ผมได้อ่านบทความหนึ่งในนิตยสาร Forbes – The 400 Richest People in America ฉบับวันที่ 14 พฤศจิกายน ค.ศ.2017 เกี่ยวกับ “เศรษฐีใจบุญที่สุด” ในสหรัฐอเมริกา กล่าวคือ มีการจัดอับดับเศรษฐีที่ “ให้” มากที่สุด โดยพิจารณาจากปริมาณเงินที่ให้หรือบริจาคเป็นหลัก Read More
Category: ดร.แดน มองต่างแดน
บทเรียนจากเปอร์โตริโก : จาก ประเทศรายได้สูง สู่ ประเทศล้มละลาย
ก่อนอื่นผมขอแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ภัยพิบัติจากพายุเฮอร์ริเคนทั้งในสหรัฐฯ และประเทศแถบแคริเบียน รวมถึงประเทศเปอร์โตริโก อันส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากครับ
เปอร์โตริโกมีชื่อทางการว่า เครือรัฐเปอร์โตริโก ถือเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ในฐานะ “ประเทศ” หรือในฐานะ “เครือรัฐ” (Commonwealth Status) ตั้งอยู่ในหมู่เกาะแคริเบียน ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐฯ มี GNI per Capita (Atlas US$) ณ ปี 2013 เท่ากับ 19,320 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือเป็นประเทศรายได้สูง Read More
จำเป็นหรือไม่ที่ต้องเรียนให้ถึงระดับปริญญาเอก ?
ผมเป็นคนชอบการเรียนรู้ หากเป็นไปได้จะพยายามเข้าสัมมนาและเรียนในหลักสูตรต่างๆ อยู่เสมอ โดยเฉพาะการอ่านหนังสือที่มีสาระและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์ความรู้ในตัวเอง ผมมองว่าการยอมให้เวลาไปกับการเรียนรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ จะทำให้ชีวิตเราทำประโยชน์ได้มากขึ้น Read More
นวัตกรรมยุทธศาสตร์การออกแบบกติกาสังคมเชิงระบบ: (1) การคิดครบระบบ
“ระบบที่ดี คือ ระบบที่ทำให้คนชั่วทำดีโดยไม่รู้ตัว”
เป็นนิยามที่ผมได้จาการตลกผลึกมาหลายสิบปี ด้วยเพราะระบบที่ดีต้องถูกออกแบบเพื่อป้องกันไม่ให้คนเกเรทำสิ่งไม่ดี หรือทำให้เกิดความไม่คุ้มค่าที่จะกระทำผิดหรือไม่ถูกต้อง เช่นเดียวกับการออกแบบกติกาสังคม ที่ไม่ได้ออกแบบเพื่อเอื้อคนดี เพราะคนดีทำดีอยู่แล้วแม้ไม่มีระบบ Read More
นวัตกรรมยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการแพทย์เพื่อการสร้างชาติ: ประเทศจอร์แดน
รายงานที่จัดทำโดย VISA และ Oxford Economics ระบุว่า แนวโน้มมูลค่าตลาดในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและการแพทย์ของโลก จะพุ่งทะยานจาก 4.39 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2015 เป็น 3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2025 โดยมีอัตราการเติบโตถึงร้อยละ 25 ต่อปี ในอีกเกือบ 10 ปีข้างหน้านี้
รายงานดังกล่าวยังคาดการณ์ว่า จำนวนคนเดินทางไปรับการบริการทางสุขภาพระหว่างประเทศ จะมีสัดส่วนถึงร้อยละ 75 ของประชากรโลก โดยนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุมีกว่าร้อยละ 13 ของนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศทั่วโลก ทำให้หลายประเทศหันมาให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมนี้ ประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน Read More
ถอดบทเรียน: อะไรคือปัจจัยสำคัญในความสำเร็จของประเทศชั้นนำด้านนวัตกรรมของโลก?
ทำไมประเทศสวิสเซอร์แลนด์เป็นอันดับ 1 ตามการจัดอันดับ Global Innovation Index
ทั้งที่เป็นประเทศเล็กบนเทือกเขาแอลป์ ไม่มีทางออกทะเล ขาดแคลนทรัพยากร ?
