?สมดุลวิถี? ทางออกประเทศไทย

คอลัมภ์ : การเมือง : ทัศนะวิจารณ์

สมานฉันท์เป็นสิ่งที่ดีและเราใฝ่ฝันอยากให้เกิดขึ้น แต่สมานฉันท์ ไม่เพียงพอแก้ปัญหาความขัดแย้ง เพราะเป็นเพียงการแก้ ?อาการ? ของโรค แต่ไม่ได้แก้ ?สาเหตุ? แท้จริงที่ก่อให้เกิดโรค เราต้องไปไกลกว่านั้น นั่นคือ การสร้าง ?สมดุลวิถี? หรือการสร้างสมดุลแห่งชาติ? การมองหาสมานฉันท์แห่งชาติ โดยไม่เข้าใจความสมดุลในชาติ หรือวิถีที่สมดุล เราจะหลงทางและจะแก้ไม่ได้เช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

สมดุลวิถีคืออะไร?

สมดุลวิถี คือ การสร้างสมดุล 3 ด้าน คือ สมดุลทางอำนาจ สมดุลทางเศรษฐกิจ และสมดุลทางสังคม ให้กับภาคี 5 ภาคี

ซึ่งเป็นผู้เล่นหลักในสังคมไทย ได้แก่ ภาคีการเมือง ภาคีข้าราชการ ภาคีนักธุรกิจ ภาคีนักวิชาการ และภาคีประชาชน ให้ทุกฝ่ายได้รับการเฉลี่ยอำนาจ ผลประโยชน์ และมีที่ยืนทางสังคมอย่างเหมาะสม

สมดุลทางอำนาจ? หมายถึง สมดุลทางการเมือง? ถ้าผู้ถืออำนาจไม่แบ่งอำนาจทางการเมืองให้สมดุลอย่างเหมาะสม แต่ยึดอำนาจหรือโน้มเอียงไปทางใดทางหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จนทำให้คนบางกลุ่มเกิดความรู้สึกไร้อำนาจ ถูกปิดกั้นเสรีภาพ ถูกกดขี่ข่มเหง หรือได้รับการปฏิบัติอย่างไม่เสมอภาค เมื่อสมดุลอำนาจบกพร่องไป ย่อมนำมาซึ่งการต่อสู้เพื่อเรียกร้องแย่งชิงอำนาจกลับคืนมา? ดังนั้น ถ้าสามารถสร้างสมดุลทางอำนาจได้อย่างเหมาะสมจะสลายความขัดแย้งได้อย่างรวดเร็ว

สมดุลทางเศรษฐกิจ หมายถึงสมดุลทางผลประโยชน์ คำกล่าวที่ว่า ?ผลประโยชน์ขัดกันต้องบรรลัย? ยังคงเป็นจริงในทุกยุคทุกสมัย ที่เป็นสาเหตุสำคัญทำให้คนรบราฆ่าฟันกันตลอดประวัติศาสตร์โลกที่ผ่านมา ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย เมื่อใดก็ตามที่ขาดภาวะสมดุลทางผลประโยชน์ ผู้ถืออำนาจไม่เฉลี่ยแบ่งผลประโยชน์กันอย่างทั่วถึง อย่างสมเหตุสมผล กลุ่มที่เสียประโยชน์จะออกมาเรียกร้องต่อต้าน แต่หากสามารถสร้างสมดุลทางผลประโยชน์อย่างลงตัว ย่อมลดปัญหาความขัดแย้งลงได้

สมดุลทางสังคม หมายถึง สมดุลในพื้นที่ทางสังคม มี ?ที่ยืน? ในสังคมในตำแหน่งแห่งที่ที่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ไม่ถูกกีดกันหรือได้รับการปฏิบัติเยี่ยงพลเมืองชั้นสอง หรือมีการใช้หลักปฏิบัติสองมาตรฐาน ถูกกีดกันมิให้มีที่ยืนในสังคม สร้างเงื่อนไขที่ทำให้ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนทั่วไป การปฏิบัติเช่นนี้ก่อให้เกิดความอึดอัดคับข้องใจ เกิดความรู้สึกว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม และแน่นอนว่า ย่อมตามมาซึ่งความขัดแย้งและการต่อต้านด้วยความรุนแรง เพื่อแย่งชิงพื้นที่ทางสังคมคืนมา ?

?ทำไมต้องสมดุลวิถี??

