โอกาสของไทยเมื่อโลกคลายล็อคดาวน์

ตั้งแต่ปลายปี 2019 โลกได้ผลกระทบจากการแพร่กระจายของโรคระบาดอย่างหนัก โดยเฉพาะในทางเศรษฐกิจ ปัจจุบันเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว เป็นผลมาจากรัฐบาลทั่วโลกพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยจำนวนเงินกระตุ้นเศรษฐกิจทั่วโลกต่อเนื่องจากปี 2020 สูงถึง 7.9 ล้านล้านดอลล่าสหรัฐฯ และมีโอกาสจะเพิ่มสูงขึ้นอีก รวมทั้งการเกิดขึ้นของอุตสาหกรรมใหม่หลังโรคระบาดและการค้นพบวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส ซึ่งทำให้ความกังวลในติดโรคระบาดลดลงไปอย่างมาก
.
เช่นเดียวกันกับโลก เศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วและกำลังฟื้นตัวอย่างช้า ๆ เป็นผลมาจากการคลายล็อคดาวน์และการเพิ่มค่าใช้จ่ายและการลงทุนของรัฐ
ในอนาคตที่จะมาถึง เศรษฐกิจไทยมีโอกาสฟื้นตัวรวดเร็วขึ้นอีก หากภาครัฐกิจ ธุรกิจ ประชากิจของไทยมองเห็นและสามารถคว้าโอกาสจากปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งได้แก่
 

Read More

ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคตะวันออกรายจังหวัดตามแนวคิด BITA Economy

ในฉบับที่แล้ว ผมได้กล่าวถึง BITA Economy ในฐานะเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจสำหรับภาคตะวันออก 8 จังหวัดในภาพรวม ซึ่งผมสังเคราะห์จากฐานจุดแกร่งของแต่ละจังหวัด และนำมาเชื่อมโยงให้สนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยครั้งนี้ผมจะเจาะรายละเอียดยุทธศาสตร์เป็นรายจังหวัด ดังนี้
. Read More

การบริหารภาครัฐภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

เมื่อไม่นานมานี้ผมได้รับเชิญโดยสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีให้บรรยายในหัวข้อ “การบริหารภาครัฐภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลงในอนาคต” จึงใช้โอกาสนี้ชี้ให้ข้าราชการที่เข้าร่วมฟังบรรยายเห็นว่าหากต้องการจะบริหารงานภาครัฐอย่างมีประสิทธิสภาพภายใต้สภาวะโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างไร

ผมเชื่อว่าประเทศชาติที่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองสูง และเป็นประเทศพัฒนาแล้วและมีรายได้สูง ล้วนไม่ได้พัฒนาโดยภาคส่วนใดภาคส่วนหนึ่งเพียงเท่านั้น แต่เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างตรีกิจ หรือ 3 ภาคกิจ คือ รัฐกิจ ธุรกิจ และประชากิจ โดยภาครัฐเป็นภาคส่วนสำคัญในการขับเคลื่อน เนื่องจาก มีอำนาจรัฐ มีงบประมาณ และ มีบุคลากรจำนวนมาก และภายใต้สภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ภาครัฐจำเป็นต้องมียุทธศาสตร์ที่บูรณาการมิติต่างๆ อย่างเหมาะสม ซึ่งผมมีข้อเสนอดังนี้ Read More

งานหลักของคนในคลื่นอารยะ 7 ลูก

งานเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับมนุษย์ เพราะนอกจากการทำงานจะนำมาซึ่งรายได้ เพื่อการดำรงชีวิตแล้ว คนเราส่วนใหญ่ยังใช้เวลาอย่างน้อย 1 ใน 3 ของชีวิตไปกับการทำงาน งานเป็นสิ่งที่กำหนดว่า ในขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่นั้น เราได้ฝากสิ่งใดไว้ มีคุณค่าหรือไม่ และมากน้อยเพียงใดให้กับโลกใบนี้ ดังนั้นการทำงานจึงมีผลอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข มีคุณค่าและมีความหมาย Read More

D-Commerce ? โอกาสในการพัฒนาธุรกิจขนาดเล็กของไทย

D-Commerce ย่อมาจากคำว่า Decentralized Commerce เป็นพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) หรือการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการบนอินเตอร์เน็ตรูปแบบหนึ่งในลักษณะ B2B (Business-to-Business) หรือ การซื้อขายแลกเปลี่ยนระหว่างธุรกิจและธุรกิจ 

Read More

แลนด์มาร์คเจ้าพระยา เดินหน้าอย่างไรให้ได้มากกว่าเสีย?

         ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญให้ไปแสดงความคิดเห็นในรายการ “เถียงให้รู้เรื่อง” ทางช่อง Thai PBS ในหัวข้อ “เดินหน้าแลนด์มาร์คเจ้าพระยา ได้คุ้มเสียจริงหรือ?” ซึ่งเป็นประเด็นที่อยู่ในความสนใจของคนไทยจำนวนมาก หลังจากรัฐบาลพยายามผลักดันโครงการพัฒนาพื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ระยะแรก 14 กิโลเมตร จากสะพานพระราม7 ถึงสะพานปิ่นกล้าทั้งสองฝั่ง มูลค่า 14,000 ล้านบาท จากทั้งโครงการ 57 กิโลเมตร 

Read More

ความคิดเห็นเกี่ยวกับการต่ออายุข้าราชการ จาก 60 เป็น 65 ปี

เมื่อไม่นานมานี้ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ศึกษาเรื่องการเลื่อนเวลาเกษียณอายุราชการจาก 60 เป็น 65 ปีและเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีในเดือนเมษายนนี้ เพื่อให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดอายุเกษียณราชการ

Read More

การพัฒนาดัชนีประสิทธิผลประเทศไทย (1) : ดัชนีประสิทธิผลภาครัฐ (Public Sector Effectiveness Index ? PBE Index)

         เนื่องด้วยความจำกัดเรื่องทรัพยากร บุคลากร ความรู้ความสามารถ ทำให้การขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวไปข้างหน้า ไม่อาจเป็นเพียงบทบาทหน้าที่ของรัฐ แต่เพียงฝ่ายเดียวเท่านั้น ผมเชื่อว่าภาคเอกชน (private sector) และ ภาคประชาชนหรือภาคประชาสังคม (people sector หรือ civic sector) จำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทและมีส่วนในการขับเคลื่อนประเทศด้วย หากทั้ง 3 ภาคส่วนร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งจะช่วยขับเคลื่อนประเทศให้เดินไปสู่จุดหมายของประเทศร่วมกันได้รวดเร็วขึ้น ประสบความสำเร็จมากขึ้น เพราะภาคส่วนต่าง ๆ ล้วนมีจุดแข็งที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถสนับสนุนกันและกันได้ 

Read More

อนาคตเศรษฐกิจโลก (3): เศรษฐกิจบนฐานฝูงชน

    ปัจจุบันสัดส่วนของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยคาดว่าในปี ค.ศ. 2020 อุปกรณ์ 5 หมื่นล้านเครื่องจะถูกเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต และคนๆ หนึ่งจะมีอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเฉลี่ย 6.85 ชิ้นต่อคนในปี ค.ศ.2020 เพิ่มขึ้นจาก 1.84 ชิ้นต่อคนในปี ค.ศ.2010 อุปกรณ์ต่าง ๆ ตั้งแต่อุปกรณ์ในบ้าน สำนักงาน ของใช้ส่วนตัว ยานพาหนะ ไปจนถึงอุปกรณ์ในพื้นที่สาธารณะ จะเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า อินเตอร์เน็ตของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว (The Internet of things) 

Read More

อนาคตเศรษฐกิจโลก (2): เศรษฐกิจบนฐานโลกาเทศาภิวัตน์

    ในบทความครั้งที่แล้วผมได้อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงสำคัญทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในโลกไปประการหนึ่ง คือ การเปลี่ยนแปลงจากโลกที่มีขั้วอำนาจเดียวไปเป็นโลกที่มีหลายขั้วอำนาจ นอกจากนี้แล้วยังมีการเปลี่ยนแปลงอีกประการหนึ่งที่เกิดขึ้นในโลก ซึ่งผมขอเสนอชื่อใหม่ว่า “เศรษฐกิจบนฐานถิ่นโลกภิวัตน์” (Glocalization)

Read More