จุดแข็งและจุดอ่อน’ดัชนี GNH’ ของภูฏาน

เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ผมได้รับเชิญไปกล่าวปาฐกถาในการประชุมเรื่อง “Ideas at the confluence of Energy, Economy and Environment”ซึ่งเป็นการประชุมเกี่ยวกับการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศภูฏานในอนาคต จัดโดย QED Group, Friedrich Naumann Foundation และ Bhutan Ecological Society ณ เมืองทิมพู ประเทศภูฏาน

ประเด็นหนึ่งที่ผมให้ความสนใจมาก เกี่ยวกับประเทศนี้เรื่อยมา คือ การที่ภูฏาน เป็นเพียงประเทศเดียวในโลกที่ใช้ “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” หรือ Gross National Happiness (GNH) เป็นดัชนีวัดความเจริญของประเทศมาเป็นเวลานาน จนกลายเป็นที่นิยมชมชอบไปทั่วโลก

ในประเทศไทย มีนักวิชาการบางส่วนเคยเสนอว่า ประเทศไทยไม่ควรวัดความเจริญของประเทศด้วยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือ GDP แต่ควรวัดด้วย GNH แทนที่ ซึ่งผมเห็นมีความเห็นมานานหลายๆ ปีแล้วว่าการนำ GNH มาเสริม GPD น่าจะมีประโยชน์มากกว่าและจะไม่ใช่มาแทนเป็นแนวคิดน่าสนใจ ในบทความนี้ ผมจะขอวิเคราะห์อีกครั้งถึงจุดเด่นและจุดด้อยของดัชนี GNH ของประเทศภูฏาน ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงดัชนีวัดการพัฒนาของประเทศไทยต่อไป Read More

แนวโน้มโลก 2050 (ตอนที่ 9) : มหาเศรษฐีของโลกในอนาคต

กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ 😕ดร.แดน มองต่างแดน

มีการคาดการณ์ว่าจำนวนมหาเศรษฐีในจีน จะเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 80 ซึ่งเติบโตเป็นไปในทิศทางเดียวกับอินเดียผมได้นำเสนอเกี่ยวกับแนวโน้มของโลกไปแล้วหลายด้านในช่วงที่ผ่านมา บทความนี้เป็นอีกตอนหนึ่งที่ผมอยากนำเสนอแนวโน้มของโลกในอนาคตเพิ่มเติมในประเด็นเกี่ยวกับมหาเศรษฐีบนโลกทั้งในบริบทปัจจุบัน และในทศวรรษข้างหน้าว่ามีจำนวนเพิ่มมากขึ้นหรือน้อยลงอย่างไร และประเทศไทยสามารถเรียนรู้สิ่งใดบ้างจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

Read More

แนวโน้มโลก 2050 (ตอนที่ 8) : ‘อิทธิพลชนชั้นกลาง’

กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ 😕ดร.แดน มองต่างแดน

 

ในปี 2050 จะมีชนชั้นกลางกว่า 6 พันล้านคนทั่วโลกและคนกลุ่มนี้จะกลายเป็นกลุ่มตลาดใหม่ของโลกอนาคตในปี 2010 OECD และ Wolfensohn Center for Development ของสถาบัน Brookings รายงานว่า ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมา กำลังซื้อของคนอเมริกาถือได้ว่าเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจโลก แต่ความผันผวนทางเศรษฐกิจในประเทศช่วงหลายปีที่ผ่านมาทำให้บทบาทของสหรัฐอเมริกาในเศรษฐกิจโลกลดลง ในทางตรงกันข้าม การเติบโตของชนชั้นกลางในเอเชียตลอดช่วงที่ผ่านมาได้ส่งผลให้ชนชั้นกลางกลายเป็นพลังเศรษฐกิจใหม่ของโลก จนมีการคาดการณ์ว่าในอีก 30 ปีข้างหน้า ชนชั้นกลางเหล่านี้จะกลายเป็นกลไกหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกในอนาคตแทนสหรัฐอเมริกา คำถามที่น่าสนใจคือ ผลกระทบและอิทธิพลทางเศรษฐกิจอันเนื่องจากการขยายตัวของกลุ่มชนชั้นกลางนี้จะเป็นอย่างไร? นัยต่อประเทศไทยมีอะไรบ้าง? และไทยควรเตรียมความพร้อมในเรื่องนี้อย่างไร?