สมดุลวิถี เป็นทางออกจากความขัดแย้ง ที่ตั้งอยู่บนฐานการวิเคราะห์ความจริง ซึ่ง ?ความจริง? นี้เป็นเรื่องที่ไม่มีใครกล้าพูดออกมา แต่หากต้องแก้ปัญหาจริงๆ จำเป็นต้องเข้าใจและยอมรับต้นตอของปัญหา เพื่อการแก้ปัญหาที่ตรงประเด็น โดนตระหนักว่า การสร้างสมานฉันท์เป็นเพียงความฝันที่อยู่เพียงชั่วคราว แต่การสร้างสมดุลวิถีเป็นความจริงที่แก้ปัญหาได้ยั่งยืน?

ความจริงที่ว่านี้คือ ปัญหาที่เกิดในประเทศไทยตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีความไม่สมดุลทั้ง 3 ด้านเกิดขึ้น เมื่อฝ่ายที่มีอำนาจ ได้ทำการครอบครองดุลอำนาจ ดุลผลประโยชน์ และดุลทางสังคม ไว้อย่างชัดเจนมาก สามารถถืออำนาจรัฐและควบคุมรัฐนี้ได้ค่อนข้างเบ็ดเสร็จ และมีแนวโน้มจะสามารถรักษาอำนาจได้อีกยาวนาน จนสร้างความหวาดหวั่นกับอีกฝ่ายหนึ่งว่า จะไม่มีที่ยืน ไม่มีผลประโยชน์ และไม่มีอำนาจเพียงพอ จึงพยายามหาทางดึงฐานอำนาจกลับ ด้วยการดึงภาคีกลุ่มต่างๆ เข้ามาช่วยกันเรียกร้องขับไล่ และลงเอยด้วยการทำรัฐประหารเพื่อยึดเอาอำนาจคืน แต่การดึงอำนาจกลับเช่นนี้ เป็นเพียงการเปลี่ยนขั้วอำนาจที่ดึงเอาดุลอำนาจ ดุลผลประโยชน์ และดุลทางสังคม มาไว้อีกฝั่งหนึ่ง และทำให้อีกฝั่งหนึ่งอยู่ในภาวะไรที่ยืน ไร้ผลประโยชน์ และไร้อำนาจ จนต้องปฏิบัติการตอบโต้ด้วยวิธีการที่เราเห็นกัน เพื่อแย่งชิงอำนาจกลับคืนมา?

หากทั้งสองฝ่าย ยังคงใช้วิธีการเช่นนี้ต่อไป ความรุนแรงของการแย่งชิงพื้นที่ทางอำนาจจะมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่สามารถสมานฉันท์ได้ เหมือนกับการเหวี่ยงลูกตุ้ม เมื่อลูกตุ้มเหวี่ยงไปข้างหนึ่ง ต้องมีการสู้กลับ เป็นการที่อีกฝั่งหนึ่งดึงลูกตุ้มฐานอำนาจไปสุดขอบของตัวเอง อีกฝั่งหนึ่งก็พยายามดึงฐานอำนาจกลับไปสุดขอบอีกเหมือนกัน ซึ่งการเหวี่ยงไปมาสุดขอบเช่นนี้มีแต่จะก่อให้เกิดการทะเลาะและการขัดแย้งรุนแรงอย่างไม่มีที่สิ้นสุด วิธีคิดว่าจะกำจัดอีกฝ่ายให้หมดไปด้วยการกดไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้มีผลประโยชน์ ไม่ให้มีที่ยืนในสังคม จะไม่ก่อให้เกิดความสงบได้ เพราะการเหวี่ยงลูกตุ้มสุดขอบ ย่อมต้องตกลงมาและเหวี่ยงไปอีกด้าน หรือมิเช่นนั้น ถ้าเหวี่ยงแรงเกินไปลูกตุ้มอาจจะขาดได้ และทั้งสองฝ่ายจะไม่ได้อะไรเลย ทางที่ดีกว่าคือการให้ลูกตุ้มนั้นอยู่ตรงกลาง โดยการจัดสรรอำนาจ ผลประโยชน์ และการมีที่ยืนในสังคมอย่างสมดุล ให้กับภาคีทั้งห้าอย่างสมดุล?

