work 1

ลดเสี่ยง…ถูกบีบให้ออก

work 1โลกวันนี้วันสุข
คอลัมน์ : HR Tips

“ถูกบีบให้ออกจากงาน” เหตุผลอันน่าเศร้าของคนทำงานจำนวนไม่น้อยที่ต้องออกจากงานเดิมด้วยความจำใจ เพราะไม่สามารถทนรับแรงกดดันต่างๆที่ถูกกระ ทำสะสมจนไม่สามารถทำ งานต่อไปได้

ในการบีบพนักงานที่ไม่ต้องการให้ลาออกมักใช้วิธีสร้างแรงกดดันทางจิตวิท ยา เช่น ทำให้รู้สึกว่าพนักงานคนนั้นไม่มีคุณค่าต่อองค์กร โดยการไม่มอบหมายงานใหม่ๆ ลดงานเดิมลงจนแทบไม่มีอะไรให้ทำ หรือเอางานที่เคยรับผิดชอบให้พนักงานใหม่ทำ หรือย้ายไปทำงานที่ไม่ถนัด เช่น ให้ไปทำงานแผนกอื่นโดยไม่ถามความสมัครใจก่อน และไม่อยากทำงานอีกต่อไปจนต้องยอมลาออกไปเองในที่สุด

การลาออกเท่ากับเป็นความสำเร็จขององค์กร เพราะการลาออกเองทำให้ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยใดๆ แต่ในอีกมุมหนึ่งคงไม่มีคนทำงานคนใดต้องตกอยู่ในสภาวะเช่นนี้

การถูกบีบให้ออกจากงานเป็นการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม และองค์กรไม่ควรใช้วิธีนี้กับคนทำงาน แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง ขณะนี้ยังไม่มีมาตรการใดสามารถระงับยับยั้งไม่ให้ใช้วิธีการนี้ได้ เนื่องจากเป็นการสร้างแรงกดดันทางอารมณ์ให้พนักงานลาออกเอง จึงไม่สามารถหาเหตุผลฟ้องร้องได้ และเราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าวิธีการเช่นนี้ยังคงถูกนำมาใช้อย่างต่อเนื่อง

คำถามคือ ในฐานะคนทำ งานเราจะป้องกันและหลีกเลี่ยง ไม่ให้อยู่ในข่ายถูกบีบให้ออกจากงานได้อย่างไร?

สร้างผลงานให้คุ้มค่าตอบ แทนที่สูงขึ้น หรือทำให้องค์กรเห็นว่าจ้างเราแล้ว “เกินคุ้ม” หาก เราทำงานมานานจำเป็นต้องพัฒนาตนเองให้สูงขึ้นตามไปด้วย โดยรับผิดชอบงานที่เพิ่มขึ้น เสียสละอุทิศตนเพื่องานขององค์กรที่เพิ่มขึ้น และเรียนรู้ที่จะพัฒนาตนเอง มีความริเริ่มใหม่ๆให้กับองค์กรอยู่เสมอ

สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจเพิ่มขึ้น จำไว้ว่าหัวหน้างานของเราจะยินดีร่วมงานกับคนที่เขาไว้วางใจมากกว่าคนที่เขาไม่ไว้วางใจ ดังนั้น ถ้าเราทำงานของเราด้วยความซื่อสัตย์ รับผิดชอบ อย่างดี รักษาความลับขององค์ กร ให้ความร่วมมือกับหัวหน้างาน เป็นอย่างดีจนเป็นที่ไว้วางใจ

สร้างลักษณะชีวิตที่น่าประทับใจ องค์กรย่อมต้องการคนทำงานที่กระตือ รือร้น ทุ่มเททำงาน ทำงานอย่างเต็มที่จริงจัง ใช้เวลางานอย่างคุ้มค่า คงไม่มีใครชอบพวกอู้งาน

ทุกองค์กรย่อมต้องการคนที่สามารถสร้างผลผลิต ให้องค์กรได้มากขึ้น สร้างกำ ไรให้มากขึ้น ช่วยให้งานขับเคลื่อนได้เร็วขึ้น ดังนั้น ถ้าหากเราเป็นพนักงานแบบนี้แล้วยังถูกบีบให้ออกจากงาน อีก นั่นแสดงว่าองค์กรนั้นปฏิบัติต่อเราอย่างไม่เป็นธรรม และไม่คู่ควรที่เราจะอยู่ในองค์กรเช่นนั้นอีกต่อไป

ศ.ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.comhttp://www.kriengsak.com
แหล่งที่มาของภาพ : http://hot.ohozaa.com/uploads/f121c3994ef1bdb13aaa8e96cdd4a8fc.jpg