กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ : ดร.แดน มองต่างแดน
ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาใหญ่ของโลกที่รัฐบาลของประเทศต่างๆ ตระหนักและให้ความสำคัญ โดยเฉพาะเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (Climate change) และภาวะโลกร้อน (Global warming) ที่เราได้ยินกันบ่อยครั้งมากขึ้นในช่วงหลังว่า สิ่งนี้อาจเป็นสาเหตุของภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกบ่อยครั้งขึ้นและรุนแรงขึ้น ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กลายเป็นเรื่องน่าวิตกกังวลมากขึ้นยังทำให้เราเห็นการ ประชุมในระดับนานาชาติหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาเป็นส่วนหนึ่งของการเจรจา เพื่อหาทางออกร่วมกันในระดับโลกบ่อยครั้งและนำไปสู่ข้อตกลงและสนธิสัญญา ระหว่างประเทศในเรื่องสิ่งแวดล้อมจำนวนมากขึ้นด้วย
จากทิศทางในเรื่องดังกล่าวมีตัวอย่างการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม หนึ่งที่น่าสนใจ นั่นคือ นโยบายการออก
บัตรกรีนการ์ด สนใจ นั่นคือ นโยบายการออกบัตรกรีนการ์ด (Green card) ให้แก่ประชาชนของประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งบัตรกรีนการ์ดในที่นี้แตกต่างจากเกาหลีใต้ ซึ่งบัตรกรีนการ์ดในที่นี้แตกต่างจากบัตรกรีนการ์ดของสหรัฐที่หมายถึงใบ อนุญาตที่รัฐบาลสหรัฐออกให้ชาวต่างชาติเข้าพำนักในสหรัฐอเมริกาได้ตามระยะ เวลาที่กำหนด
รัฐบาลเกาหลีใต้ออกบัตรกรีนการ์ดให้ประชาชนโดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ เพื่อส่งเสริมและจูงใจให้ประชาชนบริโภคสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งนำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สิ่งที่รัฐบาลเกาหลีใต้ดำเนินการคือ แจกบัตรเกาหลีใต้ ซึ่งบัตรกรีนการ์ดในที่นี้แตกต่างจากบัตรกรีนการ์ดของสหรัฐที่หมายถึงใบ อนุญาตที่รัฐบาลสหรัฐออกให้ชาวต่างชาติเข้าพำนักในสหรัฐอเมริกาได้ตามระยะ เวลาที่กำหนด
รัฐบาลเกาหลีใต้ออกบัตรกรีนการ์ดให้ประชาชนโดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ เพื่อส่งเสริมและจูงใจให้ประชาชนบริโภคสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งนำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สิ่งที่รัฐบาลเกาหลีใต้ดำเนินการคือ แจกบัตรกรีนการ์ดให้กับประชาชน เพื่อให้ประชาชนใช้บัตรดังกล่าวในการสะสมคะแนน โดยคะแนนนั้นจะได้มาจากการซื้อสินค้าอุปโภค/บริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวด ล้อม และการเข้าร่วมกิจกรรมที่นำไปสู่การลดก๊าซเรือนกระจก เช่น การใช้ถุงผ้าแทนการใช้ถุงพลาสติก การเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะ และการลดการใช้ไฟฟ้า น้ำหรือก๊าซสำหรับเครื่องทำความร้อน เป็นต้น และ ประชาชนสามารถนำเอาคะแนนที่สะสมในบัตรมาแลกเป็นเงินได้ อันเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับประชาชนในการช่วยกันลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
บัตรกรีนการ์ดของประเทศเกาหลีนี้ เป็นตัวอย่างหนึ่งของการนำนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมมาทำให้เกิดเป็นรูปธรรม เป็นการสร้างแรงจูงใจในทางบวกที่ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างได้ประโยชน์ คือ นอกจากสามารถดึงดูดให้ประชาชนเข้าร่วมในโครงการดังกล่าวได้อย่างกระตือ รือร้นแล้ว ยังเป็นการสร้างแรงผลักดันในทางอ้อมไปยังผู้ผลิต/บริษัทเอกชนต่างๆ ในการต้องพยายามที่จะ ผลิตสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการบริโภคที่ จะเปลี่ยนมาเน้นในเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้นด้วย
ในปัจจุบันได้ดำเนินการแจกบัตรให้กับประชาชนไปแล้ว 2 ล้านใบ และมีแนวทางในการขยายการดำเนินนโยบายดังกล่าวด้วยการแจกบัตรกรีนการ์ดนี้ให้ กับหน่วยงานด้วย คือ หน่วยงานส่วนท้องถิ่นและบริษัทเอกชน (Corporate Green card) เพื่อให้หน่วยงานองค์กรใช้จ่ายเพื่อการซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในวงกว้างขึ้น รัฐบาลเกาหลีใต้ตั้งเป้าว่าจะออกบัตรกรีนการ์ดให้กับประชาชนอย่างน้อย 3 ล้านใบในปี 2014 ซึ่งในเวลานั้นคาดว่าจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศลงได้ อย่างน้อย ร้อยละ 3 ต่อปีเลยทีเดียว
