ดร. แดน ชี้การบรรจบกันของเทคโนโลยี กรณีศึกษาฮาร์วาร์ดจัดประชุมด้านเทคโนโลยี

ด้วยความเจริญก้าวหน้าอย่างมากทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นแรงผลักสำคัญที่นำการเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคมการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ทุกแวดวงและทุกสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งแวดวงการศึกษาและการพัฒนาคนปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีทันสมัยมาช่วยในการจัดการศึกษาเรียนรู้มากขึ้นส่งผลเป็นประโยชน์ช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงองค์ความรู้และเสริมสร้างสมรรถนะที่จำเป็นให้แก่ผู้เรียน

ผมเคยนำเสนอความคิด การบรรจบกันของเทคโนโลยี (Convergence of Technology) (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, 2560ข) อันเป็นจุดรวมของเทคโนโลยีจำนวนมากและหลากหลาย เทคโนโลยีเหล่านี้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่มนุษย์ เป็นประโยชน์ยิ่งหากสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ อาทิ

Read More

ดร. แดนเสนอ ความดีแท้: คำนึงถึงส่วนร่วม ส่วนเรา และส่วนรวม

เดือนมีนาคม ค.ศ. 2017 ที่ผ่านมา ฮาร์วาร์ดต้องเผชิญกับความสูญเสียครั้งสำคัญอีกครั้งกับการจากไปของ เดวิด ร็อคกี้เฟลเลอร์ (David Rockefeller) สมาชิกตระกูลร็อคกี้เฟลเลอร์ที่เป็นผู้บริจาคที่ยิ่งใหญ่ของโลก เดวิด ร็อคกี้เฟลเลอร์เป็นศิษย์เก่าฮาร์วาร์ดและตลอดระยะเวลาอันยาวนานเขามีส่วนสนับสนุนเงินบริจาคเพื่อการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยมาโดยตลอด อาทิ ในปี ค.ศ. 2008 เขาทำสัญญาบริจาคเงินจำนวน 100 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกาสำหรับช่วยเพิ่มโอกาสการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรีฮาร์วาร์ดในการมีประสบการณ์ต่างประเทศ และยังมีส่วนสนับสนุนการปฏิสังขรณ์พิพิธภัณฑ์ศิลปะฮาร์วาร์ด (Harvard Art Museums) การบริจาคดังกล่าวนี้ภายหลังถือเป็นการบริจาคของศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยที่มีจำนวนมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้เขายังบริจาคเงินให้กับมหาวิทยาลัยอีกหลายครั้งและมีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยอีกด้วยเช่นเดียวกัน (Schorow, 2017)

Read More

ภาพรวมของประสิทธิผลระหว่างประเทศ (International Country Effectiveness Index: ICE Index)

หลังจากสภาปัญญาสมาพันธ์ที่ผมเป็นประธาน ได้ริเริ่มจัดทำดัชนีประสิทธิผลประเทศไทย (Thailand Effectiveness Index) ตลอดช่วงปี 2559 ที่ผ่านมา ดัชนีดังกล่าวได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้โครงสร้างดัชนีฯ สะท้อนถึงภาพรวมของสถานการณ์การพัฒนาและความสำคัญขององค์ประกอบต่างๆ ที่มีต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งยังได้ทดลองนำดัชนีที่พัฒนามาประเมินประสิทธิผลในการพัฒนาประเทศไทย

Read More

ภาพรวมประสิทธิผลประเทศสมาชิกอาเซียน: ด้านสุขภาพ ความปลอดภัย ความมั่นคง และการดำเนินงานของภาคส่วนต่างๆ

บทความที่ผ่านมา ผมได้นำเสนอคะแนนประสิทธิผลระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน 3 ด้านแรกไปแล้ว ได้แก่ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการศึกษา โดยด้านการศึกษาของไทยน่าเป็นห่วงมากที่สุด เพราะได้คะแนนในลำดับที่ 9 มาตรฐานการศึกษาของประเทศอยู่ในเกณฑ์ไม่ดี ไม่เป็นที่น่าพึงพอใจทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ทุกภาคส่วนควรเร่งรัดแก้ปัญหาด้านการศึกษา ตามข้อเสนอต่างๆ ที่ผมเคยเสนอไว้แล้ว

ในบทความนี้ ผมจะนำเสนอคะแนนประสิทธิผลภาพรวมของประเทศสมาชิกอาเซียนอีก 4 ด้านที่เหลือ ดังต่อไปนี้

Read More

ดร. แดน ชี้ ?สร้างไอดอล ชักอาจารย์ดีขึ้นสู่ยอดเสา?: ฮาร์วาร์ดให้รางวัลคณาจารย์

ฮาร์วาร์ดให้ความสำคัญกับคุณภาพการสอนของคณาจารย์อย่างมาก โดยนอกจากจะมีกระบวนการคัดเลือกและคัดสรรคณาจารย์เข้าสู่มหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพเข้มข้นแล้ว ระหว่างทางฮาร์วาร์ดยังมีกระบวนการพัฒนาคณาจารย์และมีส่วนสนับสนุนคณาจารย์ในการพัฒนาการสอนของตนเองเป็นประจำสม่ำเสมอ อันเป็นประโยชน์และส่งผลดียิ่งต่อการพัฒนาสติปัญญาและการเรียนรู้ให้แก่นักศึกษา ช่วยให้บรรยากาศการเรียนการสอนภายในมหาวิทยาลัยมีประสิทธิภาพและมีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น

