เลือกตั้งสหรัฐอเมริกา 2567: เหตุการณ์ระดับโลกที่ต้องจับตามอง

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในปี 2567 ที่มีขึ้นในวันที่ 5 พฤศจิกายน ถือเป็นเหตุการณ์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ไม่ใช่แค่สำหรับชาวอเมริกัน แต่ยังรวมถึงทุกประเทศทั่วโลก ด้วยบทบาทของสหรัฐฯ ในฐานะผู้นำทางเศรษฐกิจ การเมือง ความมั่นคง และเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงนโยบายต่าง ๆ หลังการเลือกตั้ง สามารถส่งผลกระทบเป็นวงกว้างไปยังทุกภูมิภาค

การเลือกตั้งในครั้งนี้ไม่เพียงแค่เป็นการเลือกผู้นำคนที่ 47 ของสหรัฐฯ แต่ยังเป็นจุดเปลี่ยนที่สามารถกำหนดทิศทางของโลกในด้านเสถียรภาพและการพัฒนาในอนาคต ประเทศต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสำคัญที่อาจเกิดขึ้น

(more…)

เฉือนป่าทับลานแก้ปัญหาพื้นที่ทับซ้อน : ยิ่งแก้ยิ่งยุ่ง?

คนไทยจำนวนมากกำลังจับตามองการประชุมคณะรัฐมนตรีที่จะมีการลงมติเกี่ยวกับการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน กว่า 2.65 แสนไร่ เพื่อนำไปจัดสรรให้ประชาชนเป็นพื้นที่ทำกิน การตัดสินใจครั้งนี้ได้จุดชนวนกระแส #SAVEทับลาน ที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็วในโลกออนไลน์ สะท้อนความกังวลของสาธารณชนต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับระบบนิเวศอันอุดมสมบูรณ์ โดยฝ่ายสนับสนุนมองว่าควรมีการแก้ปัญหาพื้นที่ทับซ้อนและรับรองสิทธิชุมชน ขณะที่ฝ่ายคัดค้านกังวลผลกระทบต่อระบบนิเวศและการแสวงประโยชน์โดยมิชอบ #SAVEทับลาน จึงเป็นทั้งการเรียกร้องอนุรักษ์ป่าและตั้งคำถามถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน แต่ก็ถูกมองว่าเป็นกระแสเขียวตกขอบ โดยอ้างว่าไม่คำนึงถึงกฎหมายและสิทธิของผู้ครอบครองที่ทำกิน คำถามคือ ทางออกของประเด็นนี้ควรเป็นอย่างไร

(more…)

ทำอย่างไรเมื่อไทยกลายเป็น “สังคมคนโสด”

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สังคมไทยกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในโครงสร้างประชากร คือการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของ “คนโสด” ปรากฏการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่เป็นแนวโน้มที่เกิดขึ้นทั่วโลก ข้อมูลจากองค์การสหประชาชาติ (UN) ระบุว่า ในปี 2023 มีคนโสดทั่วโลก 2.12 พันล้านคน หรือร้อยละ 26.5 ของประชากรทั้งหมด และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 35 ภายในปี 2030  และสำหรับประเทศไทยนั้น สถิติล่าสุดจากสภาพัฒน์ฯ   ปี 2567 ชี้ว่ามีประชากรโสดประมาณร้อยละ 23.9 ซึ่งใกล้เคียงกับประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างเดนมาร์กที่มีสัดส่วนร้อยละ 24.1 สูงที่สุดในโลก รองลงมาเป็นฝรั่งเศสร้อยละ 22.8 และฟินแลนด์ร้อยละ 19.6 เป็นต้น

(more…)

ยุติสงคราม สันติภาพโลกถาวร

สงครามอยู่คู่กับประวัติศาสตร์ของมนุษย์มาอย่างยาวนาน นับตั้งแต่มีการบันทึกเหตุการณ์สำคัญเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งพบว่า ไม่มีช่วงเวลาใดที่มนุษย์ว่างเว้นจากการทำสงคราม

ปัจจุบันสงครามและความขัดแย้งยังดำเนินอยู่มากกว่า 200 ประเทศทั่วโลก และประมาณ 30 ประเทศยังคงมีสงครามกลางเมืองอยู่ นอกจากสงครามแล้วยังมีความขัดแย้งรูปแบบอื่นอีก เช่น การชุมนุมประท้วงเรียกร้องสิทธิ์หรือประท้วงทางการเมือง ซึ่งเป็นสงครามทางความคิดที่ได้แพร่ขยายและเกิดขึ้นบ่อยครั้งมากขึ้นทั่วโลก โดยในปี 2019 เพียงปีเดียวมีการประท้วงเกิดขึ้นทุกภูมิภาคมากถึง 114 ประเทศ และตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมามีความถี่เพิ่มขึ้นทั่วโลก เฉลี่ยร้อยละ 11.5 ต่อปี

(more…)

สว. 2567 คนแบบคุณก็เป็นได้…โดยไม่ต้องใช้เงิน

ที่ผ่านมาการเมืองไทยมักเต็มไปด้วยการใช้จ่ายเงินจำนวนมหาศาลเพื่อแสวงหาอำนาจและผลประโยชน์ ตั้งแต่การซื้อสิทธิ์ขายเสียงประชาชนจนไปถึงการเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ทำให้นักการเมืองที่มีกำลังทุน เป็นผู้ได้เปรียบในเส้นทางการเข้าสู่อำนาจรัฐ การเมืองปกติจึงเป็นการเมืองที่ไม่สุจริต รวมทั้งการเลือกตั้งที่ผ่านมาก็เช่นกันที่มีการ “ยิงกระสุน” อัดฉีดเงินลงไปในแต่ละพื้นที่ และใช้สื่อ “สร้างกระแส” เอาดีเข้าตัว เอาชั่วให้คู่แข่ง สร้างพลังให้ตัวเองโดยใช้กลุ่มคนที่สนับสนุนพรรคช่วยกันสื่อสารสนับสนุนพรรคของตน เป็นกระแสที่กระจายไปได้อย่างรวดเร็ว

(more…)

ทำอย่างไรประเทศไทยไม่เสียเกาะกูดให้กัมพูชา?

