haughty

‘หยิ่ง’…จุดจบของคน’มีดี’

haughtyโลกวันนี้วันสุข
คอลัมน์ : HR Tips

เมื่อใดที่ความหยิ่งเริ่มเข้าครอบงำ เมื่อนั้น “จุดเริ่มต้น” ของ “จุดจบ” ในชีวิตก็ได้เริ่มต้นขึ้นแอนดริว ไบรต์ (An drew Bryant) ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาภาวะผู้นำ ได้วิเคราะห์ไว้อย่างน่าสน ใจว่า ผู้นำที่มีความหยิ่ง (Ar rogant Leadership) มักจะเริ่มต้นจากการเป็นคนธรรมดาๆที่มีความปรารถนา และความทะเยอทะยานอย่างแรงกล้าที่จะประสบความสำเร็จ จึงพยายามผลักดันตนเอง มุมานะ ต่อสู้แข่ง ขัน ฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ อด ทนต่อคำสบประมาท เสียงวิพากษ์วิจารณ์ มุ่งมั่นยืนหยัดจนตนเองเป็นผู้ชนะ เพื่อให้คนอื่นยอมรับและตระหนักในความเก่งกาจของตน

ทว่าเมื่อได้ครอบครองความสำเร็จ หรือ “ขึ้นสู่ที่สูง” แล้ว ความเชื่อมั่นในตนเองก็จะสูงตามไปด้วยจนเกินขอบเขตความเป็นจริง เกิดความรู้สึกว่าตนเองอยู่เหนือกว่า เก่งกว่า ทำได้ดีกว่า คนอื่นๆไม่สามารถทำอย่างตนได้ ยิ่งมีคนยกย่อง ยอมรับนับถือ ยิ่งทำให้บุคคลนั้นลุ่มหลงในคำชมคำยกย่อง เมื่อถึงขั้นนี้ความหยิ่งได้เริ่มเข้าครอบงำแล้ว นี่คือจุดเริ่มต้นของจุดจบของผู้นำ

สุภาษิตบทหนึ่งกล่าวว่า “ความเย่อหยิ่งนำหน้าการล้ม”เราทุกคนจึงควรเรียนรู้ที่จะสำ รวจตัวเองและสกัดกั้นไม่ให้ความหยิ่งเข้ามาเกาะกินชีวิตและทำลายเราในที่สุด สิ่งที่เราควรทำ ได้แก่

สำรวจสัญญาณความหยิ่ง ให้เราลองสำรวจตัวเองว่ามีอาการแบบนี้หรือไม่ ถ้ามีนั่นแสดงว่าความหยิ่งเริ่มเข้ามาเกาะกินเราแล้ว และต้องเริ่มแก้ไขตัวเองโดยด่วน

ฝึกถ่อมใจ-รับฟังและเห็นคุณค่าผู้อื่น ในหนังสือเรื่อง “Good to Great” เขียนโดย Jim Collins ได้กล่าวถึงผล การสำรวจว่า ผู้นำที่มีความถ่อม ใจ (humble leadership) เป็นหนึ่งในลักษณะสำคัญของผู้นำที่ทำให้องค์กรประสบความ สำเร็จได้ในระยะยาว ผู้นำที่มีความถ่อมใจจะมีลักษณะสำคัญ ได้แก่ ยินดีรับฟังมุมมอง ความคิดเห็นที่แตกต่างหรือตรงข้ามกับที่ตนคิดไว้ ไม่หมกมุ่นกับตน เอง ไม่เอาตนเองเป็นศูนย์กลาง เปิดกว้างต่อความคิดใหม่ๆ ยอม รับข้อจำกัดและความไม่สมบูรณ์ ของตนเองและสิ่งต่างๆ ยึดมั่นในคุณธรรม ทำสิ่งที่ถูกต้องด้วยเหตุผลที่ถูกต้อง ชื่นชมและเชื่อในพรสวรรค์ของผู้อื่น พร้อมให้กำลังใจและเสริมพลังคนอื่นให้ไปถึงความสำเร็จ คนหยิ่งนั้นมักจะคิดว่า “ฉันรู้หมดแล้ว” จึงไม่เปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ๆจากผู้อื่น แต่คนที่ถ่อมใจจะคิดว่า “ฉันยังไม่รู้อีกมาก” และต้องเปลี่ยนแปลงอีกหลายเรื่องเพื่อให้ดีขึ้น จึงเรียนรู้ได้จากทุกคน ทำให้ได้รับประโยชน์จากการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และขยายขอบเขตความคิดให้กว้างขึ้น ตัดสินใจได้ถูกต้องมากขึ้น และเป็น สาเหตุสำคัญที่ทำให้รักษาความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน

ศ.ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.comhttp://www.kriengsak.com
แหล่งที่มาของภาพ : http://chickswithchoices.com/blog/wp-content/uploads/2012/03/haughty3.png