงถึง 6,500 ล้านยูโร และอาจต้องเผชิญการดำเนินคดีในสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าอาจมีโทษปรับเงินหลายพันล้านดอลลาร์

Read More

ฝึกอ่านภาษาอังกฤษ เพื่อชีวิตอนาคต

“ถ้าเราพิการทางกาย เรายังพอจะหาวิธีทดแทนได้ แต่ถ้าเราพิการทางภาษาอังกฤษ เราจะเป็นอัมพาตทางโอกาสตลอดชีวิตอย่างแท้จริง” 

คำกล่าวข้างต้น เป็นข้อสรุปความสำคัญของภาษาอังกฤษในยุคนี้ ซึ่งผมได้กล่าวไว้ในการบรรยายที่ต่าง ๆ เพื่อให้คนไทยทุกคนไม่ว่าอยู่ในแวดวงใด จะได้ตระหนักและเตรียมความพร้อมในการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียน

Read More

ดัชนีประสิทธิผลภาครัฐ ก้าวแรกสู่ระบบขับเคลื่อนประเทศไทย

เมื่อสัปดาห์ก่อน ผมในฐานะประธาน “สภาปัญญาสมาพันธ์” ได้จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวสภาปัญญาสมาพันธ์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ผมและเพื่อนนักวิชาการชั้นนำของประเทศได้รวมตัวกัน เพื่อให้เป็นศูนย์รวมของผู้ทรงคุณวุฒิในหลากหลายแขนงวิชาที่มาร่วมกันศึกษา ค้นคว้า วิจัย ในเรื่องหรือประเด็นสำคัญที่มีผลกระทบต่ออนาคตของประเทศ เพื่อช่วยนำเสนอแนวคิดและกำหนดทิศทางพัฒนาประเทศอย่างมียุทธศาสตร์ที่คมชัด และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายของประเทศอย่างแท้จริง
งานสำคัญชิ้นแรกของสภาปัญญาสมาพันธ์ คือ การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เพื่อจัดทำ “ดัชนีประสิทธิผลประเทศไทย (Thailand Effectiveness Index – TE Index)” หรือ ตัวชี้วัดความเข้มแข็งของ 3 ภาคส่วนที่มีความสำคัญมากต่อการขับเคลื่อนประเทศ ได้แก่ (1) ภาครัฐ (public sector) เช่น สถาบันการเมือง รัฐสภา

Read More

AEC ทำให้การพัฒนาประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร? (5)

ในบทความที่ผ่านมา ผมได้กล่าวถึง การเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาประเทศไทยอันเนื่องจากการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในหลายมิติ บทความนี้จะนำเสนอการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาประเทศไทยใน 2 ประเด็นสุดท้าย ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านความเสี่ยงและเสถียรภาพ และการเปลี่ยนแปลงความเป็นอิสระของการกำหนดนโยบายภาครัฐ

Read More