วิเคราะห์ 3 โมเดลเศรษฐกิจ : อดีต ปัจจุบัน อนาคต

จากการศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของโลกสมัยใหม่ รูปแบบและแนวทางการดำเนินการทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองกับปัญหาและสถานการณ์เศรษฐกิจของโลกที่แปรเปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลา

หากพิจารณาในแง่ผู้เล่นที่มีบทบาทนำในระบบเศรษฐกิจ นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองจนถึงปัจจุบัน โลกเกิดการฟื้นคืนของโมเดลเศรษฐกิจ 2 โมเดลหลัก แต่ผมคาดการณ์และขอเสนอโมเดลใหม่ว่า อีกหนึ่งโมเดลกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต Read More

การสร้างผู้นำภาคธุรกิจรุ่นใหม่เพื่อขับเคลื่อนการสร้างชาติในอนาคต (2): มิติทางความคิด

จากบทความที่แล้ว ผมได้นำเสนอพฤติกรรมและลักษณะเชิงจิตวิทยาที่สำคัญ 2 ลักษณะ จากประสบการณ์ที่ผมได้พบเจอ โดยเฉพาะในสถาบันการสร้างชาติ  ในครั้งนี้ ผมจะนำเสนออีก 2 ลักษณะที่สำคัญ ที่จำเป็นต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้ เพื่อความสำเร็จในการสร้างผู้นำรุ่นต่อไป ดังต่อไปนี้ Read More

การพัฒนานวัตกรรมที่สร้างผลกระทบ (Impact Innovation)

เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2560 ผมได้รับเชิญไปบรรยายในการประชุมวิชาการด้านการบริหารธุรกิจระดับชาติและนานาชาติ ปี 2560 (Business Administration National and International Conferences 2017) ซึ่งจัดโดยคณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัย  ราชภัฏอุบลราชธานี ภายใต้หัวข้อ ‘ผลกระทบของนวัตกรรมต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก’ ผมจึงขอแบ่งปันถึงสิ่งที่ได้นำเสนอในงานประชุมครั้งนี้

เป็นที่ทราบกันดีว่า ความจำเป็นของนวัตกรรมต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกในอนาคตมีมากมายหลายประการ โดยเฉพาะการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการสร้างความแตกต่างหรืออัตลักษณ์ของสินค้าและบริการ เพราะยุคนี้เป็นยุคแห่งนวัตกรรม Read More

แนวโน้มโลก 2050 (ตอนที่ 9) : มหาเศรษฐีของโลกในอนาคต

กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ 😕ดร.แดน มองต่างแดน

มีการคาดการณ์ว่าจำนวนมหาเศรษฐีในจีน จะเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 80 ซึ่งเติบโตเป็นไปในทิศทางเดียวกับอินเดียผมได้นำเสนอเกี่ยวกับแนวโน้มของโลกไปแล้วหลายด้านในช่วงที่ผ่านมา บทความนี้เป็นอีกตอนหนึ่งที่ผมอยากนำเสนอแนวโน้มของโลกในอนาคตเพิ่มเติมในประเด็นเกี่ยวกับมหาเศรษฐีบนโลกทั้งในบริบทปัจจุบัน และในทศวรรษข้างหน้าว่ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้นหรือน้อยลงอย่างไร และประเทศไทยสามารถเรียนรู้สิ่งใดบ้างจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

Read More

?อดีต? ไม่รับประกัน ?อนาคต?

งานวันนี้
ปีที่ 16 ฉบับที่ 714 วันที่ ?25 พฤศจิกายน – 2 ธันวาคม 2557

เมื่อเดือนตุลาคม 2557 ที่ผ่านมา มีข่าวช็อควงการนักลงทุนข่าวหนึ่ง นั่นคือ ข่าววอร์เร็น บัฟเฟตต์ มหาเศรษฐีชื่อดัง นักลงทุนชื่อก้องโลก และซีอีโอแห่งบริษัท ?เบิร์กไชร์ แฮธาเวย์? ชาวอเมริกัน ต้องสูญเงินมหาศาลถึง 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 64,665 ล้านบาท) ภายในระยะเวลาเพียง 2 วัน เนื่องจากการเก็งกำไรผิดพลาด ในหุ้นบริษัทดัง 2 บริษัท ได้แก่ ?ไอบีเอ็ม? และ ?โค้ก?

แหล่งข่าวในวอลล์สตรีทเผยว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้บัฟเฟตต์ ต้องสูญเงินมหาศาลเกิดจากปัญหาการปรับพอร์ตลงทุนในระยะหลังของเขาที่เน้น ?การลงทุนกระจุกตัว? ในหุ้นของ 4 บริษัทยักษ์ใหญ่ คือ ไอบีเอ็ม, โคคา-โคลา, อเมริกัน เอ็กซ์เพรส และเวลล์ส ฟาร์โก มากเกินไป เพราะคาดการณ์ไปว่า จะได้กำไรอย่างแน่นอน จากผลประกอบการของบริษัทเหล่านี้ ในช่วงสิ้นไตรมาสสาม ?แทนที่จะเลือกปรับพอร์ตแบบกระจายความเสี่ยง….แต่เขาคาดการณ์ผิด!!

Read More

แนวโน้มโลก 2050 (ตอนที่ 7) : NITE แรงงานของโลกอนาคต

กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ 😕ดร.แดน มองต่างแดน

กลุ่มกำลังแรงงานที่ผมคิดว่าน่าสนใจมากที่สุด คือกำลังแรงงานจากประเทศไนจีเรีย อินเดีย ตุรกี และอียิปต์ในบทความก่อนนี้ผมได้วิเคราะห์ไว้ว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจและเมืองขนาดใหญ่ จะเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียและแอฟริกา ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรในหลายประเทศที่จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้หลายประเทศจะประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานวันทำงาน ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจได้ จึงก่อให้เกิดคำถามสำคัญต่อเนื่อง คือ กำลังแรงงานกลุ่มใหม่ในอนาคตจะอยู่แถบภูมิภาคใด? ประเทศอะไร? และประเทศไทยจะขาดแคลนกำลังแรงงานในปี 2050 หรือไม่? กำลังแรงงานกลุ่มใหม่จะเกี่ยวข้องหรือส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร? บทความนี้จะนำเสนอเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้

คำว่า กำลังแรงงาน (Labor Force) ในที่นี้หมายถึง ประชากรวัยทำงานทั้งหมด ทั้งที่มีงานทำและไม่มีงานทำแต่พร้อมที่จะทำงาน โดยประเทศไทยกำหนดให้กำลังแรงงานคือประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ บางประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น กำหนดให้วัยทำงาน อยู่ในช่วงอายุ 15 – 65 ปี ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้กำหนดการสิ้นสุดวัยทำงาน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุทำงานได้

Read More