เกาะกูดเป็นป่าชายเลนที่สมบูรณ์และแนวปะการังหลากชนิด ตั้งอยู่ในอ่าวไทย จังหวัดตราด เป็นเกาะแห่งน่านน้ำตะวันออกไทย ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของประเทศ มีการประเมินว่าพื้นที่บริเวณนี้อาจมีก๊าซธรรมชาติมากถึง 11 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต มูลค่ากว่า 3.5 ล้านล้านบาท น้ำมันอีก 500 ล้านบาร์เรล มูลค่า 1.5 ล้านล้านบาท

(more…)

“ที่ดิน สปก : ทำกินเพื่อเกษตรกร ไม่ใช่ ทุจริตเพื่อข้าราชการ นายทุน และนักการเมือง”

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม 2567 เวลา 19:00 น. ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้จัดรายการสดผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว (drdancando) ซึ่งเป็นการจัดรายการผ่านช่องทางนี้มาซักระยะหนึ่งโดยใช้ชื่อรายการว่า More Dan Live โดยในแต่ละครั้งก็จะหยิบเรื่องราวที่กำลังอยู่ในกระแสของสังคมมาพูดคุย

ย้อนไปวันนั้นผู้เขียนหยิบเอาประเด็น “ที่ดิน ส.ป.ก. ทำกินเพื่อเกษตรกร ไม่ใช่ ทุจริตเพื่อข้าราชการ นายทุนและ นักการเมือง” โดยใช้เวลาในการไลฟ์ครั้งนั้นประมาณ หนึ่งชั่วโมงสิบสามนาที มีผู้เข้าชมจำนวนหนึ่ง

ในบทความนี้จะได้หยิบเอาสาระสำคัญจากการจัดรายการสดในวันนั้นมาถ่ายทอดให้ผู้อ่านแฟนๆ ของ CIO World Business ได้พิจารณา ถกเถียงและพูดคุยกันอย่างมีอารยะ

ทำความเจตนารมของ พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 มาตรา 39 กำหนดเอาไว้อย่างชัดเจนว่า วัตถุประสงค์ของการออกหนังสืออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีที่ดินทำกิน ด้วยการจัดหาที่ดินของรัฐและที่ดินของเอกชนมาปฏิรูปเพื่อให้เกษตรกรที่ไม่มีที่ทำกินใช้ประโยชน์เพื่อการเกษตร

(more…)

ความสุขเกิดจากความสัมพันธ์ในชุมชนที่มีอุดมการณ์

“เส้นทางแห่งอุดมการณ์เป็นเส้นทางแห่งความสุข”

ผมนำเสนอความคิดดังกล่าวนี้ด้วยต้องการชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงกันระหว่างการมีอุดมการณ์และการมีความสุข โดยอุดมการณ์ตามนิยามของผมดังกล่าวนี้หมายถึง อุดมคติ (สิ่งดีงามที่ยึดถือ เทิดทูน) + แนวทางปฏิบัติที่สอดรับ เช่น อุดมการณ์ทางการเมือง เป็นต้น

(more…)

สร้างเยาวชนคือการลงทุนสร้างทายาทเพื่อการสร้างชาติ

“การลงทุนสร้างเยาวชนที่มีคุณภาพ 1 คนจะส่งผลเกิดเป็นผลลัพธ์ยาวนานตลอดชีวิต”

ผมนำเสนอความคิดเกี่ยวกับพลังเยาวชนเอาไว้ในหลายเวทีว่า การลงทุนกับเยาวชนเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าสูงสุด เพราะส่งผลลัพธ์ยั่งยืน ยาวนาน ก้าวข้ามกาละและเทศะ เป็นการ “ยิงปืนนัดเดียว ได้นกทุกฝูง (Minformax)” หรือ “ทำน้อยสุด ได้มากสุด”[1] ตามความคิดของผม

(more…)

Passive Outcome

เมื่อปี ค.ศ. 1997 โรเบิร์ต คิโยซากิ (Robert Kiyosaki) ตีพิมพ์หนังสือขายดีระดับตำนานที่ชื่อว่า ‘Rich Dad Poor Dad’ หรือชื่อในภาษาไทย ‘พ่อรวยสอนลูก’ เนื้อหาหลักในหนังสือเล่มนี้ได้จำแนกรายได้ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ รายได้ที่เกิดจากการลงแรงทำงาน หรือ ‘Active Income’ ซึ่งรายได้จะหยุดลง เมื่อหยุดทำงาน เช่น รายได้ของลูกจ้างและเจ้าของกิจการขนาดเล็ก ขณะที่ ‘Passive Income’ เป็นรายได้ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้เวลานอนหลับหรือแม้หยุดทำงาน เช่น รายได้ของนักลงทุนและเจ้าของกิจการขนาดใหญ่ ผู้ที่ครอบครอง Passive Income จะมีความเป็นอิสระทางการเงิน สามารถสร้างรายได้โดยไม่ขึ้นกับการทำงาน

(more…)