Read More

ดร. แดน เสนอ โมเดลไตรภาวะ : ฮาร์วาร์ดเคนเนดี้สคูลแหล่งสร้างผู้นำ

            ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมามีวันสำคัญของวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเคนเนดี้อีกหนึ่งวันคือ วันครบรอบวันเกิด 100 ปีของอดีตประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกา จอห์น เอฟ. เคนเนดี้ (John Fitzgerald Kennedy) ผู้เป็นศิษย์เก่าและถูกนำชื่อมาใช้เป็นชื่อของวิทยาลัย (Harvard Kennedy School) และเป็นเจ้าของคำพูดอมตะที่ว่า “อย่าถามว่าประเทศจะให้อะไรกับคุณ แต่ขอให้ถามตัวคุณว่า คุณจะสามารถทำอะไรให้แก่ประเทศบ้าง”

Read More

ดร. แดน เสนอ นวัตกรรม 3I ฮาร์วาร์ดสนับสนุนนักศึกษาคิดนวัตกรรมเชื่อมกับโลกจริง?

ฮาร์วาร์ดให้ความสำคัญอย่างมากกับการสนับสนุนประชาคมมหาวิทยาลัยคิดค้นสร้างสรรค์นวัตกรรมทุกระดับ

เริ่มตั้งแต่นักศึกษาจนกระถึงคณาจารย์มหาวิทยาลัย โดยการคิดนวัตกรรมดังกล่าวนี้มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับความสามารถนำไปใช้ประโยชน์หรือมีส่วนจัดการกับสถานการณ์ปัญหาและความท้าทายที่เกิดขึ้นในโลกจริงภายใต้การสนับสนุนทรัพยากรจากมหาวิทยาลัย อันนอกจากจะช่วยพัฒนาความรู้และทักษะให้แก่นักศึกษาแล้ว ยังเป็นการเพิ่มเติมประสบการณ์การเรียนรู้ที่สำคัญให้แก่นักศึกษาอีกทางหนึ่ง

Read More

ดร. แดน เสนอ ?สถาบันศาสตร์การเป็นพ่อแม่? ฮาร์วาร์ดชี้การมีส่วนร่วมของครอบครัวเพิ่มผลสำเร็จการศึกษาและเรียนรู้ของผู้เรียน

ฮาร์วาร์ดเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกที่ให้ความสำคัญกับการวิจัยและการสร้างผลกระทบองค์ความรู้สู่สังคม มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาการความรู้ และการเชื่อมต่อองค์ความรู้สู่การปฏิบัติจริง ในที่นี้รวมถึงการวิจัยเกี่ยวกับการสนับสนุนของครอบครัวต่อการพัฒนาการศึกษาและการเรียนรู้ของเด็กนักเรียน โดยฮาร์วาร์ดมีส่วนร่วมขับเคลื่อนผลักดันประเด็นดังกล่าวนี้อย่างจริงจังตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา

Read More

นวัตกรรมยุทธศาสตร์การสร้างความเจริญเติบโตของธุรกิจครอบครัวเพื่อการสร้างชาติ

ธุรกิจขนาดใหญ่จำนวนมากในโลกเป็นธุรกิจครอบครัว ธุรกิจในกลุ่มประเทศอเมริกาเหนือ ร้อยละ 90 เป็นธุรกิจครอบครัว ธุรกิจในเอเชียร้อยละ 80 เติบโตจากธุรกิจครอบครัว และกว่าร้อยละ 40 ของธุรกิจขนาดใหญ่ Top 500 ในสหรัฐอเมริกา คือ ธุรกิจครอบครัว ตัวอย่างของธุรกิจครอบครัว เช่น วอล์มาร์ท ซัมซุง อีเกีย โตโยต้า ล็อตเต้ เลโก้ เป็นต้น

ธุรกิจครอบครัวมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของแทบทุกประเทศ โดยมีจำนวนร้อยละ 70 – 95 ขององค์กรธุรกิจในประเทศต่างๆ ในโลก มีการจ้างงานร้อยละ 50 – 80 ของการจ้างงานภาคเอกชนในประเทศส่วนใหญ่ และสร้างผลผลิตกว่าร้อยละ 60 – 90 ของ GDP ภาคเอกชน ของประเทศต่างๆ ในโลก รวมทั้ง Start-Ups ทั่วโลกถึงร้อยละ 85 เริ่มต้นด้วยเงินของครอบครัว

Read More

ฮาร์วาร์ดเชิญ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก แห่ง เฟซบุ๊ค พูดในพิธีรับปริญญา ดร. แดนเสนอ ให้ปริญญากิตติมศักดิ์ด้วยเกณฑ์ผลงานวิชาการและความดี

ตามธรรมเนียมปฏิบัติของฮาร์วาร์ดในพิธีรับปริญญาของมหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ดมักเชิญบุคคลสำคัญที่ประสบความสำเร็จ มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก มาพูดสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาที่กำลังจะก้าวสู่โลกจริงในชีวิตการทำงาน บุคคลต่างๆ เหล่านี้มีทั้งที่เป็นศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยและบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่ศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัย อาทิ สตีเวน อัลลัน สปีลเบิร์ก (Steven Allan Spielberg) โอปราห์ วินฟรีย์ (Oprah Winfrey) เดวาล ลอร์ดีน แพทริค (Deval Laudine Patrick) บิล เกตส์ (Bill Gates) เป็นต้น

Read More