คอร์รัปชั่นเป็นตัวชี้วัดด้านหนึ่งของการขาดคุณธรรมในสังคมไทย จากการสำรวจสถานการณ์คุณธรรมของสังคมไทย โดยศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) ร่วมกับ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” ซึ่งได้ถามถึงปัญหาวิกฤตทางคุณธรรมที่มีความรุนแรงในสังคมไทย ผู้ตอบแบบสอบถามมองว่า ประเด็นที่วิกฤตมากที่สุด คือ ปัญหาความไม่ซื่อสัตย์สุจริต การทุจริตคอร์รัปชั่น รองลงมา คือ ปัญหาขาดความสามัคคีและความขัดแย้งในสังคม และอันดับสาม คือ ปัญหาขาดจิตสำนึกสาธารณะ ขาดความรับผิดชอบต่อสังคม และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าส่วนรวม
Category: Article
วิทยาลัยฮาร์วาร์ดเคนเนดี้แหล่งรวมคณาจารย์วิชาการประสบการณ์โดดเด่น
การให้ความสำคัญกับคุณภาพคณาจารย์เป็นหัวใจสำคัญของการจัดการศึกษาแห่งฮาร์วาร์ด โดยฮาร์วาร์ดให้ความสำคัญอย่างมากกับการคัดเลือก คัดสรร และพัฒนาคุณภาพคณาจารย์ ส่งผลทำให้ฮาร์วาร์ดจึงเป็นแหล่งรวมของคณาจารย์คุณภาพเป็นเลิศในสาขาวิชาต่าง ๆ คณาจารย์เหล่านี้นอกจากจะมีความรู้ความสามารถโดดเด่นทางด้านวิชาการความรู้ตามศาสตร์สาขาวิชาของตนเองแล้ว ยังมีประสบการณ์เชื่อมต่อการทำงานกับโลกจริง เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาที่จะได้รับความรู้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย
ดร.แดน แนะ ม.ไทยเป็นคลังสมองแก่ 3 ภาคกิจ (รัฐกิจ ธุรกิจ ประชากิจ): กรณีศึกษาศูนย์วิจัยฮาร์วาร์ดเคนเนดี้สคูลติดอันดับดีที่สุดในโลก
การเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกของฮาร์วาร์ดมิเพียงมีบทบาทเป็นแหล่งผลิตกำลังคนและงานวิจัยคุณภาพระดับสูงป้อนสู่สังคมเท่านั้น แต่ยังมีส่วนสำคัญในการสร้างผลกระทบทั้งทางด้านนโยบายและการปฏิบัติต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของประเทศและระดับโลกบนฐานการเป็นองค์กรแห่งความรู้และองค์กรวิจัยของมหาวิทยาลัย อันเป็นบทบาทสำคัญของมหาวิทยาลัยในการบูรณาการสร้างสะพานเชื่อมระหว่างความรู้ทางวิชาการและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในโลกความเป็นจริง
การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับ Trumponomics
“Trumponomics” หรือแนวนโยบายเศรษฐกิจ ภายใต้การบริหารประเทศ ของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดนัลด์ ทรัมป์
เป็นคำที่หลายท่านคงเคยได้ยินกันมาบ้างแล้ว ซึ่งได้สร้างความกังวลใจอย่างมากให้กับหลายฝ่าย ถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับภูมิภาคเอเชีย รวมถึงประเทศไทย
Read More
สถาบันการเมือง วิทยาลัยฮาร์วาร์ดเคนเนดี้ เผยผลสำรวจความคิดเห็นเยาวชนเกี่ยวกับการเข้ารับตำแหน่งของดอนัลด์ ทรัมป์
ฮาร์วาร์ดเป็นมหาวิทยาลัยที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมปฏิสัมพันธ์สร้างผลกระทบกับบริบทสังคมร่วมสมัย สนับสนุนให้ข้อมูลองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยสร้างประโยชน์อย่างเต็มที่ให้แก่ประเทศชาติสังคมและชุมชนบนฐานการเป็นองค์กรแห่งความรู้และองค์กรวิจัยของตนเอง ฮาร์วาร์ดดำเนินการดังกล่าวเหล่านี้ผ่านกิจกรรมทางวิชาการและการปฏิบัติหลากหลายลักษณะ อาทิ การทำวิจัยสร้างสรรค์นวัตกรรมองค์ความรู้ การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน การนำเสนอความคิดหรือมุมมองที่เป็นประโยชน์แก่สังคมผ่านช่องทางต่าง ๆ เป็นต้น
