การสร้างผู้นำภาคธุรกิจรุ่นใหม่เพื่อขับเคลื่อนการสร้างชาติในอนาคต (1): มิติวัฒนธรรมการทำงานและการเรียนรู้

ผมมีโอกาสได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อและสำนักข่าวของมาเลเซียหลายครั้งนับตั้งแต่ต้นปี หนึ่งในนั้น คือ การให้สัมภาษณ์ทางวิทยุคลื่น BFM 89.9 The Business Station เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2561 เกี่ยวกับการสร้างผู้นำภาคธุรกิจรุ่นใหม่เพื่อขับเคลื่อนการสร้างชาติในอนาคต อันเป็นประเด็นที่ควรตระหนักและให้ความสำคัญสำหรับการทำงานในยุคนี้ Read More

อนาคตของอสังหาริมทรัพย์

เมื่อเดือนที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญจากสมาคมการค้าอสังหาริมทรัพย์และพันธมิตร ให้เป็นประธานเปิดงาน Real Tech # 2 By REP  Smart City for Life ซึ่งเป็นงานจัดแสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผมได้กล่าวปาฐกถา เรื่อง “The future of real estate” หรืออนาคตของอสังหาริมทรัพย์ Read More

โรฮิงญา: ช่วยเหลือได้ด้วยมนุษยธรรมอย่างชาญฉลาด

นับตั้งแต่ชาวโรฮิงญาอพยพออกจากรัฐยะไข่ ในเมียนมา หรือจากค็อกซ์ บาซาร์ บังกลาเทศ ในห้วงปี 2558 และมีการยุติไประยะหนึ่ง จนกระทั่งช่วงต้นเดือนเมษายน 2561 นี้ ได้มีชาวโรฮิงญาหนีออกจากถิ่นฐานเดิมมายังประเทศไทยโดยทางเรืออีกครั้ง หลังจากรัฐบาลเมียนมาเริ่มกวาดล้างชาวโรฮิงญาขนานใหญ่ในเดือนสิงหาคม 2560 จนมีชาวโรฮิงญาอพยพไปยังประเทศบังกลาเทศราว 600,000 – 700,000 คน ขณะเดียวกันบังกลาเทศเรียกร้องโลกกดดันเมียนมารับโรฮิงญากลับประเทศ Read More

แนวโน้มการเงินการธนาคารในศตวรรษที่ 21 (3): มุ่งเน้นการบริการเฉพาะบุคคล และการใช้เครื่องจักรแทนคนมากขึ้น

โลกกำลังอยู่ในสังคมข้อมูลข่าวสารคาบเกี่ยวกับสังคมความรู้ ผู้ที่สามารถจัดการข้อมูลและเปลี่ยนข้อมูลเป็นความรู้ ย่อมมีความได้เปรียบเพราะการประยุกต์ใช้ความรู้จะนำไปสู่การต่อยอดทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม ดังจะเห็นได้จากการนำเครื่องจักร หุ่นยนต์ และปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาทำงานแทนมนุษย์มากขึ้น Read More

โอกาสของอาเซียนภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี

ปัจจุบัน ทั่วโลกกำลังเผชิญกับ Digital Disruption หรือการทำลายล้างสิ่งเก่า ๆ ออกไปด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เนื่องจากเทคโนโลยีด้านดิจิทัลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รุนแรง และกว้างขวาง ส่งผลกระทบไปทุกแวดวง ทั้งการค้า การทำธุรกิจ การผลิต การใช้ชีวิต การใช้จ่าย พักผ่อน การศึกษา ฯลฯ Read More

แนวโน้มของการเงินการธนาคารในศตวรรษที่ 21 (1)

ปัจจุบัน ระบบการเงินการธนาคาร กำลังเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญ การพัฒนาทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางการเงิน (Fin Tech) จะสร้างผลกระทบอย่างรุนแรง ต่อระบบการเงินการธนาคารของไทยและของโลก และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวิถีการดำเนินชีวิต
ผมได้สรุปแนวโน้มไว้ 6 ประการ แต่ในบทความนี้จะขอนำเสนอ 2 ประการแรก ดังต่อไปนี้ Read More

