วิสัยทัศน์ ดร. แดน : สร้าง Nation-Building University มาตรฐานฮาร์วาร์ดแห่งเอเชีย

หากเปรียบฮาร์วาร์ดเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำทางด้านการสร้างคนคุณภาพ มหาวิทยาลัยการสร้างชาติจะเปรียบได้กับมหาวิทยาลัยชั้นนำเน้นเฉพาะทางด้านการสร้างคนสู่การสร้างชาติแท้จริง

         ก่อนหน้านี้ผมเคยนำเสนอความคิด มหาวิทยาลัยการสร้างชาติ (Nation-Building University) เอาไว้ในหลายเวที อันเป็นความคิดต่อยอดมาจากสถาบันการสร้างชาติ (Nation-Building Institute) ที่ผมเป็นประธานอยู่ ณ ปัจจุบัน (ปัจจุบันเปิดการเรียนการสอนมาถึงรุ่นที่ 3 และกำลังเปิดรับสมัครรุ่นที่ 4) อันมีเป้าหมายต้องการให้เป็นมหาวิทยาลัยสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางด้านการสร้างชาติที่เหมาะสมกับศักยภาพของแต่ละบุคคล สนับสนุนการพัฒนาประเทศให้ก้าวสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและเป็นประเทศที่เจริญสูงสุดในระดับโลกในอนาคต Read More

สร้างเยาวชน “ดี เก่ง กล้า” เพื่อการสร้างชาติ

“‘การสร้างชาติ’ จะต้องเกิดมาจากความร่วมมือของประชาชนทั้งประเทศ และมีเป้าหมายในการนำประเทศให้ก้าวไปสู่ความเป็นอารยะ กล่าวคือ ไม่ได้มุ่งแก้เพียงอาการของปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่ต้องแก้ไปถึงรากของปัญหาที่อยู่เบื้องลึก”

ไม่ว่าเด็ก เยาวชน หรือผู้ใหญ่ ทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างชาติได้  โดยเฉพาะเยาวชนซึ่งเป็นกลุ่มคนสำคัญที่จะกลายเป็นกำลังหลักในอนาคตในการกำหนดทิศทางของประเทศชาติบ้านเมือง เป็นช่วงวัยที่มีพลัง มีมุมมองทัศนคติต่อประเทศและโลกที่เปิดกว้าง ก้าวทัน และว่องไวในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง เป็นทั้งผู้รับและผู้ดำเนินการพัฒนาประเทศในอนาคต Read More

Dr. Dan Can Do “4 WINs” Model : กรณีการจัดการศึกษาฮาร์วาร์ด

ผมเคยนำเสนอความคิด Dr. Dan Can Do “4 WINs” Model เอาไว้ในหนังสือ คนดีสร้างได้ : โมเดลบริบูรณ์ธรรม อันประกอบด้วย ส่วนตัว ส่วนร่วม ส่วนเรา ส่วนรวม “ชนะทุกฝ่าย” โดยพิจารณาผลประโยชน์ที่ได้ต่อ 4 กลุ่มนี้เสมอ ด้วยตระหนักว่า หากส่วนตัวชนะ ส่วนอื่น ๆ ย่อมแพ้ และในที่สุดย่อมแพ้ร่วมกัน ดังนั้น การจัดสรรผลประโยชน์ของเราควรต้องคิดแบบ ชนะ ชนะ ชนะ ชนะ ดังกล่าวนี้ อันจะส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่คงทนยั่งยืนยาวนาน เพราะสามารถสร้างสมดุลผลประโยชน์ให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง Read More

ให้อย่างอารยะ เพื่อเป็นผู้ให้ที่ยิ่งใหญ่

ผมได้อ่านบทความหนึ่งในนิตยสาร Forbes – The 400 Richest People in America ฉบับวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ.2017 เกี่ยวกับ “เศรษฐีใจบุญที่สุด” ในสหรัฐอเมริกา กล่าวคือ มีการจัดอับดับเศรษฐีที่ “ให้” มากที่สุด โดยพิจารณาจากปริมาณเงินที่ให้หรือบริจาคเป็นหลัก Read More

การศึกษาบนฐานเทคโนโลยี : ฮาร์วาร์ดใช้เทคโนโลยีช่วยจัดการศึกษา

          โลกปัจจุบันเป็นโลกยุคที่เทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้าอย่างมาก เป็นที่สนใจ และถูกนำมาใช้ในทุกแวดวง โดยความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีดังกล่าวนี้เป็นผลต่อยอดมาจากการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันเราจึงเห็นมีเทคโนโลยีร่วมสมัยและเทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยที่เทคโนโลยีดังกล่าวเหล่านี้ถูกนำมาใช้เป็นประโยชน์ ทั้งทางการแพทย์ การทหาร การคมนาคม และอื่น ๆ ในที่นี้รวมถึงทางการศึกษาด้วยเช่นเดียวกัน Read More

