การบริหารจัดการอาคารสถานที่เป็นอีกหนึ่งภารกิจที่ฮาร์วาร์ดให้ความสำคัญ ด้วยว่ามีผลกระทบทางตรงและทางอ้อมต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าด้านวิชาการและการเรียนรู้ ตลอดประวัติศาสตร์ของฮาร์วาร์ดจึงมีการริเริ่มดำเนินโครงการก่อสร้าง พัฒนา และปรับปรุงอาคารสถานที่ต่าง ๆ ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทางด้านนวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยอย่างต่อเนื่อง อันมีส่วนสำคัญที่สนับสนุนให้ฮาร์วาร์ดยังคงรักษาเอกลักษณ์การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นแนวหน้าของสหรัฐอเมริกาและเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกได้ต่อเนื่องยาวนาน
Category: สะท้อนคิดจากฮาร์วาร์ด

ดัชนีประสิทธิผล (TE Index) ภาคเอกชน ชี้ธุรกิจไทยอ่อนทักษะการเป็นผู้ประกอบการ ถึงเวลามหาวิทยาลัยไทยดูแบบฮาร์วาร์ดเรื่องสร้างทักษะนักศึกษาเป็นผู้ประกอบการ
โลกทุกวันนี้กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอย่างน้อย 3 ประการคือ การก้าวเข้าสู่สังคมความรู้ (knowledge society) ที่มีองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมขั้นสูง เป็นปัจจัยขับเคลื่อน1 กระแสโลกาภิวัตน์ (globalization) ที่เชื่อมโยงโลกทั้งโลกเข้าไว้ด้วยกัน และความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การเปลี่ยนแปลงอย่างน้อย 3 ประการดังกล่าวนี้เป็นแรงผลักขับเคลื่อนให้ประเทศต่าง ๆ ต้องเตรียมพร้อมปรับตัวเตรียมกำลังคนให้สอดคล้อง รองรับ เป็นคนคุณภาพที่สามารถอยู่รอด แข่งขันได้ ภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่หลายประเทศนำมาใช้คือ การศึกษา

นักวิจัยฮาร์วาร์ดนำเสนอ 100 รายชื่อผู้บริจาคมากที่สุดของจีน
ปัจจุบันจีนถือเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญประเทศหนึ่งของโลก และด้วยการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจดังกล่าวนี้ส่งผลทำให้จีนมีกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เป็นคนร่ำรวยหรือมหาเศรษฐีมากขึ้น อาทิ แจ็ค หม่า (Jack Ma) นักธุรกิจรุ่นใหม่เจ้าของธุรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) อาลีบาบา (Alibaba) มหาเศรษฐีอันดับต้นของจีน และเป็นเจ้าของธุรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

ฮาร์วาร์ดกับมโนทัศน์หนังสือสังคมพหุเอกานิยมของผม
ฮาร์วาร์ดเป็นมหาวิทยาลัยที่ให้ความสำคัญกับความแตกต่างหลากหลายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความแตกต่างหลากหลายของกลุ่มผู้เรียน โดยในที่นี้แต่ละปีจะมีนักเรียนนักศึกษาสติปัญญาดีเลิศทั่วโลกจำนวนมากที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าศึกษาต่อในรั้วฮาร์วาร์ด เฉพาะรุ่น 2019 (class of 2019) มีถึงร้อยละ 11.6 ที่เป็น

การแข่งขันประกวดนวัตกรรมที่ฮาร์วาร์ด
ฮาร์วาร์ดให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์นวัตกรรมและการบ่มเพาะนวัตกรรมภายในมหาวิทยาลัยอย่างจริงจัง ทำให้ที่ผ่านมาจึงมีผลิตผลของนวัตกรรมจำนวนมากออกมาจากฮาร์วาร์ด ทั้งจากนักศึกษา บุคลากรมหาวิทยาลัย รวมถึงกลุ่มศิษย์เก่า นวัตกรรมเหล่านี้ไม่เพียงก่อให้เกิดประโยชน์ต่อแวดวงการศึกษาเรียนรู้ภายในรั้วฮาร์วาร์ดเองเท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาการองค์ความรู้แก่มวลหมู่มนุษยชาติทั่วโลก เช่น นวัตกรรมองค์ความรู้ทางด้านสเต็มเซลล์และนาโนเทคโนโลยี เป็นต้น

ฮาร์วาร์ดเสนอผลสำรวจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของคนอเมริกัน ปัญญาสมาพันธ์เสนอผลสำรวจดัชนีประสิทธิผลประเทศไทย
ฮาร์วาร์ดเป็นมหาวิทยาลัยที่มีบทบาทสำคัญต่อการมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศชาติและสังคมบนพื้นฐานจุดแกร่งทางด้านวิชาการและการเป็นผู้นำทางด้านการปฏิบัติของตนเอง ตามที่ผมเคยนำเสนอในหลายบทความก่อนหน้านี้ บทความนี้ผมจะนำเสนออีกหนึ่งตัวอย่างการมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศชาติที่สำคัญของฮาร์วาร์ด นั่นคือ การสำรวจความคิดเห็นของประชาชน