ภาคีการเมือง ได้แก่ นักการเมือง ทั้งนักการเมืองระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ นี่คือผู้มาเล่นบทแสวงหาอำนาจ จัดการอำนาจในประเทศไทย เมื่อใดก็ตามที่มีการจัดสรรอำนาจอย่างไม่ลงตัว กลุ่มนี้จะมีพลังต่อต้านแรงที่สุด ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งจะต้องสร้างความเป็นธรรมในการเข้าสู่อำนาจ ดังนั้นต้องมีการใช้อำนาจ การจัดสรรผลประโยชน์ และการให้ที่ยืนทางสังคมแก่ทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน ภายใต้กติกาที่มีมาตรฐานเดียวกัน

ภาคีอำมาตย์? ได้แก่ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ เป็นภาคีหลักที่มีบทบาทสำคัญตลอดมาในทุกยุคทุกสมัย ภาคีเหล่านี้สำคัญเพราะเป็นผู้ดำเนินการตามนโยบายของฝ่ายนโยบายคือการเมือง หากปฏิบัติอย่างไม่สมดุล เช่น มีการโยกย้ายอย่างไม่เป็นธรรม ฯลฯ ทำให้ไม่มีที่ยืนทางสังคม ไม่มีอำนาจอย่างเหมาะสม ภาคีนี้ย่อมต่อต้านและมีความกระด้างกระเดื่องไม่ร่วมมือ เป็นเหตุให้กลไกการสานต่อการขับเคลื่อนเคลื่อนประเทศชาติสะดุด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างสมดุลให้กับภาคีนี้อย่างเหมาะสม? ?

ภาคีนักธุรกิจ? ได้แก่ นักธุรกิจ นักธุรกิจมีอำนาจทางเศรษฐกิจและสังคม สามารถใช้ทุนที่มีสั่งการประเทศนี้ได้? ภาคีนักธุรกิจมีบทบาทสำคัญในการที่จะมีส่วนในการขับเคลื่อนกลไกต่างๆ? ถ้าภาคีนี้เสียประโยชน์ย่อมมีโอกาสใช้ทุนเพื่อทำการล้มอำนาจอีกฝ่ายหนึ่งได้ ตรงกันข้าม หากได้รับการจัดสรรผลประโยชน์อย่างสมดุล ย่อมมีพลังขับเคลื่อนให้เกิดความสงบในประเทศได้

ภาคีนักวิชาการ คนกลุ่มนี้ทำหน้าที่เป็นผู้ชี้นำทางความคิด ถ้าเอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่ง ด้านนั้นจะได้เปรียบ เพราะนักวิชาการเป็นที่น่าเชื่อถือในสายตาคน จึงมีบทบาทสำคัญ ดังนั้นหากไปลิดรอนอำนาจ ลิดรอนผลประโยชน์ และลิดรอนพื้นที่ทางสังคมของนักวิชาการ ย่อมเกิดการต่อต้าน ในทางกลับกันหากภาคีนักวิชาการได้รับการจัดสรรอย่างสมดุล นักวิชาการย่อมส่งพลังทางความคิดให้ประเทศสงบสุขได้

ภาคีประชาชน หรือ ภาคประชาชนกลุ่มต่างๆ ซึ่งก่อตัวกันอย่างเป็นระบบ เป็นเครือข่ายประชาชนที่ถือดุลอำนาจอยู่บางระดับ เมื่อเวลาที่ต้องการทำอะไรที่ต้องใช้คนจำนวนมาก ต้องมีการประสานกับภาคประชาชนเพื่อสร้างพลัง จึงจำเป็นต้องสร้างสมดุลอย่างเหมาะสมกับภาคีนี้ด้วย ?

ทั้งห้าภาคีหลักทุกกลุ่ม จำเป็นต้องได้รับการจัดสรรอำนาจ ผลประโยชน์ และที่ยืนทางสังคมอย่างสมดุล ให้ทุกภาคีเกิดความสุข มีความพึงพอใจ ซึ่งย่อมจะลดความวุ่นวายในประเทศลงได้อย่างมาก

สมดุลวิถีจะเกิดขึ้นได้อย่างไร?

