One Belt and One Road : โอกาสและอุปสรรคสำหรับอาเซียน

ผมได้รับเชิญไปบรรยายในการประชุมพลังงาน ทรัพยากร และการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งจัดโดย BOAO Forum for Asia และ Asian Strategy and Leadership Institute ที่ประเทศมาเลเซีย หัวข้อหลักของการประชุมในปีนี้ คือ “One Belt and One Road” & Asian Energy/Resources Cooperation”
“One Belt and One Road” (OBOR) เป็นความริเริ่มของรัฐบาลจีน ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อรื้อฟื้นเส้นทางสายไหมในอดีต ซึ่งเชื่อมโยงทวีปเอเชีย ยุโรป และแอฟริกาเส้นทางสายไหมประกอบด้วย 2 เส้นทาง คือ เส้นทางทะเล (the Maritime silk road) และเส้นทางบก (the Silk Road Economic Belt)

Read More

‘ธนาคารน้ำ’ ทางเลือกใหม่ต้านภัยแล้ง

สำนักข่าวไทย (Thai News Agency) รายงานว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี 2540 และ 2541ทำให้ผู้คนเสียชีวิตประมาณ 2,000 คน และสร้างความเสียหายทั่วโลกประมาณ 30-37 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับประเทศไทยซึ่งเกิดเอลนีโญรุนแรงที่สุดในปี 2541 เช่นกัน ทางรัฐบาลต้องชดเชยความเสียหายทางเกษตรกรรมเป็นมูลค่าถึง 1,500 ล้านบาท

Read More

เนเธอร์แลนด์…ต้นแบบความรู้และนวัตกรรมทางการเกษตร

เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2558 ที่ผ่านมา ประเทศเนเธอร์แลนด์กับธนาคารโลก (World Bank Group) ร่วมลงนามในข้อตกลง “Food for All” เพื่อเพิ่มพูนความรู้ สนับสนุนการสร้างงาน และ การช่วยเหลือกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาให้มีความมั่นคงในการพัฒนาเศรษฐกิจภาคการเกษตรได้อย่างยาวนานและยั่งยืน

Read More

ความท้าทายที่มีต่อภูฏาน และ GNH

         ประเทศภูฏานมีชื่อเสียงในแง่ของการเป็นประเทศแถวหน้า ที่ได้รับการจัดอันดับว่ามีความสุขที่สุดในโลกและเป็นต้นแบบของการใช้ดัชนีความสุขมวลรวมประชาชาติ หรือ Gross National Happiness (GNH) วัดความเจริญก้าวหน้าของการพัฒนาประเทศ

         ในความคิดเดิมของผม ภาพลักษณ์ของภูฏานเป็นประเทศที่ประชาชนมีความสมถะตามหลักศาสนา ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่พอเพียง ไม่ติดกับดักวัตถุนิยม และรักษาวัฒนธรรมดั้งเดิมอันดีงาม บ้านเมืองมีความสงบสุข ปลอดภัย สะอาด และมีสภาพแวดล้อมที่ดี

Read More

ภาคเกษตรกับการก้าวไปสู่ประเทศรายได้สูง

หลายประเทศกำลังติดกับดักรายได้ปานกลาง (Middle income trap) ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยด้วย กล่าวคือ ประเทศเหล่านี้ไม่สามารถขยับไปเป็นประเทศรายได้สูง แม้จะสามารถสร้างรายได้จากการพัฒนาอุตสาหกรรมและการส่งออก จนทำให้ประชาชนในประเทศมีความกินดีอยู่ดีขึ้นในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่สามารถพัฒนาไปสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูง (high income countries) ได้ เนื่องจากเหตุที่ขาดแนวทางที่เหมาะสมหลายประการในการพัฒนาขีดความสามารถในภาคการผลิต บริการ และเกษตรของตน 

Read More

อินเดีย…ยักษ์ตื่นแห่งเอเชีย

ข้อมูลใน Wealth Report ปี 2012 จัดทำโดย ไนท์ แฟรงค์ (Knight Frank) และ ซิตี้ ไพรเวท แบงค์ (Citi Private Bank) รายงานว่าเศรษฐกิจจีนจะแซงเศรษฐกิจสหรัฐและกลายเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดของโลกในปี 2020 แต่อันดับจะถูกเปลี่ยนเป็นประเทศอินเดีย ที่จะกลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดของโลกในปี 2050 ประกอบกับเมื่อไม่นานมานี้ กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมอินเดียได้เปิดตัวนโยบายการค้าต่างประเทศ (Foreign Trade Policy – FTP) ฉบับปี ค.ศ. 2015 – 2020 อย่างเป็นทางการ หลังจากรัฐบาลใหม่ของอินเดียภายใต้การนำของนายนเรนทรา โมดี ซึ่งมีเนื้อหาที่น่าสนใจและเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจของไทยด้วย คำถามที่น่าสนใจตามมาคือ ทิศทางนโยบายในด้านต่างๆ ในอีก 5 ปีข้างหน้าของประเทศอินเดียนั้นเป็นอย่างไร และจะมีนัยทางเศรษฐกิจต่อประเทศไทยอย่างไร 