Read More

แนวโน้มโลก 2050 (ตอนที่ 7) : NITE แรงงานของโลกอนาคต

กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ 😕ดร.แดน มองต่างแดน

กลุ่มกำลังแรงงานที่ผมคิดว่าน่าสนใจมากที่สุด คือกำลังแรงงานจากประเทศไนจีเรีย อินเดีย ตุรกี และอียิปต์ในบทความก่อนนี้ผมได้วิเคราะห์ไว้ว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจและเมืองขนาดใหญ่ จะเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียและแอฟริกา ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรในหลายประเทศที่จะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้หลายประเทศจะประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานวันทำงาน ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจได้ จึงก่อให้เกิดคำถามสำคัญต่อเนื่อง คือ กำลังแรงงานกลุ่มใหม่ในอนาคตจะอยู่แถบภูมิภาคใด? ประเทศอะไร? และประเทศไทยจะขาดแคลนกำลังแรงงานในปี 2050 หรือไม่? กำลังแรงงานกลุ่มใหม่จะเกี่ยวข้องหรือส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างไร? บทความนี้จะนำเสนอเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้

คำว่า กำลังแรงงาน (Labor Force) ในที่นี้หมายถึง ประชากรวัยทำงานทั้งหมด ทั้งที่มีงานทำและไม่มีงานทำแต่พร้อมที่จะทำงาน โดยประเทศไทยกำหนดให้กำลังแรงงานคือประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ บางประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น กำหนดให้วัยทำงาน อยู่ในช่วงอายุ 15 – 65 ปี ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาไม่ได้กำหนดการสิ้นสุดวัยทำงาน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุทำงานได้

Read More

ความมั่นคงทางอาหารของอินโดนีเซีย : บทเรียนจากนโยบายพึ่งพิงตนเอง

กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ 😕ดร.แดน มองต่างแดน

ในปัจจุบัน ประเทศต่างๆ ทั่วโลกล้วนให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องความมั่นคงทางอาหารภายในประเทศมากยิ่งขึ้น

อันเนื่องมาจากแรงกดดันจากปัจจัยหลายๆ ประการ อาทิ การเพิ่มขึ้นของประชากร การเติบโตของเมืองและภาคอุตสาหกรรม และการลดลงของพื้นที่และแรงงานภาคเกษตรกรรม เป็นต้น ปัจจัยดังกล่าวส่งผลทำให้ความต้องการอาหารมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่ผลผลิตอาหารเพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้ากว่า หลายๆ ประเทศจึงให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นคงทางอาหารในประเทศของตนมากขึ้น

Read More

โอกาสของประเทศไทยผ่านการร่วมมือระหว่างไทยและจีน

กรุงเทพธุรกิจ
คอลัมน์ 😕ดร.แดน มองต่างแดน

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ในยุคโลกาภิวัตน์ เศรษฐกิจไทยมีความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนนโยบายทางเศรษฐกิจไปตามกระแสเศรษฐกิจอยู่ตลอดเวลาโดย

ถึงแม้เศรษฐกิจของสหรัฐฯ และยุโรปยังจะต้องประสบปัญหาในหลายๆ ด้าน ประเทศไทยจึงมีความจำเป็นที่จะต้องหาโอกาสในการพัฒนาความร่วมมือกับภูมิภาคอื่นๆ ของโลก ทั้งนี้ โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าประเทศไทยควรหันไปสร้างความร่วมมือกับประเทศจีนมากยิ่งขึ้น เพราะนอกจากปัจจุบันเศรษฐกิจของจีน จะมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยและจีนยังคงมีลักษณะของความเป็นประเทศญาติมิตร เพราะคนไทยประมาณ 7 – 8 ล้านคน มีเชื้อสายจีน ตลอดจนวัฒนธรรมและประเพณีของจีนได้เข้ามาในประเทศไทยอย่างแพร่หลายและสอดคล้องกับการที่รัฐบาลจีนให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจกับคนจีนโพ้นทะเลที่อยู่ทั่วโลก ดังนั้น ไทยควรใช้โอกาสนี้พัฒนาเศรษฐกิจให้ก้าวหน้าไปพร้อมกับประเทศจีนที่กำลังก้าวเข้าสู่ประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลก ผมจึงขอเสนอช่องทางที่จะเป็นโอกาสในการพัฒนาประเทศผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศไทย – จีน ดังนี้

Read More