การปฏิวัติพลังงานทดแทนโลก

เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญไปร่วมการประชุม World Chinese Economic Forum ประจำปี 2018 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยประเด็นที่ผมรับผิดชอบดำเนินการประชุม คือ “Renewable Energy and Climate Change – Revolutionizing and Sustaining our Changing Planet” Read More

ฮาร์วาร์ดชี้คนกลางประสาน คือ ปัจจัยความสำเร็จในการสร้างความร่วมมือ

ความร่วมมือ (cooperation) เป็นประเด็นสำคัญที่ทุกภาคส่วนให้ความสนใจ ไม่ว่าจะเป็น ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม รวมถึงภาคการศึกษาด้วยเช่นเดียวกัน ปัจจุบันสถาบันการศึกษาจำนวนมากทั่วโลกส่งเสริมให้มีการสร้างความร่วมมือระหว่างกันดังกล่าวนี้ ด้วยว่าการร่วมมือกันนำสู่ผลลัพธ์มากกว่าต่างคนต่างทำ นอกจากการปฏิบัติทางด้านความร่วมมือแล้วในที่นี้ยังรวมถึงการคิดค้นพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านนี้ให้มีความเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นอีกด้วย ดังนั้นการศึกษาแง่มุมต่างๆ ที่ส่งเสริมให้การรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็งขึ้นย่อมเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในด้านต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาทางการศึกษาด้วย Read More

ฮาร์วาร์ดจัดกิจกรรมสัปดาห์ทั่วโลก (Worldwide Week)

ผมเคยนำเสนอความคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาฐานโลกาภิวัตน์ (Globalization based education) หรือการเชื่อมโยงโลกทั้งโลกเข้าไว้ด้วยกันเพื่อการศึกษา เรียนรู้และนำทรัพยากรหรือประเด็นทางการศึกษาที่แผ่ขยายหรือกระจายอย่างกว้างขวางทั่วโลกมาเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน[1] เอาไว้ในบทความก่อนหน้านี้ ด้วยตระหนักว่าปัจจุบันทั้งโลกกำลังเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์หรือโลกไร้พรมแดนเข้มข้นและสถาบันการศึกษาจำนวนมากกำลังปรับตัวเข้าสู่ยุคดังกล่าวนี้    Read More

นวัตกรรมยุทธศาสตร์การพัฒนาชนบทเพื่อการสร้างชาติ (Innovative Rural Development Strategies for Nation-Building)

เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2018 ผมในฐานะประธานสถาบันการสร้างชาติ ได้กล่าวปาฐกถาในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติว่าด้วยการสร้างชาติ ครั้งที่ 2 (ICNB 2018) ในหัวข้อเรื่อง “นวัตกรรมยุทธศาสตร์การพัฒนาชนบทเพื่อการสร้างชาติ” Read More

“ให้” อย่างมียุทธศาสตร์ : ศิษย์เก่าฮาร์วาร์ดบริจาคเงินสนับสนุนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

ผมเคยนำเสนอความคิดเกี่ยวกับการให้ 3T คือ เวลา (Time) ทรัพย์ศฤงคารเงินทอง (Treasure) และความสามารถ สมรรถนะ (Talent) เช่น ความรู้ ทักษะ ความคิด เป็นต้น เราแต่ละบุคคลควรมีส่วนนำทั้ง 3 สิ่งนี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคมส่วนรวม[1] Read More

ฮาร์วาร์ดร่วมมือวิจัยกับมหาวิทยาลัยมิชิแกนแก้ปัญหาสังคม

การสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเป็นยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาที่สำคัญประการหนึ่งในโลกยุคสมัยปัจจุบัน ด้วยว่าการร่วมมือกันจะทำให้เกิดการประสานทรัพยากรและความเชี่ยวชาญนำสู่ผลลัพธ์มากกว่าการที่แต่ละมหาวิทยาลัยต่างคนต่างทำ Read More

ความย้อนแย้งของการพัฒนาชนบท

ในวันที่ 6-8 พฤศจิกายนนี้ สถาบันการสร้างชาติ (NBI) และสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (IFD) ซึ่งผมเป็นประธาน ได้ร่วมกับ Women’s Institute of Management ของมาเลเซีย จัดการประชุมวิชาการระดับนานาชาติว่าด้วยการสร้างชาติ ครั้งที่ 2 (ICNB 2018) ในหัวข้อเรื่อง “Innovative Solutions for Rural Development to Move towards a Developed Country” ณ โรงแรมสวิสโฮเต็ล เลอ คองคอร์ด Read More

ฮาร์วาร์ดร่วมมือจัดกิจกรรมฮับวีคส่งเสริมนวัตกรรม

ปัจจุบันทั้งโลกกำลังขับเคลื่อนเข้าสู่ยุคสังคมความรู้ที่มีความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นปัจจัยสำคัญขับเคลื่อน มหาวิทยาลัยแท้จริงในฐานะองค์กรแห่งความรู้และองค์กรวิจัยนับว่ามีบทบาทสำคัญต่อการชี้ทิศนำทางพาสังคมก้าวเข้าสู่ยุคสังคมความรู้ดังกล่าวนี้ ดังจะเห็นได้จากที่ผ่านมามีความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม จำนวนมากที่บ่มเพาะต่อยอดมาจากมหาวิทยาลัย Read More

ศูนย์บ่มเพาะนักวิจัยรางวัลโนเบลในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

ผมเคยนำเสนอข้อคิดเอาไว้ว่า “การชนะทางปัญญาสำคัญกว่าการชนะทางกำลัง” แหล่งต่อยอดทางปัญญาที่ดีที่สุดคือ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจึงต้องทำบทบาทหน้าที่ในการผลิตองค์ความรู้และเตรียมกำลังคนทางด้านการวิจัยสนับสนุนการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าของประเทศ ใช้องค์ความรู้เป็นเครื่องมือชี้ทิศนำทางสังคม Read More