ความรักกับการสร้างชาติ – อารยะรักสร้างชาติ

ข้อมูลจากธนาคารโลก บ่งชี้ว่า ประเทศที่ประชาชนมีความรักชาติมากจะมีการคอร์รัปชันต่ำ ประชาชนจะสนใจเพื่อนร่วมชาติ และไม่ละเมิดกฎหมาย สิทธิของผู้อื่น ส่งผลให้ประชาชนมีความสุข โดยคนที่ทำร้ายสังคมหรือคอร์รัปชันจะถูกต่อต้านและคว่ำบาตร

ในทางตรงกันข้าม ประชาชนที่ไม่รักชาติ จะทำลายซึ่งกันและกัน เพื่อประโยชน์ส่วนตัว ไม่สนใจเรื่องการฉ้อฉล กลโกง และความพินาศของประเทศ พฤติกรรมดังกล่าวย่อมนำไปสู่ความไม่ไว้วางใจ และความไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ซึ่งส่งผลร้ายต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศโดยตรง

การรักชาติ นับเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อการสร้างชาติ คำถามสำคัญ คือ ควรรักชาติอย่างไร และความรักแบบใดที่นำไปสู่การสร้างชาติที่แท้จริง

โดยทั่วไป ความรักมีหลากหลายนิยามและรูปแบบ ส่วนมากจะเป็นการอธิบายและพรรณนาถึงลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน แต่ความรักที่จะนำการสร้างชาตินั้น จำเป็นต้องใช้ “ความรักแท้”

ความรักแท้ ตามมุมมองของผม คือ ความรักที่มีความอารยะ หรือที่ผมเรียกว่า “อารยะความรัก” ซึ่งผมให้นิยามอย่างเข้าใจง่าย ๆ ว่า

“การให้ตนเองแก่คนอื่น/สิ่งอื่น ทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต

เพราะเห็นคุณค่า โดยยึดความอารยะเป็นศูนย์กลาง”

อารยะความรัก ประกอบด้วย 2 เกณฑ์ คือ

(1) เกณฑ์จำเป็น คือ ความดี เห็นแก่คนอื่นก่อนตนเอง เห็นคุณค่าคนอื่นมากกว่าตนเอง ถ้าเห็นแก่ตัวเองก่อน ไม่ใช่ความรัก

(2) เกณฑ์ที่เพียงพอ ประกอบไปด้วย จิต ใจ และ กาย คือ

“จิต” หมายถึง การเห็นคุณค่าคนอื่นทางอุดมคติ มีสำนึกเห็นคุณค่าคนอื่นทางอุดมคติของคนนั้น

“ใจ” หมายถึง การเห็นคุณค่าจนเกิดอุดมารมณ์ คือ อารมณ์ที่ผูกพันไปกับสิ่งที่เห็นคุณค่าในคนนั้น

“กาย” หมายถึง การแสดงอุดมการณ์ทางกาย กล่าวคือ การเห็นคุณค่าจนปฏิบัติต่อคนนั้นให้สมกับอุดมคติและอุดมารมณ์ที่มี

ระดับแห่งความรัก พิจารณาจาก การให้ 3T ได้แก่

Time – ให้เวลา
Treasures – ให้ทรัพย์ศฤงคาร และ
Talents – ให้ความสามารถ

ทั้งนี้ การให้เป็นเครื่องมือที่แสดงออกภายนอก ที่แสดงถึงสิ่งที่อยู่ภายใน การให้ไม่ได้วัดที่ปริมาณที่ให้ แต่วัดที่ปริมาณที่เทียบกับสิ่งที่ตัวเองมี ไม่ว่าจะเป็นเวลา ทรัพย์ หรือความสามารถ บางคนอาจให้น้อยกว่าคนอื่นในเชิงปริมาณ แต่ให้มากกว่าในเชิงสัดส่วน

การให้ความรักจะต้องมีความ ‘สอดคล้อง สอดสม สอดรับ’ กล่าวคือ

สอดคล้อง (Coherent) ให้ทั้งต่อหน้าและลับหลัง และสอดคล้องทั้งความคิด คำพูด และการกระทำ

สอดสม (Congruent) ทั้งความคิด คำพูด และการกระทำ เป็นไปตาม ทฤษฎีหลักหมุดของผม (Pivot Theory) กล่าวคือ มีความสอดสมตลอดทาง ตั้งแต่หลักปรัชญา หลักคิด หลักวิชา หลักการ และหลักปฏิบัติ

