ฮาร์วาร์ดส่งเสริมการวิจัยในพื้นที่ออลสตัน

การให้ความสำคัญกับการวิจัยเป็นสิ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับมหาวิทยาลัยยุคสมัยปัจจุบันและอนาคตตามที่ผมเคยนำเสนอความคิดเอาไว้ในเวทีทางการศึกษาว่า มหาวิทยาลัยต้องทำภารกิจทั้งทางด้านการสอนและการวิจัย มหาวิทยาลัยที่ทำภารกิจทางด้านการสอนเพียงอย่างเดียวไม่มีจริง มีแต่มหาวิทยาลัยที่มีทั้งการสอนและการวิจัย[1] ด้วยว่าทั้ง 2 มีส่วนเกื้อหนุนกัน การวิจัยจะช่วยให้เนื้อหาการเรียนการสอนมีความสดใหม่และลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น Read More

ฮาร์วาร์ดพัฒนางานเชื่อมต่อด้านพันธุศาสตร์กับฐานข้อมูลขนาดใหญ่

ความเจริญก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีผลต่อการบริหารจัดการฐานข้อมูลที่มีความเจริญก้าวหน้าไปด้วย ทั้งด้านการผลิต การเข้าถึง การจัดเก็บ และการกระจายข้อมูล ซึ่งสามารถทำได้อย่างสะดวก รวดเร็ว เกิดเป็นข้อมูลขนาดใหญ่จำนวนมหาศาลที่รู้จักกันว่า big data ซึ่งข้อมูลจำนวนมหาศาลเหล่านี้หากรู้จักนำมาใช้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง Read More

ผมเสนอ AIMMI Model: ผลวิจัยฮาร์วาร์ดชี้ “รูปแบบการให้รางวัลต่างกันส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้รับต่างกัน”

ผมเคยนำเสนอความคิด AIMMI Model เอาไว้ในหลายเวทีและเคยเขียนเป็นบทความก่อนหน้านี้ ประกอบด้วย

  • A คือ Aspiration เป้าทะยานใจ
  • I คือ Inspiration แรงบันดาลใจ
  • M ตัวแรกคือ Motivation แรงจูงใจ
  • M ตัวที่สองคือ Motive มูลเหตุแห่งใจ และ
  • I ตัวสุดท้ายคือ Incentive สิ่งประสงค์ล่อใจ

Read More

ฮาร์วาร์ดชี้คนกลางประสาน คือ ปัจจัยความสำเร็จในการสร้างความร่วมมือ

ความร่วมมือ (cooperation) เป็นประเด็นสำคัญที่ทุกภาคส่วนให้ความสนใจ ไม่ว่าจะเป็น ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม รวมถึงภาคการศึกษาด้วยเช่นเดียวกัน ปัจจุบันสถาบันการศึกษาจำนวนมากทั่วโลกส่งเสริมให้มีการสร้างความร่วมมือระหว่างกันดังกล่าวนี้ ด้วยว่าการร่วมมือกันนำสู่ผลลัพธ์มากกว่าต่างคนต่างทำ นอกจากการปฏิบัติทางด้านความร่วมมือแล้วในที่นี้ยังรวมถึงการคิดค้นพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านนี้ให้มีความเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นอีกด้วย ดังนั้นการศึกษาแง่มุมต่างๆ ที่ส่งเสริมให้การรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็งขึ้นย่อมเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในด้านต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาทางการศึกษาด้วย Read More

ฮาร์วาร์ดจัดกิจกรรมสัปดาห์ทั่วโลก (Worldwide Week)

ผมเคยนำเสนอความคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาฐานโลกาภิวัตน์ (Globalization based education) หรือการเชื่อมโยงโลกทั้งโลกเข้าไว้ด้วยกันเพื่อการศึกษา เรียนรู้และนำทรัพยากรหรือประเด็นทางการศึกษาที่แผ่ขยายหรือกระจายอย่างกว้างขวางทั่วโลกมาเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน[1] เอาไว้ในบทความก่อนหน้านี้ ด้วยตระหนักว่าปัจจุบันทั้งโลกกำลังเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์หรือโลกไร้พรมแดนเข้มข้นและสถาบันการศึกษาจำนวนมากกำลังปรับตัวเข้าสู่ยุคดังกล่าวนี้    Read More

“ให้” อย่างมียุทธศาสตร์ : ศิษย์เก่าฮาร์วาร์ดบริจาคเงินสนับสนุนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์

ผมเคยนำเสนอความคิดเกี่ยวกับการให้ 3T คือ เวลา (Time) ทรัพย์ศฤงคารเงินทอง (Treasure) และความสามารถ สมรรถนะ (Talent) เช่น ความรู้ ทักษะ ความคิด เป็นต้น เราแต่ละบุคคลควรมีส่วนนำทั้ง 3 สิ่งนี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคมส่วนรวม[1] Read More

ฮาร์วาร์ดร่วมมือวิจัยกับมหาวิทยาลัยมิชิแกนแก้ปัญหาสังคม

การสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเป็นยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาที่สำคัญประการหนึ่งในโลกยุคสมัยปัจจุบัน ด้วยว่าการร่วมมือกันจะทำให้เกิดการประสานทรัพยากรและความเชี่ยวชาญนำสู่ผลลัพธ์มากกว่าการที่แต่ละมหาวิทยาลัยต่างคนต่างทำ Read More

ฮาร์วาร์ดร่วมมือจัดกิจกรรมฮับวีคส่งเสริมนวัตกรรม

ปัจจุบันทั้งโลกกำลังขับเคลื่อนเข้าสู่ยุคสังคมความรู้ที่มีความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นปัจจัยสำคัญขับเคลื่อน มหาวิทยาลัยแท้จริงในฐานะองค์กรแห่งความรู้และองค์กรวิจัยนับว่ามีบทบาทสำคัญต่อการชี้ทิศนำทางพาสังคมก้าวเข้าสู่ยุคสังคมความรู้ดังกล่าวนี้ ดังจะเห็นได้จากที่ผ่านมามีความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม จำนวนมากที่บ่มเพาะต่อยอดมาจากมหาวิทยาลัย Read More

ศูนย์บ่มเพาะนักวิจัยรางวัลโนเบลในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

ผมเคยนำเสนอข้อคิดเอาไว้ว่า “การชนะทางปัญญาสำคัญกว่าการชนะทางกำลัง” แหล่งต่อยอดทางปัญญาที่ดีที่สุดคือ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจึงต้องทำบทบาทหน้าที่ในการผลิตองค์ความรู้และเตรียมกำลังคนทางด้านการวิจัยสนับสนุนการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าของประเทศ ใช้องค์ความรู้เป็นเครื่องมือชี้ทิศนำทางสังคม Read More

จัดการศึกษาสร้างผลกระทบเชิงผลลัพธ์ : กรณี Harvard Campaign

การดำเนินกิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยนอกจากการคำนึงถึงผลผลิตที่เกิดขึ้น เช่น จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวนโครงการที่ทำสำเร็จ แล้ว การคำนึงถึงผลลัพธ์ควรเป็นความสำคัญอันดับแรกของการดำเนินกิจกรรมหรือโครงการ เช่น การมีส่วนช่วยแก้ปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น เป็นต้น มิฉะนั้นแม้การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมจะมีผลผลิตเกิดขึ้นจำนวนมาก แต่อาจไม่สามารถบรรลุผลลัพธ์ตามที่ต้องการได้ Read More