‘การสร้างชาติ’…การกระทำร่วมกันของประชาชนทั้งประเทศ

มีใครได้ตอบคำถามท่านนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา บ้างหรือยังครับ?

เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา ท่านนายกฯ ได้ถามคำถาม 4 ข้อกับประชาชนเกี่ยวกับเลือกตั้งว่า

1. ท่านคิดว่าเลือกตั้งครั้งต่อไปจะได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลหรือไม่?

2. หากไม่ได้จะทำอย่างไร ?

3. การเลือกตั้งเป็นส่วนสำคัญของประชาธิปไตย แต่การเลือกตั้งอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงอนาคตประเทศ เช่น ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปนั้น ถูกต้องหรือไม่?

4. ท่านคิดว่ากลุ่มนักการเมืองที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ควรมีโอกาสเข้ามาสู่การเลือกตั้งอีกหรือไม่ หากเข้ามาได้แล้วจะให้ใครแก้ไข และแก้ไขด้วยวิธีอะไร?

ในมุมมองของผม คำถาม 4 ข้อ สะท้อนความกังวลต่ออนาคตประเทศที่ต้องฝากไว้ในมือนักการเมือง

Read More

แนวคิดประสิทธิคุณ : ฮาร์วาร์ดบริหารผลลัพธ์ด้วยระบบคุณค่าแท้จริง

ผมนำเสนอความคิดเกี่ยวกับ โมเดลยุทธศาสตร์การบริหารประสิทธิสภาพ 8E หรือ Dr. Dan Can Do 8E Management Strategy Model ในหลายบทความก่อนหน้านี้ บทความครั้งนี้เช่นเดียวกันผมขอเสนอยุทธศาสตร์การบริหารประสิทธิคุณ (Esteemed–Valuableness) หรือยุทธศาสตร์การบริหารที่ขับเคลื่อนด้วยระบบคุณค่าแท้จริง อันเป็นยุทธศาสตร์สำคัญอีกยุทธศาสตร์หนึ่งของโมเดลยุทธศาสตร์การบริหารประสิทธิสภาพ 8E ของผม

Read More

แนวคิดประสิทธิสาร : ฮาร์วาร์ดทำสิ่งที่เป็นแก่นสาระ มีคุณค่าสูงสุด

ผมนำเสนอความคิดเกี่ยวกับ โมเดลยุทธศาสตร์การบริหารประสิทธิสภาพ 8E หรือ Dr. Dan Can Do 8E Management Strategy Model ในบทความก่อนหน้านี้ บทความครั้งนี้เช่นเดียวกันผมขอเสนอยุทธศาสตร์การบริหารประสิทธิสาร (Esthetic–Worthiness) หรือ ยุทธศาสตร์การบริหารเพื่อผลลัพธ์ที่เลอค่า อันเป็นยุทธศาสตร์ ในโมเดลยุทธศาสตร์การบริหารประสิทธิสภาพ 8E ของผม

Read More

สร้างสังคมปัญญานิยม: นวัตกรรมการสร้างคนเพื่อการสร้างชาติ

ประเทศไทยมีปัญหาความเหลื่อมล้ำค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นความเหลื่อมล้ำทางรายได้ การศึกษา การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน สวัสดิภาพและสวัสดิการทางสังคม รวมไปถึง “ความเหลื่อมล้ำทางปัญญา”

ผมคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะต้องพัฒนาและสร้างสังคมปัญญานิยมให้เกิดขึ้นให้ได้ โดยเริ่มต้นจากเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร เพราะประเทศต่างๆ ทั่วโลกเกิดการพัฒนาอย่างก้าวไกลในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม หากประเทศไทยยังนิ่งเฉย จะยิ่งทำให้เกิดช่องว่างความแตกต่างด้านสังคมแห่งปัญญาระหว่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ

Read More

แนวคิดประสิทธิเขต : ฮาร์วาร์ดสะท้อนแนวคิดนี้

ผมเคยนำเสนอความคิดเกี่ยวกับ โมเดลยุทธศาสตร์การบริหารประสิทธิสภาพ 8E หรือ Dr. Dan Can Do 8E Management Strategy Model เอาไว้ในบทความก่อนหน้านี้ สำหรับเป็นกรอบความคิดหรือต้นแบบการบริหารจัดแนวใหม่ให้แก่หน่วยงาน องค์กร อันจะนำสู่ผลลัพธ์ที่ยั่งยืนทะลุมิติข้ามกาลเวลา ประกอบด้วย ประสิทธิภาพ (Efficiency) ประสิทธิการ (Excellence) ประสิทธิผล (Effectiveness) ประสิทธิคุณ (Esteemed–Valuableness) ประสิทธิสาร (Esthetic–Worthiness) ประสิทธิคูณ (Exponentiality) ประสิทธิเขต (Externality) และประสิทธิกาล (Eschatonicity)  