สอดรับ (consistent) หมายถึง ให้ความรักอย่างคงเส้นคงวา เมื่อแสดงออกว่าเป็นคนเช่นไร ก็จะเป็นเช่นนั้น ตลอดเวลา(กาละ) ตลอดทาง(เทศะ) ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาหรือบริบทที่เปลี่ยนไป

การสร้างชาติด้วยความรัก ต้องเริ่มต้นด้วยการรักชาติอย่างอารยะ

รักชาติ (Patriotism) ไม่ใช่ คลั่งชาติ (Chauvinism)

รักชาติ คือ การที่คนในชาติรู้จักสร้างผลประโยชน์เพื่อชาติ ใช้สติปัญญา รู้จักนำข้อดีของชาติหรือของรัฐอื่นมาประยุกต์ใช้ และรู้ข้อด้อยของชาติตน เพื่อทำการแก้ไข อันจะนำมาซึ่งความเจริญของบ้านเมืองสืบไป

คลั่งชาติ คือ การที่คนในชาติคิดว่า ชาติของตนนั้นดีที่สุด ประเสริฐที่สุด ทำสิ่งใดก็ถูกทั้งหมด มีความภาคภูมิใจในชาติของตน รักแต่ชาติของตน จนกลายเป็นความ “หยิ่งยะโส” เกิดการดูถูกเหยียดหยามคนกลุ่มอื่น และมักพัฒนาไปสู่ความเกลียดชัง และตามมาด้วยการรบราฆ่าฟันกันคนที่แตกต่างจากชาติของตน

ความคลั่งชาติ มักเกิดจากการปลุกระดมจากผู้นำ ให้เกิดความรู้สึก “ชาตินิยม” ประชาชนจะถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการจัดการศัตรู กำจัดคนที่ไม่เห็นด้วย หรือรุกรานผู้อื่นเพื่อสร้างจักรวรรดิ แย่งชิงผลประโยชน์เพื่อตนเอง

รัก “คนทุกคน” ในชาติ ไม่ใช่ รักแผ่นดินแต่ไม่สนใจชีวิตมนุษย์

ความรักชาติ ไม่ได้หมายถึง การหวงแหนทรัพยากร การรักษาดินแดน แต่ปล่อยให้คนในชาติลำบากยากจน ความรักแบบอารยะจะให้ความสำคัญกับคนทุกคนในชาติ เพราะคนมีคุณค่าสูงสุด มากกว่าวัตถุสิ่งของหรือทรัพย์สินใด ๆ

ดังนั้น ไม่ว่าคนในแผ่นดินไทยจะมีความแตกต่างกันในเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม แต่ทุกคนคือคนไทยเหมือนกัน และสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีเอกภาพ ในฐานะพลเมืองในขอบเขตรัฐชาติเดียวกัน

ความรักซึ่งกันและกันจะก่อให้เกิดพลังแห่งความสามัคคี การช่วยเหลือเกื้อกูล การเห็นแก่ส่วนรวม และการเสียสละเพื่อประโยชน์ของประเทศ

รักชาติที่ “สมดุล” ระหว่าง การคำนึงถึง “ชาติ” และ “มนุษยชาติ”

หมายถึง ไม่รักชาติแบบเห็นแก่ตัว หรือเห็นแก่ประโยชน์ของชาติตัวเอง หรือคำนึงถึงแต่กลุ่มของตนเอง ความรักชาติแบบอารยะที่ขับเคลื่อนการสร้างชาติ จะต้องประกอบด้วย ความรักคนในชาติ และความรักที่มีต่อมนุษยชาติเป็นสำคัญ

ทุกคนต้องสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีภราดรภาพ และต้องไม่มีใครอดอยากยากจน ไม่มีใครถูกกดขี่ข่มเหง ถูกเอารัดเอาเปรียบ ขาดโอกาส หรือได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม

ดังตัวอย่าง ทัศนคติที่สะท้อนความรักและภราดรภาพของคนในประเทศเซเนกัล กล่าวคือ ในการสำรวจประเทศในกลุ่มซับซาฮาร่าทั้งหมด เซเนกัลเป็นประเทศที่ประชาชนมองว่า ชาวคริสเตียนมีอันตรายในระดับต่ำที่สุด (ร้อยละ 2) ทั้งที่เซเนกัลมีประชากรชาวมุสลิมกว่าร้อยละ 90 ของประชากรทั้งหมด แต่ชาวมุสลิมในเซเนกัลกว่าร้อยละ 92 ต่างมีทัศนคติเชิงบวกกับคริสเตียน ซึ่งนับเป็นอัตราส่วนที่สูงที่สุด ด้วยเหตุนี้ ประเทศเซเนกัลจึงเป็นประเทศที่มีเอกภาพในด้านศาสนา

