ฮาร์วาร์ดจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์ออนไลน์

ด้วยความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นแรงผลักสำคัญนำสู่การพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทางการศึกษา เช่น การพัฒนาคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพอย่างสะดวกและรวดเร็ว สนับสนุนและกระตุ้นให้คนทุกกลุ่มเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต สามารถเข้าถึงการเรียนรู้ทุกที่ ทุกเวลา เป็นต้น ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงมีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อภาคส่วนการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุคอนาคตที่ทั้งโลกต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่หลายประการ Read More

เรียนรู้ทุกคน : กรณีฮาร์วาร์ดสนับสนุนการศึกษาในเรือนจำ

ผมเคยนำเสนอความคิดมานานเกี่ยวกับการเรียนรู้ทุกคน ส่งเสริมให้ทุกกลุ่มคนสะดวกและง่ายต่อการเข้าถึงการเรียนรู้ เช่น คนปกติ – คนพิการ คนอ่อนวัย – คนวัยผู้สูงอายุ คนปัญญาเลิศ – คนปัญญาด้อย คนไทย – คนเทศ คนมีฐานะ – คนยากจน คนมีการศึกษา – คนไร้การศึกษา เป็นต้น ให้คนทุกกลุ่มที่ต้องการเรียนรู้เข้าถึงการเรียนรู้[1] มีส่วนสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน ด้วยว่าการเรียนรู้จะทำให้เกิดการต่อยอดทางความคิด ส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิชาการ และเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต Read More

การสร้างผู้นำภาคธุรกิจรุ่นใหม่เพื่อขับเคลื่อนการสร้างชาติในอนาคต (2): มิติทางความคิด

จากบทความที่แล้ว ผมได้นำเสนอพฤติกรรมและลักษณะเชิงจิตวิทยาที่สำคัญ 2 ลักษณะ จากประสบการณ์ที่ผมได้พบเจอ โดยเฉพาะในสถาบันการสร้างชาติ  ในครั้งนี้ ผมจะนำเสนออีก 2 ลักษณะที่สำคัญ ที่จำเป็นต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้ เพื่อความสำเร็จในการสร้างผู้นำรุ่นต่อไป ดังต่อไปนี้ Read More

ไอดอลที่ทำงาน : อธิการบดีฮาร์วาร์ด

สอนคนด้วย..ถ้อยคำมากมาย ไม่ยิ่งใหญ่เท่า..ลงมือทำ..เพียงครั้งเดียว”[1]

ข้อความดังกล่าวเป็นข้อคิดคำคมของผมอันกำลังสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการเป็นแบบอย่าง ทำให้ดู ซึ่งผมเคยนำเสนอความคิดดังกล่าวนี้ผ่าน “โมเดลบ้านสามหลัง” ระบุว่า แหล่งหล่อหลอมความเป็นตัวตนที่มีอิทธิพลมากที่สุดของการอยู่ร่วมกันในสังคมคือ บ้านสามหลัง ประกอบด้วย บ้านหลังที่หนึ่ง ครอบครัว มีพ่อและแม่เป็นไอดอล บ้านหลังที่สอง โรงเรียน มีครูเป็นไอดอล และที่ทำงาน มีหัวหน้างานเป็นไอดอล และบ้านหลังที่สาม มีผู้นำอุดมการณ์ทางกายภาพและผู้นำอุดมการณ์ทางจิตภาพเป็นไอดอล[2]

Read More

AIMMI model : กรณีฮาร์วาร์ดให้รางวัลผู้ให้คำปรึกษา

ผมเคยนำเสนอความคิด AIMMI Model ที่ผมคิดขึ้นว่าประกอบด้วย

A คือ Aspiration ผมเรียกว่า เป้าทะยานใจ

I คือ Inspiration หรือแรงบันดาลใจ

M ตัวแรกคือ Motivation หรือแรงจูงใจ

M ตัวที่สองคือ Motive ผมเรียกว่า มูลเหตุแห่งใจ และ

I ตัวสุดท้ายคือ Incentive ผมเรียกว่า สิ่งประสงค์ล่อใจ[1] Read More

การสร้างผู้นำภาคธุรกิจรุ่นใหม่เพื่อขับเคลื่อนการสร้างชาติในอนาคต (1): มิติวัฒนธรรมการทำงานและการเรียนรู้

ผมมีโอกาสได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อและสำนักข่าวของมาเลเซียหลายครั้งนับตั้งแต่ต้นปี หนึ่งในนั้น คือ การให้สัมภาษณ์ทางวิทยุคลื่น BFM 89.9 The Business Station เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2561 เกี่ยวกับการสร้างผู้นำภาคธุรกิจรุ่นใหม่เพื่อขับเคลื่อนการสร้างชาติในอนาคต อันเป็นประเด็นที่ควรตระหนักและให้ความสำคัญสำหรับการทำงานในยุคนี้ Read More

เสริมสร้างพลังเยาวชน : ตัวอย่างฮาร์วาร์ดจ้างงานเยาวชนช่วงฤดูร้อน

เยาวชนเป็นขุมพลังสำคัญและเป็นอนาคตของชาติ ด้วยตระหนักถึงความสำคัญในประเด็นดังกล่าวผมเคยเสนอความคิดให้มีชมรมเยาวชนสร้างชาติในโรงเรียน โดยให้เป็น ชุมชนนักคิด (Community of Thinkers) ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Actors) ชุมชนผู้ทรงอิทธิพล (Community of Influencers) และชุมชนผู้ประสบความสำเร็จ (Community of Achievers)[1] กระจายอยู่ทั่วประเทศ Read More

ตัวอย่างวิจัยแก้ปัญหาสังคม : กรณีสถาบันวิจัยโรคเอดส์ฮาร์วาร์ด

ผมเคยนำเสนอความคิดเกี่ยวกับการวิจัยแก้ปัญหาสังคมเอาไว้ในหลายเวที โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้บริบทการพัฒนาประเทศที่ต้องการองค์ความรู้เป็นพื้นฐานตอบโจทย์ความต้องการของเราเอง เป็นการทำวิจัยแบบตัดเสื้อพอดีตัว สร้างองค์ความรู้ใหม่ที่มีความเฉพาะเจาะจงกับความต้องการจำเป็นของประเทศ Read More

ประเด็นร่วมสมัย : กรณีศึกษาฮาร์วาร์ดเรื่องผู้สูงอายุ

ผมเคยนำเสนอความคิดการศึกษาบนฐานโลกาภิวัตน์หรือการเชื่อมโยงโลกทั้งโลกเข้าไว้ด้วยกันเพื่อการศึกษา เรียนรู้ และนำทรัพยากรหรือประเด็นทางการศึกษาที่แผ่ขยายหรือแพร่กระจายอย่างกว้างขวางทั่วโลกมาเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน โดยการศึกษาบนฐานโลกาภิวัตน์ดังกล่าวนี้เป็น 1 ในหลักปรัชญาการพัฒนาคน 9 ประการ[1] ของผม Read More