การศึกษาบนฐานโลกาภิวัฒน์ : กรณีการจัดการศึกษาฮาร์วาร์ดได้

ปัจจุบันเป็นโลกยุคโลกาภิวัตน์ (Globalization) เข้มข้นที่เชื่อมโยงโลกทั้งโลกเข้าไว้ด้วยกัน อันเป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านการติดต่อสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง และเทคโนโลยี ทำให้การเชื่อมโลกทั้งโลกเข้าด้วยกันสามารถทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งกว่ายุคใดในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงประมาณ 20 กว่าปีที่ผ่านมานี้มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นให้เห็นกันอย่างชัดเจนทั่วทุกมุมโลก Read More

สร้างสังคมพหุเอกานิยม : ฮาร์วาร์ดสำรวจความเห็นชนพื้นเมืองอเมริกันถูกเลือกปฏิบัติ

ผมเคยนำเสนอความคิดการสร้างเอกภาพท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายเอาไว้ในหนังสือ         สังคมพหุเอกานิยม : เอกภาพในความแตกต่างหลากหลาย โดยให้ความหมายของคำว่า “พหุเอกานิยม” (Unified Pluralistic Society) หรือสังคมที่มีเอกภาพในความหลากหลาย (Unity in Diversities) ว่า

“ภายในสังคมใหญ่หรือที่เรียกว่า “ประเทศ” นั้น แม้ว่าจะประกอบไปด้วยชนกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยจำนวนมากมาย แม้คนทุกคนมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการแตกต่างทางด้านความคิด เชื้อชาติ ลัทธินิกายของศาสนา ความเชื่อ ฐานะ อายุ วัฒนธรรม ประเพณี เพศ อาชีพ และชนชั้น ก็สามารถอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข มีอิสระในการดำเนินชีวิตตามวิถีทางของตนเอง ไม่มีความขัดแย้งหรือรังเกียจเดียดฉันท์ระหว่างกัน เป็นสังคมที่คนมีหัวใจแห่งเสรีภาพไม่ปิดกั้นผู้อื่น แต่สนับสนุนส่งเสริมกันและกันอย่างเป็นเอกภาพ” Read More

บทเรียนจากเปอร์โตริโก : จาก ประเทศรายได้สูง สู่ ประเทศล้มละลาย

ก่อนอื่นผมขอแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ภัยพิบัติจากพายุเฮอร์ริเคนทั้งในสหรัฐฯ และประเทศแถบแคริเบียน รวมถึงประเทศเปอร์โตริโก อันส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากครับ

เปอร์โตริโกมีชื่อทางการว่า เครือรัฐเปอร์โตริโก ถือเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ในฐานะ “ประเทศ” หรือในฐานะ “เครือรัฐ” (Commonwealth Status) ตั้งอยู่ในหมู่เกาะแคริเบียน ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐฯ มี GNI per Capita (Atlas US$) ณ ปี 2013 เท่ากับ 19,320 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือเป็นประเทศรายได้สูง Read More

สร้างสรรค์นวัตกรรมทางการศึกษา : สะท้อนคิดผ่านการศึกษาฮาร์วาร์ด

บริบทโลกและบริบทประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัตส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคส่วนการศึกษาที่จะต้องพัฒนาองค์ความรู้ให้ก้าวล้ำนำหน้าสนองตอบความต้องการของสังคม ทั้งนี้ด้วยว่าภาคส่วนการศึกษาเป็นภาคส่วนที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนากำลังคนและองค์ความรู้ป้อนสู่สังคม หากภาคส่วนดังกล่าวนี้สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพจะส่งผลช่วยให้การพัฒนาประเทศเกิดความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน เช่น ประเทศญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์ ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศเหล่านี้ล้วนมีระบบการศึกษาที่มีคุณภาพติดอันดับต้นของโลก เช่นเดียวกับการมีมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกสนับสนุนการพัฒนาประเทศ Read More

จำเป็นหรือไม่ที่ต้องเรียนให้ถึงระดับปริญญาเอก ?

ผมเป็นคนชอบการเรียนรู้ หากเป็นไปได้จะพยายามเข้าสัมมนาและเรียนในหลักสูตรต่างๆ อยู่เสมอ โดยเฉพาะการอ่านหนังสือที่มีสาระและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์ความรู้ในตัวเอง ผมมองว่าการยอมให้เวลาไปกับการเรียนรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ จะทำให้ชีวิตเราทำประโยชน์ได้มากขึ้น Read More