ผมนำเสนอความคิดเกี่ยวกับ โมเดลยุทธศาสตร์การบริหารประสิทธิสภาพ 8E หรือ Dr. Dan Can Do 8E Management Strategy Model ในหลายบทความก่อนหน้านี้ บทความครั้งนี้เช่นเดียวกันผมขอเสนอยุทธศาสตร์การบริหารประสิทธิคุณ (Esteemed–Valuableness) หรือยุทธศาสตร์การบริหารที่ขับเคลื่อนด้วยระบบคุณค่าแท้จริง อันเป็นยุทธศาสตร์สำคัญอีกยุทธศาสตร์หนึ่งของโมเดลยุทธศาสตร์การบริหารประสิทธิสภาพ 8E ของผม
Category: สะท้อนคิดจากฮาร์วาร์ด

แนวคิดประสิทธิสาร : ฮาร์วาร์ดทำสิ่งที่เป็นแก่นสาระ มีคุณค่าสูงสุด
ผมนำเสนอความคิดเกี่ยวกับ โมเดลยุทธศาสตร์การบริหารประสิทธิสภาพ 8E หรือ Dr. Dan Can Do 8E Management Strategy Model ในบทความก่อนหน้านี้ บทความครั้งนี้เช่นเดียวกันผมขอเสนอยุทธศาสตร์การบริหารประสิทธิสาร (Esthetic–Worthiness) หรือ ยุทธศาสตร์การบริหารเพื่อผลลัพธ์ที่เลอค่า อันเป็นยุทธศาสตร์ ในโมเดลยุทธศาสตร์การบริหารประสิทธิสภาพ 8E ของผม

แนวคิดประสิทธิเขต : ฮาร์วาร์ดสะท้อนแนวคิดนี้
ผมเคยนำเสนอความคิดเกี่ยวกับ โมเดลยุทธศาสตร์การบริหารประสิทธิสภาพ 8E หรือ Dr. Dan Can Do 8E Management Strategy Model เอาไว้ในบทความก่อนหน้านี้ สำหรับเป็นกรอบความคิดหรือต้นแบบการบริหารจัดแนวใหม่ให้แก่หน่วยงาน องค์กร อันจะนำสู่ผลลัพธ์ที่ยั่งยืนทะลุมิติข้ามกาลเวลา ประกอบด้วย ประสิทธิภาพ (Efficiency) ประสิทธิการ (Excellence) ประสิทธิผล (Effectiveness) ประสิทธิคุณ (Esteemed–Valuableness) ประสิทธิสาร (Esthetic–Worthiness) ประสิทธิคูณ (Exponentiality) ประสิทธิเขต (Externality) และประสิทธิกาล (Eschatonicity)

มหาวิทยาลัยผู้ชี้นำทางปัญญา : กรณีฮาร์วาร์ด
ผมเคยนำเสนอความคิดเอาไว้ในการบรรยายหัวข้อ Thailand 4.0 กับมิติสังคมศาสตร์ งานครบรอบคล้ายวันสถาปนาคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันอังคารที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมาว่า “เราต้องคิดให้จงหนักว่ามหาวิทยาลัยเป็นผู้นำทางปัญญาหรือเป็นผู้ตามกระแสสังคม” และ “มหาวิทยาลัยต้องชี้นำสังคม เป็นแสงสว่างส่องทะลุทะลวงทางเดินของสังคม”
บทบาทของมหาวิทยาลัยจึงต้องจัดการศึกษาชี้นำสังคม ต้องมีความสมดุลระหว่างความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิชาการระยะยาวและความต้องการของตลาดและสังคมระยะสั้น ต้องส่งเสริมให้เกิดการกระจายผู้เรียนเก่งหรือผู้เรียนที่มีสติปัญญาเลิศอยู่ในทุกศาสตร์สาขา ทำให้ทุกศาสตร์สาขาเกิดการพัฒนาเจริญก้าวหน้ารุ่งเรือง

ตัวอย่าง ?มหาปัญญาลัย? : วิชาหุ่นยนต์ภายในและภายนอกอาคารของฮาร์วาร์ด
ผมเคยนำเสนอความคิดเอาไว้ในหลายเวทีมานานหลายปีว่า การจัดการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับมหาวิทยาลัยจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้มีศาสตร์องค์ความรู้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมแต่ละยุคสมัย มหาวิทยาลัยต้องเป็นมดลูกคลอดประเทศที่พึงประสงค์ในอนาคต เป็นผู้นำทางปัญญา ทำหน้าที่ชี้ทิศนำทางสังคม เป็นแหล่งสร้างกำลังคนที่มีสมรรถนะ และสนับสนุนให้เกิดการวิจัยผลิตองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ

