ด้วยวิสัยทัศน์ของผู้บริหารระดับสูงที่ต้องการพัฒนาฮาร์วาร์ดให้เป็นผู้นำทางด้านการจัดการศึกษาและการพัฒนาสังคมที่สร้างให้เกิดผลกระทบระดับโลก ทั้งทางด้านวิชาการองค์ความรู้ การลงมือในภาคปฏิบัติ และการแสวงหาทางออกให้กับปัญหาและการพัฒนาสังคมมิติต่าง ๆ วิสัยทัศน์ดังกล่าวนี้ถูกนำไปใช้เป็นกรอบทิศทางการจัดการศึกษาทุกระดับของฮาร์วาร์ด ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนกระทั่งระดับบัณฑิตศึกษา บูรณาการประสานสอดคล้องกันทั้งระบบ ทั้งการเรียนการสอนในห้องเรียน การพัฒนากิจกรรมนอกหลักสูตร การทำวิจัยสร้างนวัตกรรมองค์ความรู้ใหม่ เพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ดังกล่าวนี้
Category: Article
ความคิดเห็นเกี่ยวกับการต่ออายุข้าราชการ จาก 60 เป็น 65 ปี
เมื่อไม่นานมานี้ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ศึกษาเรื่องการเลื่อนเวลาเกษียณอายุราชการจาก 60 เป็น 65 ปีและเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีในเดือนเมษายนนี้ เพื่อให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดอายุเกษียณราชการ
The Development of Thailand Effectiveness Index (1): Public Sector Effectiveness Index (PBE Index)
Due to limited resources and a lack of sufficiently appropriate personnel and sufficient competence amongst them, the public sector should not be the only sector responsible for driving the country forward. I believe that the private sector, the people sector (civil society sector) all need to participate and contribute in developing the country together. If these three sectors strongly cooperate with each other, the country will move forward more quickly and more successfully since all these sectors would be contributing their individual strengths which would help support each of them.
ประสานพลังรัฐ-เอกชน-ประชาชน: ดัชนีประสิทธิผลไทยไตรมาส1/2559
ฮาร์วาร์ดเปิดประตูการเรียนรู้สู่เด็กนักเรียนท้องถิ่น
หลายบทความก่อนนี้ ผมเคยนำเสนอเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของฮาร์วาร์ด อันมีผลนำการพัฒนาและความเจริญก้าวหน้ามาสู่ชุมชนท้องถิ่น อาทิ ด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา วัฒนธรรม สุขภาพ ศิลปะ เป็นต้น การมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเป็นภารกิจสำคัญที่ผู้บริหารฮาร์วาร์ดต้องการผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง อันสะท้อนถึงการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมของฮาร์วาร์ดด้วยอีกทางหนึ่ง
ฮาร์วาร์ดบริหารสถานที่ส่งเสริมการเรียนรู้
การบริหารจัดการอาคารสถานที่เป็นอีกหนึ่งภารกิจที่ฮาร์วาร์ดให้ความสำคัญ ด้วยว่ามีผลกระทบทางตรงและทางอ้อมต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าด้านวิชาการและการเรียนรู้ ตลอดประวัติศาสตร์ของฮาร์วาร์ดจึงมีการริเริ่มดำเนินโครงการก่อสร้าง พัฒนา และปรับปรุงอาคารสถานที่ต่าง ๆ ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทางด้านนวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยอย่างต่อเนื่อง อันมีส่วนสำคัญที่สนับสนุนให้ฮาร์วาร์ดยังคงรักษาเอกลักษณ์การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นแนวหน้าของสหรัฐอเมริกาและเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกได้ต่อเนื่องยาวนาน
ดัชนีประสิทธิผล (TE Index) ภาคเอกชน ชี้ธุรกิจไทยอ่อนทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ถึงเวลามหาวิทยาลัยไทยดูแบบฮาร์วาร์ดเรื่องสร้างทักษะนักศึกษาเป็นผู้ประกอบการ
โลกทุกวันนี้กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอย่างน้อย 3 ประการคือ การก้าวเข้าสู่สังคมความรู้ (knowledge society) ที่มีองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมขั้นสูง เป็นปัจจัยขับเคลื่อน1 กระแสโลกาภิวัตน์ (globalization) ที่เชื่อมโยงโลกทั้งโลกเข้าไว้ด้วยกัน และความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การเปลี่ยนแปลงอย่างน้อย 3 ประการดังกล่าวนี้เป็นแรงผลักขับเคลื่อนให้ประเทศต่าง ๆ ต้องเตรียมพร้อมปรับตัวเตรียมกำลังคนให้สอดคล้อง รองรับ เป็นคนคุณภาพที่สามารถอยู่รอด แข่งขันได้ ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่หลายประเทศนำมาใช้คือ การศึกษา
ภาคประชาชนอ่อนแอ แต่ได้รับความเชื่อมั่นสูง
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ผมในฐานะประธานปัญญาสมาพันธ์ ได้แถลงผลการสำรวจดัชนีประสิทธิผลภาคประชาชน (People Sector Effectiveness Index – PPE Index) ซึ่งเป็นการแถลงผลครั้งที่ 3 โดยการแถลงผล 2 ครั้งที่ผ่านมา เป็นการรายงานผลดัชนีประสิทธิผลภาครัฐ (Public Sector Effectiveness Index – PBE Index) และดัชนีประสิทธิผลภาคเอกชน (Private Sector Effectiveness Index – PVE Index)
ดัชนีประสิทธิผลของปัญญาสมาพันธ์ กับนวัตกรรมไทยบนบริบทโลก
ในบทความครั้งที่แล้ว ผมได้เขียนถึงผลการสำรวจในภาพรวมของประสิทธิผลภาคเอกชน (Private Sector Effectiveness: PVE) ที่เป็นตัวชี้วัดด้านหนึ่งภายใต้ดัชนีประสิทธิผลประเทศไทย หรือ Thailand Effectiveness Index (TE Index)
?โมเดลสมรรถนะ KSL31220? เตรียมแรงงานไทยสู่ประเทศรายได้สูง
เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2559 ผมได้มีโอกาสบรรยายเรื่อง “ยุทธศาสตร์แรงงานไทยเพื่อประเทศไทยมีรายได้สูง” ในการสัมมนาโครงการสร้างเครือข่ายการแนะแนวอาชีพ ที่จัดโดยกองส่งเสริมการมีงานทำ กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน โดยมองถึงภาพรวมปัญหาแรงงานไทย ยุทธศาสตร์การพัฒนาแรงงาน รวมทั้งการเตรียมพร้อมแรงานไทยเพื่อก้าวไปสู่การเป็นประเทศรายได้สูง