Read More

มหาวิทยาลัยผู้ชี้นำทางปัญญา : กรณีฮาร์วาร์ด

ผมเคยนำเสนอความคิดเอาไว้ในการบรรยายหัวข้อ Thailand 4.0 กับมิติสังคมศาสตร์ งานครบรอบคล้ายวันสถาปนาคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันอังคารที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมาว่า “เราต้องคิดให้จงหนักว่ามหาวิทยาลัยเป็นผู้นำทางปัญญาหรือเป็นผู้ตามกระแสสังคม” และ “มหาวิทยาลัยต้องชี้นำสังคม เป็นแสงสว่างส่องทะลุทะลวงทางเดินของสังคม” 

บทบาทของมหาวิทยาลัยจึงต้องจัดการศึกษาชี้นำสังคม ต้องมีความสมดุลระหว่างความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิชาการระยะยาวและความต้องการของตลาดและสังคมระยะสั้น ต้องส่งเสริมให้เกิดการกระจายผู้เรียนเก่งหรือผู้เรียนที่มีสติปัญญาเลิศอยู่ในทุกศาสตร์สาขา ทำให้ทุกศาสตร์สาขาเกิดการพัฒนาเจริญก้าวหน้ารุ่งเรือง

Read More

10 บทบาทและแนวทางการสร้างความร่วมมือของภาคประชาชนกับภาครัฐและเอกชน

สถานการณ์ของการทำงานภาคประชาชนในโลกอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ภาคประชาชนต้องพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และมุ่งสู่ ‘การเปลี่ยนแปลงทางสังคม’ มากกว่า ‘การวิ่งไล่ตามแก้ไขปัญหาสังคม’

การทำงานเชิงรุกจะถูกให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำว่า “ยั่งยืน” และ “หุ้นส่วน” ถูกกำหนดเป็นวัฒนธรรมหลักและกติกาขององค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก กล่าวคือ องค์กรภาคประชาชนจะต้องสามารถเป็นทั้งที่พึ่งของสังคมและพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคง

Read More

ตัวอย่าง ?มหาปัญญาลัย? : วิชาหุ่นยนต์ภายในและภายนอกอาคารของฮาร์วาร์ด

ผมเคยนำเสนอความคิดเอาไว้ในหลายเวทีมานานหลายปีว่า การจัดการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับมหาวิทยาลัยจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้มีศาสตร์องค์ความรู้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมแต่ละยุคสมัย มหาวิทยาลัยต้องเป็นมดลูกคลอดประเทศที่พึงประสงค์ในอนาคต เป็นผู้นำทางปัญญา ทำหน้าที่ชี้ทิศนำทางสังคม เป็นแหล่งสร้างกำลังคนที่มีสมรรถนะ และสนับสนุนให้เกิดการวิจัยผลิตองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ

Read More

พัฒนาคุณภาพมนุษย์ ด้วยคุณภาพการศึกษาตามบริบทโลกอนาคต

“คุณภาพมนุษย์” เป็นตัวแปรสำคัญที่นำไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้วได้อย่างก้าวกระโดด

ประเทศพัฒนาแล้วมีการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ในระดับสูงมากเมื่อวัดโดยดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index: HDI)ที่มีตัวชี้วัด 3 ด้าน ได้แก่ อายุขัยเฉลี่ย (Life expectancy) การศึกษา (Education) และรายได้ต่อหัวประชากร (Income per capita)

ในปี 2014ประเทศ 10 อันดับแรกที่มีค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงที่สุด ล้วนเป็นสมาชิกในกลุ่มOECD ทั้งสิ้น และ เกือบทุกประเทศในกลุ่มOECD มีค่า HDI อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ในระดับสูงมาก (ยกเว้นตุรกีกับเม็กซิโกอยู่กลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ระดับสูง) โดยค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์สูงมากอยู่ที่ 0.875

Read More

สร้างสมรรถนะ จนไม่ต้องสมัครงานตลอดชีวิต

ผมเคยพูดเอาไว้ในหลายเวทีว่า

“คนที่มีสมรรถนะมากที่สุดจะไม่ต้องสมัครงานเลยตลอดชีวิต”

(เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์)

โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัตและรวดเร็ว หากเราต้องการให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในชีวิต เราจำเป็นต้องพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นครบถ้วนให้แก่ผู้เรียน ด้วยว่าการมีสมรรถนะจะช่วยเพิ่มโอกาสการมีงานทำ ทำให้ผู้เรียนของเราเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวโน้มบริบทโลกอนาคตที่การแข่งขันทางด้านแรงงานจะมิได้ขึ้นอยู่กับค่าจ้างที่ถูกอีกต่อไป แต่จะขึ้นอยู่กับคุณภาพและสมรรถนะของกำลังแรงงานเป็นสำคัญ ปัจจุบันเราเริ่มเห็นปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้บางระดับเกิดขึ้นในประเทศไทยเรา

Read More