อินเดีย…ยักษ์ตื่นแห่งเอเชีย

ข้อมูลใน Wealth Report ปี 2012 จัดทำโดย ไนท์ แฟรงค์ (Knight Frank) และ ซิตี้ ไพรเวท แบงค์ (Citi Private Bank) รายงานว่าเศรษฐกิจจีนจะแซงเศรษฐกิจสหรัฐและกลายเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดของโลกในปี 2020 แต่อันดับจะถูกเปลี่ยนเป็นประเทศอินเดีย ที่จะกลายเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดของโลกในปี 2050 ประกอบกับเมื่อไม่นานมานี้ กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมอินเดียได้เปิดตัวนโยบายการค้าต่างประเทศ (Foreign Trade Policy – FTP) ฉบับปี ค.ศ. 2015 – 2020 อย่างเป็นทางการ หลังจากรัฐบาลใหม่ของอินเดียภายใต้การนำของนายนเรนทรา โมดี ซึ่งมีเนื้อหาที่น่าสนใจและเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจของไทยด้วย คำถามที่น่าสนใจตามมาคือ ทิศทางนโยบายในด้านต่างๆ ในอีก 5 ปีข้างหน้าของประเทศอินเดียนั้นเป็นอย่างไร และจะมีนัยทางเศรษฐกิจต่อประเทศไทยอย่างไร 

Read More

บทเรียนการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของฟินแลนด์

ประเทศฟินแลนด์มีการเน้นย้ำในเรื่องการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจมหภาคและวัฏจักรเศรษฐกิจ วางบทบาทของธนาคารแห่งประเทศอย่างชัดเจนประเทศเศรษฐกิจรายได้ปานกลาง (middle-income country) เป็นประเทศที่ได้เดินทางมาครึ่งหนึ่งของการก้าวสู่ประเทศรายได้สูง แต่ครึ่งทางของแต่ละประเทศไม่เท่ากัน ประเทศไทยได้ติดอยู่ที่ครึ่งทางนี้เป็นระยะเวลาหลายทศวรรษแล้ว ขณะนี้ ถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยต้องก้าวให้พ้นสภาวะของการติดกับดัก (trap) เพื่อไปให้ถึงจุดหมายการเป็นประเทศเศรษฐกิจรายได้สูง สิ่งสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้เกิดการเดินหน้าและหลุดพ้นจากกับดักนี้ คือ การค้นพบปัจจัยขับเคลื่อน ภายใต้เงื่อนไขที่สมเหตุสมผลของแต่ละช่วงเวลา Read More

จุดแข็งและจุดอ่อน’ดัชนี GNH’ ของภูฏาน

เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญไปกล่าวปาฐกถาในการประชุมเรื่อง “Ideas at the confluence of Energy, Economy and Environment”ซึ่งเป็นการประชุมเกี่ยวกับการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศภูฏานในอนาคต จัดโดย QED Group, Friedrich Naumann Foundation และ Bhutan Ecological Society ณ เมืองทิมพู ประเทศภูฏาน

ประเด็นหนึ่งที่ผมให้ความสนใจมาก เกี่ยวกับประเทศนี้เรื่อยมา คือ การที่ภูฏาน เป็นเพียงประเทศเดียวในโลกที่ใช้ “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” หรือ Gross National Happiness (GNH) เป็นดัชนีวัดความเจริญของประเทศมาเป็นเวลานาน จนกลายเป็นที่นิยมชมชอบไปทั่วโลก

ในประเทศไทย มีนักวิชาการบางส่วนเคยเสนอว่า ประเทศไทยไม่ควรวัดความเจริญของประเทศด้วยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP แต่ควรวัดด้วย GNH แทนที่ ซึ่งผมเห็นมีความเห็นมานานหลายๆ ปีแล้วว่าการนำ GNH มาเสริม GPD น่าจะมีประโยชน์มากกว่าและจะไม่ใช่มาแทนเป็นแนวคิดน่าสนใจ ในบทความนี้ ผมจะขอวิเคราะห์อีกครั้งถึงจุดเด่นและจุดด้อยของดัชนี GNH ของประเทศภูฏาน ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงดัชนีวัดการพัฒนาของประเทศไทยต่อไป Read More