Read More

ประเทศไอร์แลนด์: การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมหัศจรรย์

ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีความตั้งใจจะก้าวไปสู่การเป็นประเทศเศรษฐกิจรายได้สูง เห็นได้จากนโยบายและวิสัยทัศน์ของประเทศในปัจจุบันที่อยู่ในช่วงปฏิรูปพัฒนาและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงประเทศให้ก้าวไปสู่ความมั่งคั่ง มั่นคงและยั่งยืน ซึ่งประวัติศาสตร์ที่ผ่านมามีหลายประเทศที่สามารถก้าวข้ามจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางกลายเป็นประเทศเศรษฐกิจรายได้สูงได้ หนึ่งในนั้น คือ ประเทศไอร์แลนด์ซึ่งเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจและสามารถนำมาเป็นบทเรียนให้กับระบบเศรษฐกิจประเทศไทยได้ Read More

จะเกิด Magna City ในอนาคตหรือไม่ ?

จากรายงาน PWC?s Investor Resource Institute ประจำปี 2014 ที่อธิบายถึง 5 แนวโน้มโลกอนาคตช่วงปี 2030 – 2050 ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจ 5 ประเด็น ประเด็นแรก ในปี 2050 ประชากรทั่วโลกที่อาศัยอยู่ในเมืองจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 72 ประเด็นที่สอง ในปี 2030 จะมีประชากรทั่วโลก 8.3 พันล้านคน โดยมีความต้องการด้านพลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 ความต้องการน้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 40 และความต้องการอาหารเพิ่มขึ้นร้อยละ 35 ประเด็นที่สาม จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงการประชากร โดยในปี 2050 สัดส่วนผู้สูงอายุทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 21 ของประชากรทั้งหมด ประเด็นที่สี่ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจทางเศรษฐกิจจากฝั่งตะวันตกมาเป็นตะวันออก โดยจะมีสัดส่วนชนชั้นกลางทั่วโลกคิดเป็นร้อยละ 66 และการบริโภคของชนชั้นกลางทั่วโลกร้อยละ 59 มาจากทวีปเอเชีย และประเด็นที่ห้า ในด้านของการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีจะเกิดการเพิ่มขึ้นของ ?Internet of Things? Read More

แนวโน้มการขนส่งและโลจิสติกส์หลัง AEC

เมื่อวันที่ 28 มี.ค.ที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญให้ไปบรรยายเรื่อง ?The ASEAN Integration and beyond? ที่ฮ่องกงโดยผู้ฟังเป็นผู้บริหารของบริษัทด้านโลจิสติกส์ที่มีหลายสาขาทั่วโลก ซึ่งผมได้อธิบายถึงแนวโน้มของภาคการขนส่งและโลจิสติกส์ (T&L) หลังการเปิดประชาคมอาเซียนดังนี้ Read More

คลังสมอง (Think – Tank) กับการพัฒนาประเทศไทย

จากข้อมูลในรายงานวิจัยเรื่องดัชนีชี้วัดคลังสมองทั่วโลก ประจำปี 2014 (2014 Think-Tank Index Report)ของ The Lauder Institute แห่งมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย พบว่า มีจำนวนคลังสมอง (Think-Tank) ทั่วโลกทั้งสิ้น 6,681 แห่ง แบ่งเป็นที่ทวีปอเมริกาเหนือ 1,989 แห่ง ทวีปยุโรป 1,822 แห่ง ทวีปเอเชีย 1,106 แห่ง ทวีปอเมริกากลาง-ใต้ 674 แห่ง ทวีปตะวันออกกลาง-เหนือ 521 แห่ง ทวีปแอฟริกา-ซับ ซาฮารา 467 แห่ง และทวีปโอเชียเนีย 39 แห่ง เมื่อเรียงลำดับจำนวนคลังสมองของแต่ละประเทศ พบว่า ประเทศที่มีจำนวนคลังสมองมากที่สุด คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา มีจำนวนทั้งสิ้น 1,830 แห่ง รองลงมาคือ ประเทศจีนและประเทศอังกฤษ มีคลังสมอง 429 และ 287 แห่งตามลำดับ นอกจากนี้ ยังมีประเทศที่มีจำนวนคลังสมอง 100-199 แห่ง อีก 6 ประเทศ ได้แก่ ประเทศเยอรมนี อินเดีย ฝรั่งเศส อาร์เจนตินา รัสเซีย และญี่ปุ่น ส่วนประเทศที่เหลือมีจำนวนคลังสมองต่ำกว่า 100 แห่งทั้งสิ้น Read More