โครงการบัตรกรีนการ์ดของรัฐบาลเกาหลีใต้ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี เพราะสามารถที่จะเชื่อมโยงระบบจูงใจทางเศรษฐกิจเข้ากับวิถีชีวิตของผู้คนได้ ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดการบริโภคสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ในระยะยาวจะเป็นการสร้างวิถีชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งนำไปสู่ความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหาอีกด้วย
หากหันกลับพิจารณาประเทศไทย ปัญหาสิ่งแวดล้อมในไทยนั้นทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการขยายตัวของจำนวนประชากร การขยายตัวของเมือง รวมทั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่มีผลทำให้ปริมาณขยะ ที่เพิ่มจำนวนขึ้น ปัญหามลพิษทางอากาศที่รุนแรงขึ้น รวมทั้งมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างมาก
ขณะนี้ ภาครัฐขาดนโยบายที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เห็นได้จาก แนวทางในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยส่วนใหญ่นั้นเน้นการรณรงค์ เช่น การรณรงค์ให้ปลูกต้นไม้ รณรงค์ให้มีการใช้ถุงกระดาษแทนถุงพลาสติก รณรงค์ให้ขี่จักรยาน เพื่อลดมลพิษจากรถยนต์ หรือรณรงค์ให้ใช้เครื่องไฟฟ้าประหยัดพลังงาน เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังใช้การออกกฎข้อบังคับ การจับ ปรับ ลงโทษ เช่น การตั้งจุดตรวจจับและปรับรถที่มีควันดำ การจับและปรับผู้ที่ทิ้งขยะในที่สาธารณะ เป็นต้น ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า มาตรการเหล่านี้ไม่ค่อยได้ผลนัก เนื่องจากประชาชนขาดแรงจูงใจที่จะร่วมมือ หรืออาจได้ผลในช่วงเวลาสั้นๆ ที่มีการรณรงค์หรือมีการควบคุมอย่างจริงจังจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่ในระยะยาวไม่ได้ผล เนื่องจากพฤติกรรมและวิถีชีวิตของประชาชนยังคงเหมือนเดิม รวมทั้งภาคธุรกิจไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหามากนัก
ด้วยเหตุนี้ จากตัวอย่างการออกบัตรกรีนการ์ดของเกาหลีใต้ ประเทศไทยอาจนำเอาแนวคิดและรูปแบบของการใช้บัตรกรีนการ์ด ซึ่งเป็นบัตรสะสมคะแนน ที่อาศัยการจูงใจประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วม ด้วยเครื่องมือทางเศรษฐกิจมาประยุกต์ใช้ได้เช่นกัน
การออกบัตรกรีนการ์ดเพื่อจูงใจให้ประชาชนรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้นนี้จะเป็น ประโยชน์และมีแนวโน้มที่ประชาชนจะให้ความร่วมมือมาก หากภาครัฐสามารถขยายสินค้าและบริการที่เข้าร่วมในโครงการ รวมทั้งขยายความร่วมมือไปยังหุ้นส่วนต่างๆ เช่น ร้านโชห่วยที่มีอยู่จำนวนมาก ซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดเล็กและร้านสะดวกซื้อต่างๆ ที่มีการกระจายตัวอยู่ทั่วไป เพื่อทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าร่วมโครงการได้ง่ายที่สุด
ผมเห็นว่านโยบายบัตรกรีนการ์ดของเกาหลีใต้นี้เป็นตัวอย่างของการดำเนิน นโยบายสาธารณะที่ดีมีประสิทธิภาพและยั่งยืน เนื่องจากใช้วิธีการจูงใจให้เข้าร่วมและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แทนที่จะใช้การรณรงค์ การบังคับ การออกกฎหมายควบคุมซึ่งได้ผลน้อยกว่า แนวคิดการดำเนินนโยบายสาธารณะเช่นนี้ ภาครัฐอาจนำไปปรับใช้กับเรื่องอื่นที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนและภาค เอกชนในการแก้ไขปัญหา นอกเหนือจากเรื่องสิ่งแวดล้อมก็ได้ เช่น การศึกษา สาธารณสุข เป็นต้น
“รัฐบาลเกาหลีใต้ตั้งเป้าว่าจะออกบัตรกรีนการ์ดให้กับประชาชนอย่างน้อย 3 ล้านใบในปี 2014”
ศ.ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.com,?http://www.kriengsak.com