ทำงานให้มีแต่’วันสุข’

โลกวันนี้วันสุข
คอลัมน์ : HR Tips

คนทำงานจำนวนหนึ่งต้องลาออกจากงานเพราะเป็นโรคซึมเศร้า อีกจำนวนไม่น้อยอาจกำลังประสบปัญหานี้อยู่โดยไม่รู้ตัว แต่เริ่มแสดงอาการ “หมดไฟ” เบื่องาน ประสิทธิภาพการทำงานลดลง รู้สึกหงุดหงิดกับงานสภาพแวดล้อม เพื่อนร่วมงาน หรืออาจมองตนเองในแง่ลบ มองตนเองไม่มีคุณค่า และในที่สุดหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมย่อมนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าที่รุนแรง

ขึ้นจนไม่สามารถทำงานได้ ก่อนที่จะไปถึงภาวะอันร้ายแรงและไม่พึงปรารถนานั้น คนทำงานทุกคนควรเตรียมพร้อม “ป้องกัน” ไม่ให้โรคร้ายนี้เป็นภัยคุกคาม โดยการเรียนรู้ที่จะทำให้ทุกวันทำงานคือ “วันสุข” สำรวจสถานะทางอารมณ์ เริ่มต้นเราควร “รู้จักตนเอง” ให้ดีที่สุดก่อนว่า เราเป็นคนเช่นไร มีบุคลิกภาพอย่างไร เหมาะสมกับงานประเภทใด เข้ากับบุคคลประเภทใดได้ดี/ไม่ดี เหมาะสมกับการทำงานในสภาพแวดล้อมอย่างไร และมีภาวะทางอารมณ์อย่างไร เช่น ลองทบทวนหรือลองจินตนาการดูว่าถ้ามีเหตุการณ์เหล่านี้เข้ามา เราจะจัดการอย่างไร เช่น เมื่อมีงานเข้ามามากๆและเป็นงานเร่งด่วน เราจัดการอย่างไร เมื่อต้องทำงานกับหัวหน้างานหรือเพื่อนร่วมงานที่มีลักษณะบางอย่างที่เราไม่ชอบ เราตอบสนองอย่างไร เหตุการณ์อะไรที่ทำให้เรารู้สึกไม่ดีมากที่สุด เศร้า มากที่สุด โกรธมากที่สุด เครียด มากที่สุด หรือเบื่อมากที่สุด แล้วเราจัดการอย่างไร
     การตั้งคำถามทำนองนี้และลองตอบดู จะทำให้เราพอรู้ว่าในอนาคตโอกาสจะพบเรื่อง ที่ทำให้เราไม่มีความสุข เกิดความทุกข์ความเศร้านั้น มีเรื่อง อะไรบ้าง สะสมความสุขด้วยมุมมองบวก เราควรตระหนักว่าเรามีชีวิตเดียว ควรใช้ชีวิตอย่าง มีคุณค่า ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข โดยไม่ต้องจมกับความทุกข์ความเศร้าโดยไม่จำเป็น ดังนั้น เราจึงควรบอกกับตัวเองเสมอว่า ไม่ว่าเหตุการณ์อะไรจะเกิดขึ้นจะไม่มีวันพราก “ความสุข” ไปจากใจของเราได้เลย ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราทำงานผิดพลาดและถูกต่อว่า ให้เรายอมรับความผิดนั้น โดยมองว่า “ความผิดเป็นครู” ให้เรียนรู้ และบอกกับตัวเองว่าจะแก้ไขและไม่ทำผิดซ้ำอีก ไม่หมกมุ่นกับการต่อว่าตัวเอง ไม่ต้องเสียเวลาแก้ตัว หรือโกรธหัวหน้าเพราะเสียหน้า ที่ถูกต่อว่า บอกตัวเองเสมอ ว่า “ไม่มีปัญหาใดแก้ไม่ได้” มองปัญหาคือความท้าทาย และพยายามหาเพื่อนร่วมงาน ที่ปรึกษามาช่วยเรา ทุบกระปุกความเบื่อ ความเครียด ความเศร้า ที่สำคัญเราต้องไม่เก็บความ เครียดความเบื่อ ความเศร้าไว้นานเกินไป เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเหมือนยาพิษทำลายความสุข แต่เราควรเร่งรีบหาทางออก ที่เหมาะสม เช่น หากเราเบื่องานที่ซ้ำซากจำเจควรหาทางออกที่ไม่สร้างความเครียด

ศ.ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส ศูนย์ศึกษาธุรกิจและรัฐบาล มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
kriengsak@kriengsak.comhttp://www.kriengsak.com 
แหล่งที่มาของภาพ : http://www.psevikul.com/images/column_1311958466/1311958560psevikulcom1.jpg