8605532 f260

รับมือหัวหน้า’อีโก้สูง'(2)

8605532 f260

โลกวันนี้วันสุข
คอลัมน์ : HR Tips

ครับ เรามาว่ากันต่อถึงการรับมือกับหัวหน้าที่มีอีโก้สูงนะครับ
 
ทางที่ดีกว่าหากเราต้องเผชิญหน้ากับหัวหน้างานอีโก้สูง ถูกปฏิบัติอย่างไม่เหมาะสม และเห็นว่าพฤติกรรมของเขาส่งผลเสียหายทั้งต่อคนทำงาน ประสิทธิภาพการทำงาน และองค์กรในภาพรวม สิ่งที่เราควรทำเพื่อ “แก้ไข” พฤติกรรมดังกล่าว ได้แก่
 
กล้าขอนัดคุยส่วนตัวความขัดแย้งหลายครั้งแก้ไขได้ด้วยการพูดคุยอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น การสื่อสารทำให้เกิดความเข้าใจและรู้จักอีกฝ่ายหนึ่งมากขึ้น ดังนั้น เมื่อเราเห็นว่าอีโก้ของเขากำลังสร้างปัญหาให้กับตัวเรา คนอื่นๆ และองค์กร ให้เรากล้าเข้าไปขอนัดเวลาส่วนตัวเพื่อสนทนากับหัวหน้าตามลำพัง โดยการพูดคุยควรทำอย่างไม่เป็นทางการ เสนอว่าควรนัดสถานที่นอกออฟฟิศ เช่น ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ฯลฯ เพื่อให้เกิดบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ทำให้การรับฟังสิ่งที่เราจะพูดนั้นง่ายขึ้น
 
ก่อนพูดคุย-เตรียมประเด็นให้ชัด เพื่อหลีกเลี่ยงความรู้สึกกลัว ความประหม่าเมื่ออยู่ต่อหน้า เสนอว่าให้เราเขียนตัวอย่างพฤติกรรมที่ไม่ดีต่างๆของหัวหน้าให้ชัดเจน ทำอะไร เมื่อไร อย่างไร โดยเฉพาะเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อคนทำงานและงานภาพรวมมากที่สุด เลือกมาประมาณ 3 เรื่อง เขียนทางแก้ปัญหาที่เราคิดว่าเป็นทาง ออกที่ดีที่สุดลงไปเพื่อเป็นข้อเสนอแก่หัวหน้าในเวลาที่เราเข้าไปคุย
 
ขณะพูดคุย-รักษาบรร ยากาศ ควบคุมอารมณ์ ในระหว่างการพูดคุย ให้เราควบคุมอารมณ์ตนเองให้สงบ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเราได้คิดใคร่ครวญมาเป็นอย่างดีแล้วก่อนตัดสินใจมาพูดคุยด้วย พูดให้ชัดเจนว่าเรามีประเด็นอะไรกับเขา และแสดงให้เห็นว่าที่มาพูดมิได้เพื่อต่อว่าหรือจับผิด แต่เพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกที่มี และต้องชี้ให้หัวหน้าเห็นอย่างชัดเจนว่าพฤติกรรม ของเขาส่งผลกระทบต่อการทำงานของเรา คนทำงานอื่นๆ และผลงานภาพรวมทั้งหมดอย่างไร พยายามให้หัวหน้ารับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างสงบที่สุด
 
ก่อนจบ-ขอเสนอแนะทางแก้ปัญหา เราต้องสื่อสารไปว่าที่เรามาพูดคุยนี้เพื่อต้องการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้างานกับคนทำงานให้ดีขึ้น และถามเขาว่าจะทำให้สัมพันธภาพที่ดีเกิดขึ้นได้อย่างไร เราควรจะทำอย่างไร จึงจะทำให้การบริหารจัดการเป็นไปอย่างราบรื่น หลังจากนั้นให้เราเสนอข้อเสนอแนะ ที่เตรียมมาพร้อมๆกันด้วย
 
หากหัวหน้างานเปิดใจ รับฟังย่อมช่วยให้เขารู้ตัวและยินดีปรับลดอีโก้ที่ไม่เหมาะสมลงได้ ซึ่งจะช่วยให้บรรยากาศการทำงานที่มี “ความ สุข” กลับฟื้นคืนขึ้นมาได้

ศ.ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.comhttp://www.kriengsak.com
แหล่งที่มาของภาพ : http://s1.hubimg.com/u/8605532_f260.jpg