ในศตวรรษที่ 18 ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ยังมีแค่วัวกับแกะ แต่ปัจจุบัน กลับเป็นประเทศที่มีการจดสิทธิบัตรต่อประชากรอันดับ 1 ของโลก โดยภาคธุรกิจเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการสร้างนวัตกรรม Read More
‘การสร้างชาติ’…การกระทำร่วมกันของประชาชนทั้งประเทศ
มีใครได้ตอบคำถามท่านนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา บ้างหรือยังครับ?
เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา ท่านนายกฯ ได้ถามคำถาม 4 ข้อกับประชาชนเกี่ยวกับเลือกตั้งว่า
1. ท่านคิดว่าเลือกตั้งครั้งต่อไปจะได้รัฐบาลที่มีธรรมาภิบาลหรือไม่?
2. หากไม่ได้จะทำอย่างไร ?
3. การเลือกตั้งเป็นส่วนสำคัญของประชาธิปไตย แต่การเลือกตั้งอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงอนาคตประเทศ เช่น ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปนั้น ถูกต้องหรือไม่?
4. ท่านคิดว่ากลุ่มนักการเมืองที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ควรมีโอกาสเข้ามาสู่การเลือกตั้งอีกหรือไม่ หากเข้ามาได้แล้วจะให้ใครแก้ไข และแก้ไขด้วยวิธีอะไร?
ในมุมมองของผม คำถาม 4 ข้อ สะท้อนความกังวลต่ออนาคตประเทศที่ต้องฝากไว้ในมือนักการเมือง
สร้างสังคมปัญญานิยม: นวัตกรรมการสร้างคนเพื่อการสร้างชาติ
ประเทศไทยมีปัญหาความเหลื่อมล้ำค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเป็นความเหลื่อมล้ำทางรายได้ การศึกษา การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน สวัสดิภาพและสวัสดิการทางสังคม รวมไปถึง “ความเหลื่อมล้ำทางปัญญา”
ผมคิดว่า ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยจะต้องพัฒนาและสร้างสังคมปัญญานิยมให้เกิดขึ้นให้ได้ โดยเริ่มต้นจากเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร เพราะประเทศต่างๆ ทั่วโลกเกิดการพัฒนาอย่างก้าวไกลในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม หากประเทศไทยยังนิ่งเฉย จะยิ่งทำให้เกิดช่องว่างความแตกต่างด้านสังคมแห่งปัญญาระหว่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ
10 บทบาทและแนวทางการสร้างความร่วมมือของภาคประชาชนกับภาครัฐและเอกชน
สถานการณ์ของการทำงานภาคประชาชนในโลกอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ภาคประชาชนต้องพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และมุ่งสู่ ‘การเปลี่ยนแปลงทางสังคม’ มากกว่า ‘การวิ่งไล่ตามแก้ไขปัญหาสังคม’
การทำงานเชิงรุกจะถูกให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คำว่า “ยั่งยืน” และ “หุ้นส่วน” ถูกกำหนดเป็นวัฒนธรรมหลักและกติกาขององค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก กล่าวคือ องค์กรภาคประชาชนจะต้องสามารถเป็นทั้งที่พึ่งของสังคมและพึ่งพาตนเองได้อย่างมั่นคง
พัฒนาคุณภาพมนุษย์ ด้วยคุณภาพการศึกษาตามบริบทโลกอนาคต
“คุณภาพมนุษย์” เป็นตัวแปรสำคัญที่นำไปสู่การเป็นประเทศพัฒนาแล้วได้อย่างก้าวกระโดด
ประเทศพัฒนาแล้วมีการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ในระดับสูงมากเมื่อวัดโดยดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index: HDI)ที่มีตัวชี้วัด 3 ด้าน ได้แก่ อายุขัยเฉลี่ย (Life expectancy) การศึกษา (Education) และรายได้ต่อหัวประชากร (Income per capita)
ในปี 2014ประเทศ 10 อันดับแรกที่มีค่าดัชนีการพัฒนามนุษย์สูงที่สุด ล้วนเป็นสมาชิกในกลุ่มOECD ทั้งสิ้น และ เกือบทุกประเทศในกลุ่มOECD มีค่า HDI อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ในระดับสูงมาก (ยกเว้นตุรกีกับเม็กซิโกอยู่กลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์ระดับสูง) โดยค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนามนุษย์สูงมากอยู่ที่ 0.875