ดร. แดน แนะ ม. ไทยเป็นคลังสมองแก่ 3 ภาคส่วน: กรณีศึกษาศูนย์วิจัยฮาร์วาร์ดเคนเนดี้สคูลติดอันดับดีที่สุดในโลก
การเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลกของฮาร์วาร์ดมิเพียงมีบทบาทเป็นแหล่งผลิตกำลังคนและงานวิจัยคุณภาพระดับสูงป้อนสู่สังคมเท่านั้น แต่ยังมีส่วนสำคัญในการสร้างผลกระทบทั้งทางด้านนโยบายและการปฏิบัติต่อการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของประเทศและระดับโลกบนฐานการเป็นองค์กรแห่งความรู้และองค์กรวิจัยของมหาวิทยาลัย อันเป็นบทบาทสำคัญของมหาวิทยาลัยในการบูรณาการสร้างสะพานเชื่อมระหว่างความรู้ทางวิชาการและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในโลกความเป็นจริง
หลักการและหลักปฏิบัติเพื่อพัฒนากรุงเทพฯป็นมหานครของเอเชีย
จากคำถามที่ว่า กรุงเทพและปริมณฑลควรจะเป็นมหานครของเอเชียในมิติใด? ผมได้ใช้ “ทฤษฎีหลักหมุด” ที่ผมคิดขึ้นเพื่อตอบคำถามดังกล่าว ทฤษฎีนี้ทำให้เราสามารถตอบคำถามโดยพิจารณาตั้งแต่หลักปรัชญาที่เป็นนามธรรม หลักคิด หลักวิชา หลักการ ไปจนถึง หลักปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมอย่างสอดคล้องกันตลอดทาง
ดร. แดน เสนอโมเดลมหาศุภาลัย: Integration University ยุค 6.0 : กรณีศึกษาฮาร์วาร์ดแสดงจุดเริ่มของบูรณาการข้ามศาสตร์
การจัดการศึกษาของฮาร์วาร์ดให้ความสำคัญอย่างมากกับการส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการความรู้ข้ามศาสตร์สาขาวิชา อันมีส่วนสำคัญต่อการสนองตอบความต้องการจำเป็นของโลกยุคสมัยปัจจุบันและอนาคตที่นับวันจะทวีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ด้วยว่าความรู้ทางด้านศาสตร์สาขาวิชาใดสาขาวิชาหนึ่งไม่เพียงพอต่อการสนองตอบโจทย์ความต้องการของสังคมอีกต่อไป
ประโยชน์ของการที่กรุงเทพควรจะเป็นมหานครของเอเชียในบางมิติ
ในการตอบคำถามนี้ ผมคิดว่าเราควรทำเข้าใจเสียก่อนว่า หากปราศจากนามธรรมและรูปธรรม(ว่าจะเป็นมหานครอะไร?) การพัฒนาจะไร้ทิศทาง เพราะนามธรรมที่ไม่มีรูปธรรม จะขาดความกระจ่างแจ้ง ไม่สามารถปฏิบัติให้เห็นได้ แต่รูปธรรมที่ไม่มีนามธรรม จะทำให้การปฏิบัติไม่ตอบโจทย์ที่แท้จริง ขาดความยืดหยุ่นในการปฏิบัติ หรืออาจมีการปฏิบัติมีความขัดแย้งกันเอง ดังนั้นการจะปฏิบัติสิ่งใดควรเริ่มจากหลักปรัชญาก่อน ถ้าหลักปรัชญาชัดเจน อย่างอื่นที่ตามมาจะมีความชัดเจนขึ้น เกิดการไหลไปที่หลักคิด หลักวิชา สู่หลักการ และหลักปฏิบัติในที่สุด ซึ่งเป็นทฤษฎีที่ผมคิดและขอเรียกว่า “ทฤษฎีหลักหมุด” กล่าวคือ การจะคิดภาคปฏิบัติได้ดี ควรเริ่มจากหลักปรัชญา หลักคิด หลักวิชา หลักการ หลักปฏิบัติ โดยบทความนี้จะนำเสนอเพียง 3 หลักแรกก่อน ดังต่อไปนี้
ดร. แดน เสนอแนวคิด ?มหาศุภาลัย? หรือ ?มหาวิทยาลัยอารยะ? : กรณีศึกษา ฮาร์วาร์ดบูรณาการเชื่อมโลกจริง
ผมขอใช้ตัวอย่างกรณีศึกษาในการจัดการศึกษาของฮาร์วาร์ดให้ความสำคัญกับการออกแบบการเรียนการสอนเชื่อมสู่โลกความเป็นจริง อันเป็นการช่วยเตรียมนักศึกษาให้พร้อมสำหรับโลกอนาคตที่ทวีความสลับซับซ้อนมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยให้มีความสอดคล้องเหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคสมัยใหม่ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างเป็นพลวัตด้วยอีกทางหนึ่ง