ฮาร์วาร์ดเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกที่เป็นผู้นำทางวิชาการและการปฏิบัติด้านการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ ตั้งแต่ระดับองค์กร ชุมชน สังคม ประเทศชาติ จนถึงระดับโลก บนพื้นฐานจุดแกร่งการเป็นองค์กรแห่งความรู้และองค์กรวิจัยของตนเอง โดยการบูรณาการประเด็นปัญหาสังคมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้ทุกระดับ ทั้งกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนและกิจกรรมนอกหลักสูตรที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากรมหาวิทยาลัยเลือกเข้าร่วมตามความถนัดและความสนใจ ในจำนวนนี้หลายกิจกรรมมีการเชื่อมโยงสู่การปฏิบัติจริง สร้างผลกระทบให้เกิดขึ้นทั้งในระดับการปฏิบัติและนโยบายการพัฒนาประเทศ
Category: Article
ยุทธศาสตร์ดุมล้ออาเซียน เพื่อไทยเป็นประเทศรายได้สูง (2)
จากบทความตอนก่อนหน้านี้ ผมได้กล่าวถึง ยุทธศาสตร์ดุมล้ออาเซียนเพื่อประเทศไทยเป็นประเทศรายได้สูงโดยนำเสนอ ไปแล้ว 2 ประเด็น คือ เหตุผลที่ประเทศไทยจำเป็นต้องเป็นดุมล้อของอาเซียน และความเหมาะสมของไทยในการเป็นดุมล้อของอาเซียน
ยุทธศาสตร์ดุมล้ออาเซียน เพื่อไทยเป็นประเทศรายได้สูง
เมื่อไม่นานมานี้ ผมมีโอกาสได้กล่าวปาฐกถาเรื่อง “ยุทธศาสตร์ดุมล้ออาเซียนเพื่อประเทศไทยจะมีรายได้สูง” ในการอบรม ASEAN Excellence Awards 2016 ที่จัดโดยสมาคมส่งเสริมการค้าอาเซียน อันเป็นงานเลี้ยงฉลองครบรอบ 5 ปี รวมทั้งได้ร่วมแสดงความยินดีกับผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัล
ผมได้ให้ทิศทางและบทบาทของประเทศในบริบทสมาชิกอาเซียนเพื่อก้าวสู่ประเทศเศรษฐกิจรายได้สูง ไว้ 3 ประเด็นดังต่อไปนี้ 1) ทำไมประเทศไทยควรเป็นดุมล้อของอาเซียน 2) เพราะเหตุใดไทยจึงเหมาะในการเป็นดุมล้อของอาเซียน และ 3) ประเทศไทยจะดำเนินยุทธศาสตร์อย่างไรเพื่อก้าวสู่การเป็นดุมล้อของอาเซียน
ฮาร์วาร์ดสร้างผลกระทบสู่เมืองเคมบริดจ์
การมีส่วนร่วมสร้างผลกระทบสู่ชุมชนท้องถิ่นเป็นพันธกิจและภารกิจที่สำคัญของฮาร์วาร์ดตามวิสัยทัศน์ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่ต้องการให้ฮาร์วาร์ดเป็นผู้นำทั้งด้านวิชาการและการปฏิบัติ การมีส่วนร่วมทำงานกับชุมชนท้องถิ่นไม่เพียงนำประโยชน์และการพัฒนามาสู่ชุมชนท้องถิ่นเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสเพิ่มเติมประสบการณ์การเรียนรู้ให้นักศึกษา เป็นบริบทให้นักศึกษาได้ฝึกฝนประยุกต์เชื่อมโยงทฤษฎีสู่การปฏิบัติจริง ส่งเสริมนักศึกษาให้ได้รับการพัฒนาครบถ้วนรอบด้านทั้งด้านความรู้ ทักษะ และลักษณะชีวิต1 ด้วยอีกทางหนึ่ง
“ดัชนีประสิทธิผลของปัญญาสมาพันธ์ กับ การพัฒนาเยาวชนเพื่อเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเชิงรุก”
คงปฏิเสธไม่ได้ว่า เยาวชนเป็นรากฐานสำคัญของประเทศ เป็นกำลังสำคัญที่จะขับเคลื่อนประเทศไปสู่ความเจริญในอนาคต หากเราอยากเห็นประเทศไทยก้าวไปสู่ประเทศที่พัฒนาทัดเทียมประเทศเพื่อนบ้านและอารยประเทศ จำเป็นอย่างยิ่งยวดที่เราต้องให้ความสำคัญต่อเยาวชนและกำหนดทิศทางที่เหมาะสมในการสร้างเยาวชนของประเทศให้สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างเต็มภาคภูมิ
แลนด์มาร์คเจ้าพระยา เดินหน้าอย่างไรให้ได้มากกว่าเสีย?
ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญให้ไปแสดงความคิดเห็นในรายการ “เถียงให้รู้เรื่อง” ทางช่อง Thai PBS ในหัวข้อ “เดินหน้าแลนด์มาร์คเจ้าพระยา ได้คุ้มเสียจริงหรือ?” ซึ่งเป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจของคนไทยจำนวนมาก หลังจากรัฐบาลพยายามผลักดันโครงการพัฒนาพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ระยะแรก 14 กิโลเมตร จากสะพานพระราม7 ถึงสะพานปิ่นกล้าทั้งสองฝั่ง มูลค่า 14,000 ล้านบาท จากทั้งโครงการ 57 กิโลเมตร
‘4 เร่ง’ ข้อเสนอการเพิ่มประสิทธิผลภาครัฐ
ผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่องประสิทธิผลภาครัฐ ประจำไตรมาสที่ 2 ในภาพรวม คือประชาชนให้คะแนนภาครัฐที่ร้อยละ 57.73 ขยับขึ้นจากไตรมาสที่แล้วที่ได้คะแนนร้อยละ 52.15 ซึ่งผมได้วิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ทำให้ดัชนีประสิทธิผลภาครัฐมีคะแนนเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 มากที่สุดสามอันดับ ดังนี้
ฮาร์วาร์ดส่งเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ระดับโลกให้แก่นักศึกษา
ด้วยภารกิจการเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกหรือมหาวิทยาลัยชั้นนำทางวิชาการที่มีผลกระทบระดับโลกของฮาร์วาร์ด ทำให้ฮาร์วาร์ดต้องคิดพัฒนาประสบการณ์การเรียนรู้ที่จะมีส่วนช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสบการณ์การเรียนรู้ที่เชื่อมต่อกับบริบทการเรียนรู้ระดับโลก ซึ่งนอกจากจะช่วยพัฒนานักศึกษาให้มีปรัชญาการมองโลก1 และทัศนคติที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในขอบเขตปริมณฑลที่กว้างที่สุดคือระดับโลกแล้ว ยังมีส่วนเสริมสร้างทักษะและลักษณะชีวิตที่ทำให้เป็นผู้มีความสามารถในการแข่งขันระดับโลก อาทิ ทักษะการทำงานเป็นทีม ทักษะภาษาต่างประเทศ ทักษะการสร้างเครือข่าย การเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้แก่นักศึกษา อันมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างนักศึกษาให้มีสมรรถนะสามารถแข่งขันได้ในเวทีระดับโลกด้วยอีกทางหนึ่ง
ความสัมพันธ์กับมหาอำนาจของ ASEAN
แนวโน้มโลกในอนาคตจะเกิดเศรษฐกิจหลายขั้วอำนาจมากขึ้น เพราะขั้วมหาอำนาจเดิมกำลังถดถอย ขณะที่เศรษฐกิจเกิดใหม่ ที่มีขนาดใหญ่มีศักยภาพในการขึ้นมาเป็นมหาอำนาจใหม่ ส่งผลให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น
ฮาร์วาร์ดบ่มเพาะผู้ประกอบการรุ่นเยาว์
ผู้ประกอบการมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ หลายประเทศทั่วโลกทั้งในยุคอดีตและปัจจุบันต่างให้คุณค่าความสำคัญในเรื่องดังกล่าวนี้ โดยให้มีการบูรณาการเชื่อมโยงเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบการศึกษาที่เรียกว่า การศึกษาด้านการประกอบการ (Entrepreneurship Education) อาทิ เกาหลีใต้ สวีเดน เดนมาร์ก สิงคโปร์ สหราชอาณาจักร (เวลล์) นอร์เวย์ เป็นต้น ด้วยมุ่งหวังว่าผู้ประกอบการจะเป็นฟันเฟืองสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