จากบทความตอนที่แล้ว ผมได้แสดงมุมมองต่อแนวคิดประเทศไทย 4.0 และกล่าวถึงความเกี่ยวข้องระหว่างทุนวัฒนธรรมกับการเป็นประเทศไทย 4.0 ซึ่งผมมองว่าทุนวัฒนธรรมเป็นเหมือนกิจกรรมต้นน้ำ (Upstream)ในห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
Category: Article
ประเทศไทย 4.0 กับทุนทางวัฒนธรรม
รัฐบาลพยายามผลักดันนโยบายประเทศไทย 4.0 หรือไทยแลนด์ 4.0 กล่าวคือ เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี เป็นการเน้นภาคบริการ แทนภาคอุตสาหกรรม เป็นเศรษฐกิจฐานความรู้ที่สร้างความมั่งคั่งผ่านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์
พัฒนาเทคโนโลยีเพิ่มทักษะกำลังคนของประเทศ
ปัจจุบันทั้งโลกกำลังขับเคลื่อนเข้าสู่ยุคสังคมความรู้ (Knowledge Society) ที่มีความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมขั้นสูงเป็นปัจจัยขับเคลื่อน1 มีการคิดค้นสร้างสรรค์และนำเทคโนโลยีเข้ามาหนุนเสริมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ส่งผลนำสู่การยกระดับรายได้และความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศ
ประเมินโครงการอย่างครบถ้วนด้วย TIRR
ปัจจุบัน มีโครงการขนาดใหญ่เกิดขึ้นอย่างมากมาย สำหรับประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่จะเป็นโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน แต่สำหรับประเทศพัฒนาแล้วจะเป็นโครงการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม
ในอนาคตจะมีโครงการที่เกิดจากภาคส่วนที่ไม่ใช่รัฐเพิ่มมากขึ้น หรืออาจจะเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน หรือความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน รวมถึงความร่วมมือทั้งจากภายในประเทศและระหว่างประเทศ
ยกระดับกรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองมาตรฐานโลก
ในอนาคต ความเป็นเมืองจะขยายตัวมากขึ้น กล่าวคือ ประชากรจะอาศัยอยู่ในเมืองร้อยละ 60 ในปี 2020 และเป็นร้อยละ 70 ในปี 2050 ความเป็นเมืองช่วยให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพและการสร้างนวัตกรรม สังเกตได้จากส่วนแบ่งของผลิตภัณฑ์มวลรวม หรือ GDP ของเมืองมากกว่าสัดส่วนของประชากรในเมือง GDP ของเมืองมีส่วนแบ่งถึงร้อยละ 80 ของ GDP โลก แต่มีประชากรในเมืองเพียงร้อยละ 54 ของประชากรโลก
8E Model of Management Strategies : Eschatonicity E8 ประสิทธิกาล
ในที่สุด ได้เดินทางมาถึงบทความสำหรับ E ตัวสุดท้ายในโมเดลยุทธศาสตร์การบริหารประสิทธิสภาพ 8Eแล้ว และ E ที่ 8 ที่ผมจะนำเสนอต่อไปนี้ นับเป็นสิ่งที่ท้าทายและเป็นขั้นที่ยากที่สุดก็ว่าได้โดยเฉพาะสำหรับประเทศไทย
แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในเอเชีย (Emerging Trends in Asia)
ศตวรรษที่ 21 เป็นศตวรรษที่จุดศูนย์กลางของโลกจะเคลื่อนย้ายจากตะวันตกสู่ตะวันออกอย่างทวีปเอเชีย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และซับซ้อนกว่าศตวรรษที่ผ่านมา ทำให้การพัฒนาประเทศในศตวรรษที่ 21 จำเป็นต้องมีความเข้าใจแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น เพื่อจะทำให้สามารถกำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์การพัฒนาได้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลง
ยุทธศาสตร์บริหารประสิทธิภาพ 8E โมเดล-E7 ประสิทธิเขต
ปัจจุบันเป็นโลกที่ทุกศาสตร์เชื่อมโยงถึงกัน และไม่อาจแยกออกจากกันได้ เพราะโลกปัจจุบัน เป็นโลกที่มีความซับซ้อน มากขึ้นปัจจุบันเป็นโลกที่ทุกศาสตร์เชื่อมโยงถึงกัน และไม่อาจแยกออกจากกันได้ เพราะโลกปัจจุบัน เป็นโลกที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ความปรารถนาและเป้าหมายของมนุษย์ก็มีความซับซ้อนมากขึ้น สิ่งที่ทำได้จึงมีเพียงการบูรณาการศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ผมมองขาดว่าในอนาคต การทำสิ่งใดๆ ที่อยู่ในขอบเขตเดิมจะไปไม่ได้ไกล ผู้ที่ขี่ยอดคลื่นเท่านั้นที่จะยังคงอยู่และไปต่อได้ ด้วยเหตุนี้ ผมจึงนำการคิดเชิงบูรณาการมารวมกับการบริหาร เกิดเป็นยุทธศาสตร์การบริหารอย่างมี “ประสิทธิเขต” (Externality) หรือที่เรียกว่า “ยุทธศาสตร์ประสานพลังบูรณาการขยายผลลัพธ์ไปนอกขอบเขต” เป็น 1 ใน 8 ยุทธศาสตร์ที่อยู่ในยุทธศาสตร์การบริหาร 8E โมเดล
ฮาร์วาร์ดสร้างสรรค์กิจกรรมกระตุ้นการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แก่เด็กนักเรียนท้องถิ่น
การเชื่อมโยงการจัดการศึกษากับเด็กนักเรียนท้องถิ่นเป็นแนวทางการจัดการศึกษาที่ฮาร์วาร์ดให้ความสำคัญมาโดยตลอด โดยในที่นี้ฮาร์วาร์ดได้คิดริเริ่มสร้างสรรค์กิจกรรมหลากหลายรูปแบบร่วมกับโรงเรียนท้องถิ่นเพื่อสนองตอบความต้องการทางด้านการศึกษาเรียนรู้ให้กับเด็กนักเรียนท้องถิ่นตามวิสัยทัศน์ของผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่ไม่ต้องการให้ฮาร์วาร์ดเป็นขุมทรัพย์การเรียนรู้เฉพาะนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเองเท่านั้น แต่ต้องการเปิดโอกาสให้สังคมชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมเข้ามาใช้ประโยชน์จากทรัพยากรของมหาวิทยาลัยด้วย
ฮาร์วาร์ดจัดการศึกษารองรับกลุ่มชนพื้นเมืองอเมริกัน
นอกจากฮาร์วาร์ดจะเป็นมหาวิทยาลัยที่ให้ความสำคัญกับบริบทความเป็นสากลแล้ว การจัดการศึกษาของฮาร์วาร์ดยังคำนึงถึงความต้องการจำเป็นของประเทศ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ด้วยเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนและการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้มีส่วนเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่ประเทศชาติและสังคมชุมชนท้องถิ่น อาทิ การพัฒนากิจกรรมบริการสังคมให้นักศึกษามีส่วนร่วมให้ความช่วยเหลือแก่ชุมชนท้องถิ่น การพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ทางด้าน STEM (สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (engineering) และคณิตศาสตร์ (math)) เพื่อมีส่วนเตรียมกำลังคนในด้านดังกล่าวนี้ให้แก่ประเทศ เป็นต้น