ประเทศชาติไม่สามารถอยู่ได้อย่างมั่นคง ถ้าคนในชาติไม่มีสำนึกในความเป็นชาติและไม่มีความรักคนในชาติของตน ซึ่งความรักและภราดรภาพของคนในประเทศ ดังตัวอย่างประเทศเซเนกัลเป็นเพียงหนึ่งในหลายปัจจัยการสร้างชาติ หากประเทศไทยทำได้ย่อมทำให้เกิดการสร้างชาติที่เข้าใกล้สู่ความอารยะมากขึ้น

ความรักชาติอย่างอารยะ จะทำให้เกิดการคำนึงถึงส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว ทำให้คนมองไกลไปกว่า “ข้ามาคนเดียว” หรือเห็นแก่ประโยชน์ของตนเองฝ่ายเดียว แต่เริ่มคำนึงคนอื่นในกลุ่ม คำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมในการอยู่ร่วมกัน ก่อให้เกิดพลังแห่งความเป็นเอกภาพ ความสามัคคี การช่วยเหลือเกื้อกูล สนับสนุนกัน และพร้อมเสียสละตนเองเพื่อประโยชน์ของชาติ

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ : ดร.แดน มองต่างแดน

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ประธานสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา (IFD)
kriengsak@kriengsak.com, http://www.kriengsak.com

การพัฒนานวัตกรรมที่สร้างผลกระทบ (Impact Innovation)

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2560 ผมได้รับเชิญไปบรรยายในการประชุมวิชาการด้านการบริหารธุรกิจระดับชาติและนานาชาติ ปี 2560 (Business Administration National and International Conferences 2017) ซึ่งจัดโดยคณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัย  ราชภัฏอุบลราชธานี ภายใต้หัวข้อ ‘ผลกระทบของนวัตกรรมต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก’ ผมจึงขอแบ่งปันถึงสิ่งที่ได้นำเสนอในงานประชุมครั้งนี้

เป็นที่ทราบกันดีว่า ความจำเป็นของนวัตกรรมต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกในอนาคตมีมากมายหลายประการ โดยเฉพาะการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการสร้างความแตกต่างหรืออัตลักษณ์ของสินค้าและบริการ เพราะยุคนี้เป็นยุคแห่งนวัตกรรม Read More

ความจำเป็นของนวัตกรรมต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก

ผมได้นำทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชั่นการผลิต (Production Function) มาจับประวัติศาสตร์อารยธรรมโลก ตั้งแต่ยุคบรรพกาล จนถึงปัจจุบัน และคาดการณ์ไปยังอนาคต สร้างเป็นทฤษฎี “การเปลี่ยนผ่านทางสังคม: คลื่นอารยะ 7 ลูก” ซึ่งอยู่ในหนังสือสยามอารยะ แมนนิเฟสโต ได้แก่ Read More

สร้างเยาวชน “ดี เก่ง กล้า” เพื่อการสร้างชาติ

“‘การสร้างชาติ’ จะต้องเกิดมาจากความร่วมมือของประชาชนทั้งประเทศ และมีเป้าหมายในการนำประเทศให้ก้าวไปสู่ความเป็นอารยะ กล่าวคือ ไม่ได้มุ่งแก้เพียงอาการของปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แต่ต้องแก้ไปถึงรากของปัญหาที่อยู่เบื้องลึก”

ไม่ว่าเด็ก เยาวชน หรือผู้ใหญ่ ทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างชาติได้  โดยเฉพาะเยาวชนซึ่งเป็นกลุ่มคนสำคัญที่จะกลายเป็นกำลังหลักในอนาคตในการกำหนดทิศทางของประเทศชาติบ้านเมือง เป็นช่วงวัยที่มีพลัง มีมุมมองทัศนคติต่อประเทศและโลกที่เปิดกว้าง ก้าวทัน และว่องไวในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง เป็นทั้งผู้รับและผู้ดำเนินการพัฒนาประเทศในอนาคต Read More