ปัจจัยที่ประสานสมดุลภาคีทั้งห้าได้ลงตัวมากที่สุด คือ ทุน ผู้ที่ถือทุนจึงเป็นผู้ที่ประสานห้าภาคีได้อย่างลงตัวเพราะผลประโยชน์ลงตัว โดยในอดีตที่ผ่านมา การประสานดุลของห้าภาคีจะมีลักษณะเป็น ?ฐานทุนแบบปัจเจกผูกขาด? ในการจัดสรรอำนาจ ผลประโยชน์ และพื้นที่ยืนในสังคม ให้กับภาคีทั้งห้า ทุนแบบปัจเจกผูกขาด จะมีคนกลุ่มเดียวที่ผูกขาดทั้งเศรษฐกิจ ผูกขาดทั้งการเมือง ผูกขาดทุกด้าน ทำหน้าที่ในการจัดสรร ซึ่งเมื่อผู้ถือทุนแจกทุน และเกลี่ยทุนไม่ลงตัว ย่อมเกิดปัญหาความขัดแย้งอย่างรุนแรงขึ้น และในเวลานี้ ในสถานการณ์ความขัดแย้งเช่นนี้ ไม่สามารถใช้ฐานทุนแบบปัจเจกผู้ขาดได้ เพราะจะไม่เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศในระยะยาว

ทางออกในการสร้างสมดุลวิถีในเวลานี้ จำเป็นต้องขับเคลื่อนจากทุนปัจเจกผูกขาด ไปสู่การใช้ ?ฐานทุนที่แบบปัจเจกสาธารณะ? ความหมายคือ ทุนที่มาจากฐานของประชาชน เป็นเงินสาธารณะ ไม่ใช่ทุนจากกลุ่มทุนทางธุรกิจ หรือกลุ่มทุนผูกขาดทางการเมือง แต่เป็นการที่คนในประเทศเป็นล้านๆ คนมีส่วนแบ่งภาษี มาใช้ในการทำงานการเมือง มาช่วยในการหาเสียงให้กับคนที่ไม่มีทุน เพื่อคนเหล่านี้จะให้มีโอกาสชนะการเมืองได้บ้าง มีส่วนทำให้เกิดการจัดสรรที่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายมากขึ้น ทุนปัจเจกสาธารณะจะสร้างความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงให้เกิดขึ้นได้?

สมดุลวิถี คือ ทางออกประเทศไทย หากไม่ทำเช่นนี้ โดยมีเพียงวิธีกดระบบไว้ไม่ให้เกิดความแตกแยก ทำให้มีความรู้สึกเสมือนว่ามีความสมานฉันท์แล้ว ซึ่งสามารถทำได้เพียงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น แต่เมื่อมาถึงจุดพลิกผัน ย่อมทำเกิดความแตกแยกแสดงออกมา ซึ่งบางครั้งเป็นความแตกแยกอย่างรุนแรง ดังนั้นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน จึงไม่เพียงเป็นการแก้ปัญหาที่กดระบบไว้ แต่ต้องทำให้ระบบเกิดความสมดุลจึงจะอยู่ได้อย่างยั่งยืน? ทั้งความสมดุลทางอำนาจ ความสมดุลทางผลประโยชน์ และความสมดุลในทางที่ยืน

ทิศทางของสังคมไทยที่ทำอยู่ในขณะนี้เป็นยุทธวิธี? ไม่ใช่ยุทธศาสตร์หรือหลักการ เช่น การแก้รัฐธรรมนูญ การตั้งองค์คณะต่างๆ ขึ้นเพื่อค้นหาความจริง ช่วยเหลือสังคม ฯลฯ วิธีแก้ปัญหาที่เป็นแก่นแกนอย่างแท้จริง คือการเน้นหลักการ ยุทธศาสตร์ ไม่ใช่เพียงแค่ยุทธวิธี โดยต้องเน้นหลักปฏิบัติแก่ทุกภาคีด้วยหลักเสรีภาพ หลักเสมอภาค และหลักภราดรภาพ หากทำให้ทั้ง 3 หลักเหล่านี้ให้เกิดเป็นรูปธรรม ย่อมจะทำให้เกิดความสมดุลเพราะได้คำนึงถึงปรัชญาการอยู่ร่วมกันของสังคม?

เส้นทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งต้องไปไกลกว่าความสมานฉันท์? ความสมานฉันท์เป็นสิ่งที่ดี? แต่ต้องสร้าง ?สมดุลวิถี? ในสังคมให้เกิดขึ้น? เป็นสมดุลทางอำนาจ สมดุลทางผลประโยชน์ และสมดุลในทางที่ยืน โดยใช้ฐานทุนปัจเจกสาธารณะเพื่อสร้างสมดุลที่ยั่งยืน

?

ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com, http://www.kriengsak.com