สร้างสมรรถนะ จนไม่ต้องสมัครงานตลอดชีวิต
ผมเคยพูดเอาไว้ในหลายเวทีว่า
“คนที่มีสมรรถนะมากที่สุดจะไม่ต้องสมัครงานเลยตลอดชีวิต”
(เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์)
โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัตและรวดเร็ว หากเราต้องการให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในชีวิต เราจำเป็นต้องพัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นครบถ้วนให้แก่ผู้เรียน ด้วยว่าการมีสมรรถนะจะช่วยเพิ่มโอกาสการมีงานทำ ทำให้ผู้เรียนของเราเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวโน้มบริบทโลกอนาคตที่การแข่งขันทางด้านแรงงานจะมิได้ขึ้นอยู่กับค่าจ้างที่ถูกอีกต่อไป แต่จะขึ้นอยู่กับคุณภาพและสมรรถนะของกำลังแรงงานเป็นสำคัญ ปัจจุบันเราเริ่มเห็นปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้บางระดับเกิดขึ้นในประเทศไทยเรา

สร้างสรรค์สิ่งใหม่ : ฮาร์วาร์ดส่งเสริมการคิดสร้างสรรค์
ผมนำเสนอในหนังสือ การคิดเชิงสร้างสรรค์ ว่า ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) ในภาษาไทยให้ความหมายแตกต่างกันได้ถึง 3 ความหมาย ต่างจากความหมายในภาษาอังกฤษ อันเป็นเหตุให้เกิดความสับสน ประกอบด้วย
- ความคิดสร้างสรรค์ในความหมายของ การคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ (Creative Thinking)
- ความคิดสร้างสรรค์ในความหมายของ ความคิดแง่บวก (Positive Thinking)
- ความคิดสร้างสรรค์ในความหมายของ การกระทำที่สร้างขึ้นไม่ทำลายลงหรือที่ไม่ให้ร้ายใคร (Constructive Thinking) (เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์, 2556, น. 2-3)

ม. แหล่งเสริมสร้างทักษะการทำงาน : ฮาร์วาร์ดสร้างงานแก่เด็กนักเรียน
การศึกษาของประเทศไทยเราทุกระดับตั้งแต่ยุคอดีตจนกระทั่งปัจจุบันเป็นการศึกษาที่ยังไม่สามารถมีส่วนเสริมสร้างสมรรถนะสำหรับการทำงานหรือการประกอบอาชีพให้แก่ผู้เรียนเท่าที่ควร สะท้อนให้เห็นจากแต่ละปีมีผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัย แต่ในที่นี้กลับพบว่า บางส่วนมีสมรรถนะและคุณภาพไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน อันเป็นเหตุให้เกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสถานประกอบการ อาทิ การต้องสูญเสียทรัพยากรและงบประมาณในการพัฒนาบุคลากรใหม่ เป็นต้น

ดร. แดน เสนอ ใช้เทคโนโลยีอย่างมีอุดมการณ์ที่ดี : กรณีศึกษาฮาร์วาร์ด
โลกยุคสมัยปัจจุบันและอนาคตเป็นโลกที่วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม มีความเจริญก้าวหน้าอย่างมากยิ่งกว่ายุคใดที่ผ่านมา อันเป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาการความรู้ การปฏิเสธหรือต่อต้านเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก เราจึงต้องชาญฉลาดในการอยู่ร่วมกับเทคโนโลยีและรู้จักนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ดร. แดน ชี้ผู้นำองค์กรต้องเก่งบริหาร 8E : กรณีฮาร์วาร์ด
การบริหารจัดการศึกษาที่ดีมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการบรรลุผลสำเร็จของมหาวิทยาลัย อันจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ทำให้การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเกิดผลลัพธ์อันทรงคุณค่าและคงทนยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่มหาวิทยาลัยต้องเผชิญกับการแข่งขันและความท้าทายอันเกิดจากความจำกัดทางด้านทรัพยากรที่นับวันจะทวีความสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น