ฮาร์วาร์ดสนับสนุนเงินทุนแก่องค์กร ไม่แสวงหาผลกำไรพื้นที่ออลสตันและไบร์ทตัน และแนวคิดสภาปัญญาสมาพันธ์ ?ดัชนีประสิทธิผลภาคประชาชน?
ผมเคยนำเสนอเกี่ยวกับความเป็นมหาวิทยาลัยใส่ใจสังคมและชุมชน รวมถึงการมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหลากหลายรูปแบบของฮาร์วาร์ด อันก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกทั้งต่อแวดวงวิชาการและการปฏิบัติในหลายบทความก่อนหน้านี้ ล่าสุดฮาร์วาร์ดร่วมกับเมืองบอสตัน (Boston) ได้ประกาศผลองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากกองทุนความร่วมมือฮาร์วาร์ด-ออลสตัน (Harvard Allston Partnership Fund (HAPF)) จำนวน 12 องค์กร เพื่อดำเนินกิจกรรมการพัฒนาชุมชนในบริเวณพื้นที่ออลสตันและไบร์ทตัน (Allston and Brighton)

วิทยาลัยสาธารณสุขแห่งฮาร์วาร์ดทำวิจัยอาหารกลางวันเด็กนักเรียน
ผมเคยนำเสนอความคิดเอาไว้ในหลายบทความก่อนหน้านี้เกี่ยวกับวัฒนธรรมการวิจัยสร้างองค์ความรู้ใหม่ในทุกสาขาวิชาของฮาร์วาร์ดที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ฮาร์วาร์ดเป็นแหล่งอารยธรรมองค์ความรู้ที่สำคัญของโลก โดยผลงานวิจัยของฮาร์วาร์ดที่ผลิตออกมาจำนวนมากเหล่านี้สร้างผลกระทบทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับโลก อาทิ ผลงานวิจัยล่าสุดของวิทยาลัยสาธารณสุข ที เฮช ชาน ฮาร์วาร์ด (Harvard T.H. Chan School of Public Health) ที่นำเสนอข้อมูลการค้นพบใหม่ว่า มลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุของการตายก่อนกำหนดที่เกิดขึ้นทั่วโลกกว่า 3.3 ล้านคนในแต่ละปี เป็นต้น

ฮาร์วาร์ดร่วมมือกับเมืองเคมบริดจ์จัดกิจกรรมสานสัมพันธ์ผู้อาวุโสในพื้นที่
ฮาร์วาร์ดเป็นมหาวิทยาลัยที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนเสริมสร้างและพัฒนาคนทุกกลุ่ม ทุกเพศ ทุกวัย รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุ ทั้งด้านกายภาพ จิตใจ อารมณ์ และสังคม กรณีผู้อาวุโสสูงวัยนั้นที่ผ่านมาฮาร์วาร์ดคิดริเริ่มสร้างสรรค์กิจกรรมหลากหลายรูปแบบเพื่อรองรับกลุ่มคนวัยผู้สูงอาวุโส อาทิ การจัดตั้งสถาบันเพื่อการเรียนรู้เมื่อเกษียณอายุ (Harvard Institute for Learning in Retirement) ที่เปิดโอกาสให้กลุ่มผู้อยู่ในวัยใกล้เกษียณอายุและผู้เกษียณอายุที่สนใจและต้องการแสวงหาความรู้เพิ่มเติม ได้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน เป็นต้น

ฮาร์วาร์ดสร้าง ?ความรู้สด? พบมลพิษทางอากาศฆ่าคนตาย 3.3 ล้านคนต่อปี
ฮาร์วาร์ดเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย (Research university) ที่ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนภารกิจหลักด้านการวิจัยอย่างจริงจังในรูปแบบและแนวทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนทำวิจัยผลิตองค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง โดยฮาร์วาร์ดสนับสนุนเงินทุนทำวิจัยมากกว่า 800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในแต่ละปี มีศูนย์วิจัยมากกว่า 100 ศูนย์ กระจายอยู่ตามที่ต่าง ๆ ทั้งภายในรั้วฮาร์วาร์ดเองและทั่วโลก2 รวมถึงการใช้ผลงานวิจัยและวิธีวิจัยเข้าไปอยู่ในกระบวนการเรียนการสอนและการเรียนรู้ โดยบูรณาการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการศึกษาทุกระดับตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก อาทิ การสร้างบริบทการเรียนรู้นอกห้องเรียนให้นักศึกษาได้ฝึกฝนทักษะการทำวิจัย การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงรูปแบบวิธีการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ศึกษาค้นคว้าและแสวงหาองค์ความรู้ด้วยตนเอง และการใช้การวิจัยแบบกรณีศึกษาเป็นตัวแบบในการสอน เป็นต้น